การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้า บ้านกุดหว้า จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ยุพาภรณ์ ชัยเสนา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • อนันตพร พุทธัสสะ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ฉัตรรัชดา วิโรจน์รัตน์ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การบริหารจัดการ, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้า

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการดำเนินงาน 2) วิเคราะห์สภาพแวดล้อมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงาน และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการพร้อมทั้งประเมินความได้เปรียบทางการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้า บ้านกุดหว้า จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการประชุมกลุ่มย่อยจากประธานและคณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน 21 คน วิเคราะห์เนื้อหาโดยเทคนิค SWOT analysis และ TOWS matrix จากนั้น   ใช้แบบสอบถามประเมินกลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นโดยเก็บรวบรวมจากสมาชิก จำนวน 132 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลยุทธ์การบริหารจัดการที่เหมาะสมกับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้า ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์เชิงรุกคือการสร้างอัตลักษณ์สู่การจัดจำหน่ายในตลาดออนไลน์ 2) กลยุทธ์เชิงรับคือการสร้างเครือข่ายกับชุมชนและหน่วยงานท้องถิ่น 3) กลยุทธ์เชิงแก้ไขคือการพัฒนาทักษะให้สมาชิกในกลุ่มอย่างต่อเนื่อง และ 4) กลยุทธ์เชิงป้องกันคือ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่เข้มแข็ง เมื่อพิจารณาระดับความได้เปรียบทางการแข่งขันจากการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการพบว่า ความได้เปรียบด้านการตอบสนองอย่างรวดเร็วมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านการสร้างความแตกต่าง และด้านกลยุทธ์ต้นทุน ตามลำดับ การพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับวิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้า

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ประวัติผู้แต่ง

อนันตพร พุทธัสสะ, คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ดร.อนันตพร  พุทธัสสะ

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่

คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ฉัตรรัชดา วิโรจน์รัตน์, คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรรัชดา  วิโรจน์รัตน์

รองคณบดีงานบริการวิชาการและวิจัย

คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

เอกสารอ้างอิง

ไทยตำบล ดอท คอม. ข้อมูลตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินาราย์ กาฬสินธุ์. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564, จาก http://www.thaitambon.com/tambon/460506/shop.

วรินทร์ธร ธรสารสมบัติ. (2560). กลยุทธ์สินค้าวิสาหกิจชุมชนของผู้ประกอบการเขตอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, 5(2), 27-41.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2564). เศรษฐกิจฐานราก. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2564, จาก https://web.codi.or.th/development_project/20201125-20029/

Aksorntap, A., Baedcharoen, I., Jatuprayoon, C., & Chuatrakul, W. (2021). Lesson learned for the strategy development of enhancing of the gold color longan flesh processing community enterprise management in ban thi sub-district, ban thi, lamphun province. Suthiparithat Journal, 35(3), 44-61.

Armstrong, G., Adam, S., Denize, S., & Kotler, P. (2014). Principles of marketing. Pearson Australia.

Denzin, N. K. (1989). The research act. (3rd ed). New York: McGraw Hill.

Euajarusphan, A., & Kornkingmala, N. (2018). Communication strategies and network to develop a strong community: Case study of Hua Ta Khe community in Lat Krabang District, Bangkok. Dhurakij Pundit Communication Arts Journal, 12(2), 221-247.

Kanokkarn, M., Kasidit, M., Utai, P. (2016). Ban Din Lan Khao Yam Budu: Management community enterprise upgrading the value of a one tambon one product (OTOP) products. Journal of Humanities and Social Sciences Mahasarakham University, 35(6), 1-12.

Kotler, P., & Keller, K. (2003). Marketing Management,(international version). Prentice Hall, Englewood Cliffs, NJ.

Kunasri, K., Tarapituxwong, S., Sasong, C., & Kumnuan, B. (2020). A Study of Potential and Development of Community Products in Mae Hong Son Province. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 13(1), 92-108.

Kunasri, K., Tarapituxwong, S., Sasong, C., & Kumnuan, B. (2020). A Study of Potential and Development of Community Products in Mae Hong Son Province. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 13(1), 92-108.

Kusalanon, R., Sukkay, C., & Kaewtatip, A. (2021). Design and development of local woven fabrics to promote local identity and add value to cultural products in Chiang Saen Community, Chai Rai Province. Area Based Development Research Journal, 13(1), 16-30.

Mongkolkajornkitti, I., & Apinontteerasakda, A. (2019). The Development a Potential and Production Systemof Network Community Enterprise for Organic Way of Chaiyaphum. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 6(2), 169-181.

Namugenyi, C., Nimmagadda, S. L., & Reiners, T. (2019). Design of a SWOT analysis model and its evaluation in diverse digital business ecosystem contexts. Procedia Computer Science, 159(19), 1145–1154.

Suwunniponth, W. (2021). Competitiveness Based on the Digital Economy Among Community Enterprises of Local Product Groups in Bangkok. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 13(1), 1-21.

Turner, R. C., & Carlson, L. (2003). Indexes of item-objective congruence for multidimensional items. International journal of testing, 3(2), 163-171.

Weihrich, H. (1982). The TOWS matrix: A tool for situational analysis. Long Range Planning, 15(2), 54-66.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29