การศึกษาทักษะกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมด้วยการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่องไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 | The Study of Engineering Design Process Skill Using STEM Education on Electricity of Grade 9 Students

Main Article Content

ศิริพร เครือทอง
ณัฐกาญจน์ ลีสุขสาม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมของนักเรียนหลังเรียนเทียบกับก่อนเรียน  2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่องไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70  3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อวิธีการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่องไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 53 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้การวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาเรื่องไฟฟ้า 2) แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์เรื่องไฟฟ้า และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน รูปแบบที่ใช้วิจัย คือ วิจัยประเภทกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมของนักเรียนหลังเรียนมีค่าคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05   2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่องไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  มีค่าสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา เรื่องไฟฟ้าอยู่ในระดับมาก ( = 3.69 และ = 0.72)


The purposes of this research were 1) to study the students’ engineering design process skill, 2) to study learning achievement before and after learning using STEM Education on Electricity lesson for grade 9 students compared with the criteria 70 percent and with before learning and         3) to study the students’ satisfaction with STEM education on Electricity lesson. The sample group consisted of 53 grade 9 students, who were selected through a purposive sampling. The research instruments were composed of STEM lesson plan on Electricity lesson, a test of engineering design process, a test of learning achievement on electricity lesson, and a questionnaire of students’ satisfaction. The study followed the One-Group Pretest-Posttest research design for data collection. The research findings were 1) the students’ engineering design process skill after learning was higher than before learning with the significant level of 0.05.  2). the learning achievement using STEM education on electricity for grade 9 students’ post-test score was higher than the 70 percent the criteria and higher than pre-test score with the significant level of 0.05, and 3) the students’ satisfaction using STEM education on electricity for grade 9 students was high level ( = 3.69 and = 0.72)


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย