Study and Improve Voucher Outbound Process: Case Study XYZ Company Limited

Main Article Content

Duangkamon Prakun
Thanjira Chaninwanit
Boonya Suwanno
Watchariwan Boonprakrong
Airaya Rattanasroi

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
               บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการทำงานของผู้ให้บริการด้านคลังสินค้าแก่บริษัท XYZ จำกัด และการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการขาออกของบัตรกำนัลภายในคลังสินค้า เพื่อหาแนวทางปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพนักงานและด้านระยะเวลาของกระบวนการทำงาน โดยการศึกษาในครั้งนี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์พนักงานแผนกโลจิสติกส์ของบริษัทฯ และพนักงานของคลังสินค้า จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ มาจัดทำแผนผังการไหลของกระบวนการทำงานด้วย Swim Lane Diagram และทำแผนผังเหตุและผลร่วมกับหลัก 4M1E และ 3GEN ในการวิเคราะห์กระบวนหยิบและบรรจุบัตรกำนัลเพื่อหาสาเหตุของปัญหาและใช้หลัก ECRS เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา รวมไปถึงการสร้างแบบจำลองกระบวนการทำงานด้วยโปรแกรมจำลองสถาณการณ์ เพื่อนำเสนอแนวทางการหยิบและบรรจุบัตรกำนัลภายในคลังสินค้าและเปรียบเทียบผลลัพธ์ด้านพนักงานและด้านระยะเวลาของกระบวนการหยิบและบรรจุบัตรกำนัลก่อนและหลังการปรับปรุง
               ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการหยิบและบรรจุบัตรกำนัลขาออกหลังปรับปรุงสามารถลดระยะเวลาการทำงานได้เท่ากับ 778.88 นาทีต่อวัน จากเดิม 918.51 นาทีต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 15.20 อีกทั้ง เมื่อจำลองกระบวนการทำงานด้วยโปรแกรมอารีน่า พบว่า สามารถลดจำนวนพนักงานเหลือ 2 คน โดยที่สามารถทำงานในปริมาณเทียบเท่ากับการทำงานด้วยพนักงาน 3 คน


คำสำคัญ: บัตรกำนัล ประสิทธิภาพด้านพนักงานและด้านระยะเวลา กระบวนการหยิบและบรรจุคลังสินค้า ความสูญเปล่า


Abstract
               The objectives of this journal were to study the information about the working process of the warehouse service provider to XYZ Company Limited, and to analyze the problems occurring in the warehouse work process. To find ways to improve employee efficiency and the duration of work processes. In this study, data were collected from interviews with employees of the Company's logistics department and warehouse staff. The data obtained from the interviews were then used to map the workflow with the Swim Lane Diagram, and together with the 4M1E and 3GEN principles. The Cause-and-Effect Diagram was analyzed to analyze the voucher picking and filling process to determine the root cause of the problem, and use ECRS principles to find solutions to problems including modeling work processes with a simulation program. To present guidelines for picking up and packing vouchers in the warehouse and compared the staff outcomes and timing of the voucher picking and filling process before and after the improvements.
               The study found that the improved process of picking and packing outbound vouchers was reduced to 778.88 minutes per day from 918.51 minutes per day, or 15.20%. In addition, when simulating the work process with the Arena program, it was found that the number of employees was reduced to 2. Which was able to work in the same amount as working with 3 employees.


Keywords: Vouchers, The efficiency of employee and duration, Picking and packing process, Warehouse, Waste

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

วิธีการอ้างอิง
Prakun, D., Chaninwanit, T., Suwanno, B., Boonprakrong, W., & Rattanasroi, A. (2022). Study and Improve Voucher Outbound Process: Case Study XYZ Company Limited. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 1(1), 41–61. สืบค้น จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jmsku/article/view/4875
บท
Articles