รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

ผู้แต่ง

  • เขมรัฐ เสริมสมบูรณ์ คณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • เกิดศิริ เจริญวิศาล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ , เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก , นักท่องเที่ยวมิลเลนเนียล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจสำหรับพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เพื่อให้นักลงทุนและผู้ประกอบการได้ทราบถึงลักษณะเฉพาะของนักท่องเที่ยว สามารถแบ่งส่วนตลาดการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ และกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดได้อย่างชัดเจน จากการศึกษาพบว่า รูปแบบการท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดในการสร้างรายได้หลักของพื้นที่ ได้แก่ ธุรกิจไมซ์ (MICE) และจากการจัดทำแผนการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกสู่การท่องเที่ยวระดับโลกอย่างยั่งยืน โดยมาตรการของหน่วยงานภาครัฐได้มีการส่งเสริมการลงทุนในกิจการหอประชุมขนาดใหญ่ และศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ และพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพ รวมถึงการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ให้พื้นที่ภาคตะวันออกรองรับการขยายตัวของกรุงเทพมหานคร อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เส้นทางรถไฟรางคู่ การพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา เป็นต้น นอกจากนี้ด้านการรองรับกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ ได้มีแผนการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกที่รองรับกลุ่มนักท่องเที่ยว Bleisure ซึ่งจากการศึกษา พบว่า เป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มมิลเลนเนียล โดยพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จะมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์และอุปทานของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

เอกสารอ้างอิง

เขมรัฐ เสริมสมบูรณ์ และประหัสชัย ระมาศ. (2564). แนวทางการพัฒนาการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กรณีศึกษา: ตลาดบ้านใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา. การประชุมวิชาการระดับชาติ ปอมท.ประจำปี 2564, 18-19 พฤศจิกายน 2564. สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

จุฑาพร บุญคีรีรัฐ และณัฐภาณี จริตไทย. (2563). การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการท่องเที่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศบนโลกดิจิทัล. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 12(2), 285-301.

จุฑาพร บุญคีรีรัฐ และณัฐภาณี จริตไทย. (2563). บทบาทของรัฐในการพัฒนาประเทศให้เป็นมหานครไมซ์แห่งเอเชีย: กรณีศึกษาไทยกับมาเลเซียภายใต้บริบทนักท่องเที่ยวกลุ่มมิลเลนเนียล. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 33(1), 123-148.

จุฬณี ตันติกุลานันท์. (2563). บทบาทของรัฐในการพัฒนาประเทศให้เป็นมหานครไมซ์ (MICE) แห่งเอเชีย: กรณีศึกษาไทยกับมาเลเซียภายใต้บริบทนักท่องเที่ยวกลุ่มมิลเลนเนียล. วารสารสุโขทัยธรร มาธิราช, 33(1), 123-148.

วัชรพล พิสารเขตร. (2564). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความตั้งใจกลับไปท่องเที่ยวซ้ำในการท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพของพื้นที่ภาคใต้ประเทศไทย (สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

วีรยา อิทธิพัฒน์ภาคิน และอานนท์ ทับเที่ยง. (2562). การศึกษาทัศนคติในมุมมองของพนักงานที่มีผลต่อการทำงานจากที่บ้าน (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ.

ศรวัลย์ สมสวัสดิ์ และชนมะณี ทะนันแปง. (2563). ความอยู่รอดของอุตสาหกรรมไมซ์ Meeting, Incentive, Conventions, Exhibitions (MICE) ในยุคโควิด-19. วารสารนวัตกรรมและการจัดการ, 5(ฉบับเพิ่มเติม), 129-145.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.eeco.or.th/web-upload/filecenter/untitled%20folder/EEC010.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ.2560–2565. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://eeco.or.th/web- upload/filecenter/untitled%20folder/eec001-2.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2560). คู่มือการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.boi.go.th/upload/content/BOI-EEC%20announcement-20170517_33689.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2564). คู่มือการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 2564. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.boi.go.th/upload/content/BOI_A_ Guide_Web_Th.pdf.

สำนักงานสภาการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). ผลิตภัณฑ์ภาคและจังหวัดแบบปริมาณ ลูกโซ่ฉบับ พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.nesdc.go.th /ewt_dl_link.php?nid=11539& filename=gross_regional.

อธิป จันทร์สุริย์. (2564). Hotel+Hospital=Hospitel: กลยุทธ์การปรับตัวของธุรกิจโรงแรมภายใต้สถานการณ์โรคระบาด COVID-19. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 8(2), 114-131.

Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination of the future. Tourism management, 21(1), 97-116.

Caicedo-Barreth, A., Pavón, E. S., & Santos, L. L. (2020). Competitiveness of Guayaquil towards bleisure tourism. European Journal of Tourism, Hospitality and Recreation, 10(2), 118-133.

Ketter, E. (2020). Millennial travel: tourism micro-trends of European Generation Y. Journal of Tourism Futures, 7(2), 192-196.

Kotler, Philip. (2003). Marketing Management (11th ed). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Lichy, J., & McLeay, F. (2018). Bleisure: motivations and typologies. Journal of Travel & Tourism Marketing, 35(4), 517-530.

Marques, J., & Santos, N. (2016). Developing business tourism beyond major urban centres: the perspectives of local stakeholders. Tourism and hospitality management, 22(1), 1-15.

Sa’aban, S., Ismail, N., & Mansor, M. F. (2013). A study on generation y behavior at workplace. In International Conference on Business Innovation, Entrepreneurship and Engineering (Vol. 549), pp. 548-554.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29