การพัฒนาอัตราการส่งการบ้านและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในบริบทการเรียนการสอน แบบออนแฮนด์ ด้วยการใช้เบี้ยอรรถกร Improving Grade 7 Students’ Homework Submission Rate and Learning Achievement in On-Hand Learning Context with Tokens Economy

Main Article Content

ณัฐวดี ขันคำ
วิทัศน์ ฝักเจริญผล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการส่งเสริมการส่งงานในบริบทการเรียน
การสอนออนแฮนด์ด้วยการใช้เบี้ยอรรถกร 2) เพื่อเปรียบเทียบการส่งงานวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหลวงวิทยา จังหวัดนครปฐม ก่อนและหลังการใช้เบี้ยอรรถกร
3. เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน โดยใช้เกณฑ์ของ Double percentage 70/80 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แบบบันทึกการส่งงาน และ 2. แบบทดสอบหลังเรียนแบบปรนัย
4 ตัวเลือก เรื่อง ความดันอากาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 ข้อ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC)
อยู่ระหว่าง 0.67–1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบร้อยละการส่งงานก่อน-หลังการจัดการเรียนรู้
ในรูปแบบออนแฮนด์ (On-Hand) ด้วยการใช้เบี้ยอรรถกร (Tokens Economy) และวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้กับเกณฑ์ Double percentage ที่ระดับ 70/80 ผลการวิจัยพบว่า
การส่งงานเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
Double percentage ที่ระดับ 70/80


The objectives of this research were 1) to develop a process to improve the homework submission rate in the context of on-hand teaching by using Tokens Economy, 2) to compare the homework submission rate of in science class of Grade 7 students at Banluang Wittaya School (Nakhon Pathom Province) before and after using the Tokens Economy, and 3) to measure the students' achievement in science by using the criteria of Double percentage at 70/80. The instruments used in this research consisted of 1) Homework submission record, and 2) 10 multiple-choice question on air pressure with the IOC between 0.67 – 1.00. The data were analyzed by comparing the percentage of submissions before-after using the Tokens Economy in on-hand teaching context and analyzing the learning achievement with the Double percentage criteria at 70/80. The results showed that the homework submission rate was significantly higher at the .05 statistical significance level, and academic achievement was achieved according to the Double percentage criteria at the 70/80 level.


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

Most read articles by the same author(s)