การศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนประกอบธุรกิจร้านซูชิไทย

ผู้แต่ง

  • คณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ปกรณ์กฤษณ์ วงษ์พันธ์ คณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ศุภกร สุภัทรกุล คณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • ทิชากร เกษรบัว คณะบริหารธุรกิจและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

การศึกษาความเป็นไปได้, ซูชิไทย, การลงทุน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนประกอบธุรกิจร้านซูชิไทย บริเวณรอบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนทางด้านการตลาด ด้านเทคนิค ด้านการจัดการ และด้านการเงิน โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสม เริ่มจากการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามสำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนผู้อาศัยบริเวณรอบมหาวิทยาลัย จำนวน 385 ตัวอย่าง และการวิจัยเชิงคุณภาพจากการสังเกตและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยด้านการตลาดพบว่า เมนูที่ได้รับความสนใจมี 9 เมนู ราคาสินค้าที่เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้ากำหนดขายชิ้นละ 5 บาท เปิดร้านในวันอังคารถึงวันอาทิตย์ เวลา 08.30 - 18.30 น. และส่งเสริมการขายโดยจัดเป็นบัตรสะสมแต้ม ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความสะดวกในการเดินทางจึงเลือกตั้งร้านบริเวณมหาวิทยาลัย ด้านเทคนิคได้ทำการออกแบบร้านที่มีพื้นที่ 2x2 ตารางเมตร เน้นร้านขนาดเล็กมีการจัดเก้าอี้บาร์สำหรับรอรับสินค้าเท่านั้น ด้านการจัดการกำหนดให้มีพนักงาน 2 คน ประกอบด้วยเจ้าของร้าน และแม่ครัว ผลการวิเคราะห์ด้านการเงินพบว่าใช้เงินลงทุนครั้งแรก 83,950 บาท มีระยะเวลาคืนทุน 4.12 ปี เมื่อครบกำหนด 5 ปี กระแสเงินสดรับสุทธิ 123,618 บาท มูลค่าปัจจุบันสุทธิ 60,374.29 บาท อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน 17.57% ผลการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่ามีการยอมรับโครงการลงทุนร้านซูชิไทย การศึกษานี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างโมเดลธุรกิจที่มีศักยภาพและพัฒนาธุรกิจร้านซูชิไทยในอนาคต

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

เอกสารอ้างอิง

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2566). รายงานข้อมูลตำบลเนินหอม. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566, จาก https://shorturl.asia/OY7C2

กองบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2565). สถิตินักศึกษา การศึกษา 2565. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566, จาก https://acdserv.kmutnb.ac.th/stat_r_65

ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2557). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจ=Feasibility study. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิตาภรณ์ เป้าน้อย และ ธนารักษ์ เหล่าสุทธิ. (2566). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกัญชา. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 5(3), 229-244.

ณัฐพัชร์ อภิวัฒน์ไพศาล. (2565). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน ประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์พริกแกงในกิจการขนาดเล็ก. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 9(2), 81-97.

ณัฐวัตร วังเคียน. (2566). แผนธุรกิจ: ร้านอาหารญี่ปุ่น ฮอนจิโร๊ะ ซูชิ. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(7), 12.

ดลพร จันทนโชติวงศ์. (2566). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในธุรกิจร้านค้าบรรจุภัณฑ์ไปรษณีย์ในกรุงเทพมหานคร. Procedia of Multidisciplinary Research, 1(7), 45

ทิชากร เกษรบัว. (2565). การบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตตำราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ทินกร ศรีสุพพัตพงษ์ และ อุดมศักดิ์ ศีลประชาวงศ์. (2565). การศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนร้านกาแฟย่านประชาชื่น จังหวัดนนทบุรี. พัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์, 16(2), 75-97.

ธนาคารออมสิน. (2566). อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566, จาก https://www.gsb.or.th/ service/loan-itr-1/

นงลักษณ์ จิ๋วจู, เกศณีย์ องการ, และ จรัณยา มะลิซ้อน. (2563). การประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนเปิดร้านกาแฟ Molly’s café อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารพิกุล, 18(1), 205-218.

นะกะวี ด่านลาพล. (2561). ศิลปะการจัดจานและการออกแบบตกแต่งอาหารไทยฟิวชั่น. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร, 15(71), 1-13.

เบ็ญจวรรณ รัตนวิจิตร. (2563). เจโทรเผยผลสำรอง “ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น” เปิดเพิ่มสวนกระแสโควิด. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2565, จาก https://forbesthailand.com/news/other.

พรรณุภา ธุวนิมตรกุล. (2563). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พาณิภัค พระชัย และ ธีระ ฤทธิรอด. (2560). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนเปิดร้านกาแฟ “บ้านกาแฟสด หลังมอ 24 ชม. ฝั่งยูพลาซ่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 94-106.

รวี ลงกานี. (2563). การประเมินความเป็นไปได้ด้านการเงินของโครงการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สกุลรัตน์ สีดาว. (2564). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโครงการธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สิรินันท์ อินทร์แช่มชื่น. (2564). การศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจซูซูมิ ซูชิ. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 16 (น. 1484-1495). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

อภิญญา วนเศรษฐ. (2558). เครื่องมือในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2566, จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom14/04-01-01.html

อาณัติ ลีมัคเดช. (2561). การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการ. กรุงเทพฯ: เกรท ไอเดีย.

Live Japan Perfect Guide. (2559). ซูชิ, สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566, จาก https://livejapan.com/th/article a0000370/

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2(2), 49-60.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30