ขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด

Main Article Content

อาจารย์มุขสุดา พูลสวัสดิ์
ผศ.ดร.นิภา นิรุตติกุล

บทคัดย่อ

          นักวิจัยศึกษาขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยว เพื่อเป็นแนวทางการกำหนดจำนวนคนสูงสุดที่จะเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวในเวลาเดียวกันในชุมชนบ้านไม้รูด ตำบลไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด อันจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดขีดความสามารถในการรองรับและป้องกันเหตุการณ์เกินความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวด้วยเหตุจำนวนนักท่องเที่ยวมากเกินการรับมือได้ของชุมชนท่องเที่ยว ดังนั้น หากไม่ป้องกันไว้ก่อน ก็จะเป็นผลเสียต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านไม้รูดสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน และจะขัดต่อเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนระดับโลก (Global Sustainable Tourism Criteria: GSTC-D)  ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านไม้รูดในอนาคตได้ ทั้งนี้ นักวิจัยได้ศึกษาขีดความสามารถด้านชีวกายภาพ (Bio-physical or Ecological Carrying Capacity: PCC) ด้านการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก (Managerial of Facility Carrying Capacity: FCC) และด้านสังคมและวัฒนธรรม (Social and Culture Carrying Capacity: SCC) โดยการวิเคราะห์เอกสาร การรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม ร่วมกับการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Interview Semi-Structure) ด้วยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเนื้อหาประกอบด้วย (1) ข้อมูลด้านการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก (2) ข้อมูลด้านนิเวศ และ (3) ข้อมูลด้านสังคมและวัฒนธรรมที่รวมถึงอัตลักษณ์ และกิจกรรมท่องเที่ยวในหมู่ที่ 1 ซึ่งเป็นชุมชนริมคลองไม้รูด นักวิจัยศึกษาประเด็นความรู้ความเข้าใจและกิจกรรมท่องเที่ยวในหมู่ที่ 1 ซึ่งเป็นชุมชนริมคลองไม้รูด นักวิจัยศึกษาประเด็นความรู้ความเข้าใจในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน การรับรู้ ความขัดแย้งในชุมชน ทัศนคติของชุมชน ผลกระทบ และความพึงพอใจ ดังนั้น นักวิจัยใช้มาตราลิเคิร์ท (Likert Rating Scale) ระดับ 1-5 และใช้ 0 แทนความไม่มีเพื่อวิเคราะห์ด้านสังคมและวัฒนธรรม (SCC)


          ผลการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวด้านชีวกายภาพ พบว่า ป่าชายเลน ในชุมชนบ้านไม้รูด มีความหลากหลายของแมลงและนก ได้แก่ แมลงกินพืชเป็นอาหาร แมลงกินสัตว์ เป็นอาหาร แมลงที่ช่วยผสมเกสร โดยเฉพาะนกแก๊ก เป็นนกที่บ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติและระบบนิเวศ สำหรับขีดความสามารถรองรับการท่องเที่ยวด้านการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก มีความพร้อมทั้งระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และความพร้อมด้านกิจกรรมท่องเที่ยว รวมถึงความพร้อมของหน่วยงานท้องถิ่นที่พร้อมอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว จึงควรกำหนดจำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุดให้สอดคล้องกับความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่ท่องเที่ยว สำหรับขีดความสามารถใน การรองรับการท่องเที่ยวในด้านสังคมวัฒนธรรม พบว่า สถานการณ์ปกติ คือ ไม่มีความขัดแย้งทางสังคมที่จะสร้างปัญหาต่อการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านไม้รูด และไม่เกิดความขัดแย้งในชุมชนอันเกิดจาก การท่องเที่ยวเป็นเหตุ ในขณะที่ขีดความสามารถด้านชีวกายภาพ มีความสมบูรณ์ และด้านการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก มีบางอย่างที่ควรได้รับการพัฒนาและปรับปรุง เช่น การให้บริการห้องน้ำ บริเวณแหล่งท่องเที่ยว ร้านค้า ร้านอาหาร เป็นต้น

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

วิธีการอ้างอิง
พูลสวัสดิ์ ม., & นิรุตติกุล น. (2022). ขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านไม้รูด อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1(1), 1–21. สืบค้น จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jmsku/article/view/4735
บท
บทความวิจัย