การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน The Development of Learning Achievement on Plant’s Living by Using Context-Based Learning for Seventh Grade Students

Main Article Content

ศุภธินี ศรีสวัสดิ์
วิทัศน์ ฝักเจริญผล

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ของนักเรียน       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการจัดการเรียนรู้ เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564  โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 5 จำนวนทั้งสิ้น 30 คน  ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบจำเพาะเจาะจง รูปแบบวิจัยที่ใช้ คือ แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 เรื่องย่อยคือ การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยกำหนดสถานการณ์ให้นักเรียนปลูกพืชในขวดโหลปิด และการเจริญเติบโตของพืช โดยยกตัวอย่างสถานการณ์การปลูก                     พืชไฮโดรโปนิกส์ แบบทดสอบในรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช และแบบสอบถาม             ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้บริบทเป็นฐาน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานอยู่ในระดับมาก


This research is the development of learning achievement on plant’s living by using context-based learning for seventh-grade students. The purposes were: 1) to compare students’ learning achievement score before and after learning on plant’s living by using context-based learning, 2) to compare students’ learning achievement score after learning with the learning efficiency criterion of 70 percent and 3) to study students’ satisfaction on context-based learning. The samples were 30 seventh grade students of Banharnjamsaiwittaya 5 School during the first semester of 2021 academic year. They were selected by using the purposive sampling technique. The research design was one-group pretest-posttest. The instruments consisted of 1) the learning management plans following context-based learning on plant’s living, photosynthesis of plant in a closed bottle, and plant’s growth in a hydroponic system, 2) an achievement test on plant’s living, and 3) a satisfaction questionnaire towards the context-based learning lesson. The results of the research were as the following: 1) the students’ learning achievement score after using context-based learning was higher than before learning with statistical significance at the .05 level, 2) the students’ learning achievement scores after using context-based learning was higher than the learning efficiency criterion of 70 percentage with statistical significance at the .05 level, and 3) the students’ satisfaction toward learning by using context-based learning was at the high level.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย

Most read articles by the same author(s)