The The Relationship between Perceived Workload and Job Burnout of the Ground Service staff at Suvarnabhumi Airport ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาระงานกับความเหนื่อยหน่ายในการทํางานของพนักงานต้อนรับภาคพื้นประจําท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

Main Article Content

Phasit Ubuabon
Chalermkiart Feongkeaw

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ภาระงานของพนักงานต้อนรับภาคพื้นประจำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2) ศึกษาความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพนักงานต้อนรับภาคพื้นประจำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 3) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับภาระงานของพนักงานต้อนรับภาคพื้นประจำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาระงานกับความเหนื่อยหน่ายของพนักงานต้อนรับภาคพื้นประจำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรบรวมข้อมูล ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบสะดวก กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานต้อนรับภาคพื้นประจำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วย t-test, One-way ANOVA และค่าสหสัมพันธ์ Pearson’s Product Moment Correlation
           ผลการศึกษาพบว่า 1) การรับรู้ภาระงาน มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.35 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง 2) ความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 2.93 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง 3) ผลการเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการรับรู้ภาระงาน พบว่า อายุ สถานภาพ รายได้ต่อเดือนที่ต่างกัน มีการรับรู้ภาระงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาระงานกับความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน พบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาระงานกับความเหนื่อยหน่ายในการทำงานในเชิงบวกอย่างมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง
คําสําคัญ: การรับรู้ภาระงาน, ความเหนื่อยหน่ายในการทํางาน, พนักงานต้อนรับภาคพื้น


 
Abstract
           The objectives of this research were 1) to study the perceived workload of ground service staff at Suvarnabhumi Airport. 2) to study the job burnout of ground service staff at Suvarnabhumi Airport. 3) to compare demographic data with perceived workload of ground service staff at Suvarnabhumi Airport. and 4) to study the relationship between perceived workload and job burnout of ground service staff at Suvarnabhumi Airport. The quantitative method was employed to conduct this research, using a questionnaire to gathering data with the 400 samples who are ground service staff at Suvarnabhumi Airport. The statistics were used to analyze the data: frequency, percentage, mean and standard deviation. The t-test, One-way ANOVA and Pearson's Product Moment Correlation were used to test the hypothesis.
           The results of the study showed that 1) the perceived workload with a total mean of 3.35, which was at a moderate level. 2) the job burnout with a total mean of 2.93, which was at a moderate level. 3) the comparison of perceived workload classified by age, status, monthly income, there was a significant difference at 0.05 level in the  perceived workload. And 4) the relationship between perceived workload and job burnout, there was a statistical relationship at the level of significance 0.01. The relationship level was at a moderate level.

Keywords: Job burnout factor, Perceived workload, Ground service staff

 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

วิธีการอ้างอิง
Ubuabon, P., & Feongkeaw, C. (2022). The The Relationship between Perceived Workload and Job Burnout of the Ground Service staff at Suvarnabhumi Airport: ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาระงานกับความเหนื่อยหน่ายในการทํางานของพนักงานต้อนรับภาคพื้นประจําท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1(2), 1–18. สืบค้น จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jmsku/article/view/4864
บท
Articles