ผู้บริโภคยุคใหม่ : กลุ่มวีแกนและผลิตภัณฑ์อาหารจากพืช

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

กัษมาพร ปัญต๊ะบุตร

บทคัดย่อ

ปัจจุบันมีกลุ่มผู้บริโภคที่ละเว้นหรืองดการบริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้เน้นการบริโภคอาหารจำพวกพืชผัก ผลไม้ และธัญพืชเป็นหลัก สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่ กลุ่มคนมังสวิรัติ (vegetarian) กลุ่มคนที่บริโภคอาหารเจ (buddhist vegetarians) และกลุ่มวีแกน (vegan) โดยที่กลุ่มวีแกนเป็นกลุ่มที่เคร่งคัดมากที่สุด นอกจากจะไม่บริโภคเนื้อสัตว์ ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ เช่น นม ไข่ ชีส เป็นต้น ทั้งนี้ในการเลี้ยงสัตว์เพื่อนำมาทำเป็นอาหารหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ยังส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการปล่อยแก๊สเรือนกระจกของอุตสาหกรรมสัตว์ค่อนข้างสูง ส่งผลต่อการตัดไม้ทำลายป่า และการก่อให้เกิดมลภาวะในแหล่งน้ำ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุที่สำคัญคือผู้บริโภคต้องการมีสุขภาพที่ดี โดยการไม่บริโภคเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ซึ่งทำให้สามารถลดความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการบริโภคเนื้อสัตว์ แต่สามารถทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่มาจากสัตว์ได้เช่นกัน ทั้งนี้สามารถทดแทนสารอาหารดังกล่าวได้จากพืชผัก ผลไม้ และธัญพืชต่าง ๆ ดังนั้นต้องมีการวางแผนการบริโภคอาหารที่ดีเพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนจากการไม่บริโภคเนื้อสัตว์ กลุ่มคนที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์มีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากพืช (plant-based food) ซึ่งกำลังเป็นกระแสที่มีความนิยมและมีมูลค่าทางการตลาดที่สูง ทำให้การพัฒนาและวิจัยผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชจึงมีความสำคัญ เพราะกลุ่มคนที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์นั้นต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายและคล้ายคลึงผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์มากขึ้น

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
บทความวิชาการ

เอกสารอ้างอิง

จีระศักดิ์ คำสุริย์ เมธาวี ชุณหวุฒิยานนท์ และ ดุจเดือน บุญสม. (2562). รายงานการวิจัยเรื่อง “โครงการศึกษาตลาดอาหารวีแกนเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทย”. อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร.

Gebhardt B, Hadwiger K. Plant-based foods for future. Results of consumer and professional expert interviews in five European countries - EIT-Food Project “The V-Place”. 2020.

Janssen M, Busch C, Rödiger M, Hamm U. Motives of consumers following a vegan diet and their attitudes towards animal agriculture. Appetite. 2016;105(1):643-51.

Rothgerber H. Underlying differences between conscientious omnivores and vegetarians in the evaluation of meat and animals. Appetite. 2015;87(1):251-8.

Ruby MB, Cheng TK, Heine SJ. [Cultural differences in food choices and attitudes towards animals]. Unpublished raw data. 2011.

Ploll U, Petritb H, Stern T. A social innovation perspective on dietary transitions: Diffusion of vegetarianism and veganism in Austria. Environ Innov Soci Transit. 2020;126:59-67.

Steinfeld H, Gerber P, Wassenaar T, Castel V, Rosales M, Rosales M, Haan C. de. Livestock's long shadow: Environmental issues and options, FAO publications. 2006

Fu Y, Chen T, Chen SHY, Liu B, Sun P, Sun H, Chen F. The potentials and challenges of using microalgae as an ingredient to produce meat analogues. Trends Food Sci Technol. 112: 188-200. Cited in Mottet, 2021;112:188-200.

Melina V, Craig W, Levin S. Position of the academy of nutrition and dietetics: vegetarian diets. J Acad Nutr Diet. 2016;116(12):1970-80.

Tuso PJ, Ismail MH, Ha BP, Bartolotto C. Nutritional update for physicians: plant-based diets. Perm J. 2013;17(2):61-6.

Fresan U, Mejia M, Jaceldo-Siegl K, Craig W, Sabate J. Looking for a nutritive and sustainable source of protein. Curr Dev Nutr. 2019;3:1083-93.

Suttera DO, Bender N. Nutrient status and growth in vegan children. Nutr Res. 2021;91:13-25.

Melina V, Craig W, Levin S. Position of the academy of nutrition and dietetics: vegetarian diets. J Acad Nutr Diet. 2016;116(12):1970-80.

Jeffrey Soble.Health benefits of a vegan diet.Rush Content Hub; 2019. [cited 2024 Apr 9]. Available from: https://www.rush.edu/news/health-benefits-vegan-diet

Grand view research. Vegan food market size, share & trends analysis report by product (Dairy alternative, meat substitute), By Distribution Channel (Online Offline), By Region (APAC, CSA, MEA, Europe, North America), And Segment Forecasts, 2019-2025; 2019 [cited 2024 Apr 3]. Available from: https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/vegan-food-market

Ploll U, Petritb H, Stern T. A social innovation perspective on dietary transitions: diffusion of vegetarianism and veganism in Austria. Environ Innov Soci Transit. 2020;36:164-76.

Santaoja M, Jallinoja P. Food out of its usual rut. Carnivalesque online veganism as political consumerism. Geoforum. 2021;126:59-67.

The Vegan Society. Statistics about veganism 2021; [cited 2024 Apr 3]. Available from: https://www.vegansociety.com/news/media/statistics/worldwide

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก. รายงานผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ 2020; [เข้าถึงเมื่อ 1 เม.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ditp.go.th/contents_attach/597176/597176.pdf

พชรพจน์ นันทรามาศ อภินันทร์ สู่ประเสริฐ และพิมฉัตร เอกฉันท์. (2563). ทำความรู้จัก Plant-based Food เมื่อเนื้อสัตว์จากพืชกลายเป็นเทรนด์อาหารโลก. นิติย2020; [เข้าถึงเมื่อ 1 เม.ย. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://krungthai.com/Download/economyresourcee/EconomyResourcesDownload_452Plant_based_Food_10_11_63.pdf