July-December
Vol. 54 No. 2 (2024)
วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นวารสารที่จัดทำขึ้นโดยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งนำเสนอบทความทางวิชาการด้านอาหารในสาขาเทคโนโลยีการอาหาร เคมีอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร โภชนาการ และวิทยาศาสตร์การอาหารที่เกี่ยวข้อง บทความที่เผยแพร่ต้องได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง ผู้เขียนสามารถส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และผู้สนใจสามารถเข้าถึงบทความที่เผยแพร่ในวารสารผ่านทางเว็บไซต์: https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเช่นกัน
กองบรรณาธิการขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ความกรุณาในการประเมินและเสนอแนะแก้ไขจนได้บทความที่มีความสมบูรณ์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้เชิงวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์อาหารที่มีความน่าเชื่อถือ ตลอดจนสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งงานวิจัยและการต่อยอดในอุตสาหกรรมอาหารต่อไป
January-June
Vol. 54 No. 1 (2024)
วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นวารสารที่จัดทำขึ้นโดยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งนำเสนอบทความทางวิชาการด้านอาหารในสาขาเทคโนโลยีการอาหาร เคมีอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร โภชนาการ และวิทยาศาสตร์การอาหารที่เกี่ยวข้อง บทความที่เผยแพร่ต้องได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง ผู้เขียนสามารถส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และผู้สนใจสามารถเข้าถึงบทความที่เผยแพร่ในวารสารผ่านทางเว็บไซต์: https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเช่นกัน
วารสารฉบับนี้ เป็นปีที่ 54 ฉบับที่ 1 ประจำเดือน มกราคม - มิถุนายน พ.ศ. 2567 ซึ่งประกอบด้วยบทความวิจัย 1 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับการสกัดโปรตีนไฮโดรไลเสตจากสาหร่ายสไปรูลิน่า และบทความวิชาการ 6 เรื่อง ซึ่งให้ความรู้ทางด้านอาหารฟังก์ชันอย่างไซโคไบโอติก พรีไบโอติก โปรตีนทางเลือก และนวัตกรรมอาหารที่กำลังได้รับความสนใจ รวมถึงเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การอาหารอื่นด้วย
กองบรรณาธิการขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ความกรุณาในการประเมินและเสนอแนะแก้ไขจนได้บทความที่มีความสมบูรณ์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้เชิงวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์อาหารที่มีความน่าเชื่อถือ ตลอดจนสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งงานวิจัยและการต่อยอดในอุตสาหกรรมอาหารต่อไป
July-December
Vol. 53 No. 2 (2023)
วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นวารสารที่จัดทำขึ้นโดยสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งนำเสนอบทความทางวิชาการด้านอาหารในสาขาเทคโนโลยีการอาหาร เคมีอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพทางอาหาร โภชนาการ และวิทยาศาสตร์การอาหารที่เกี่ยวข้อง บทความที่เผยแพร่ต้องได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ในสาขาที่เกี่ยวข้อง ผู้เขียนสามารถส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และผู้สนใจสามารถเข้าถึงบทความที่เผยแพร่ในวารสารผ่านทางเว็บไซต์ : https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเช่นกัน
วารสารฉบับนี้ เป็นปีที่ 53 ฉบับที่ 2 ประจำเดือน กรกฎาคม - ธันวาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งประกอบด้วยบทความวิจัย 1 เรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่า และบทความวิชาการ 7 เรื่อง ซึ่งให้ความรู้ทางด้านอาหารฟังก์ชันและโปรตีนทางเลือกที่กำลังได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย รวมถึงเนื้อหาสาระเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การอาหารอื่นด้วย
กองบรรณาธิการขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิที่ให้ความกรุณาในการประเมินและเสนอแนะแก้ไขจนได้บทความที่มีความสมบูรณ์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านจะได้รับความรู้เชิงวิชาการทางด้านวิทยาศาสตร์อาหารที่มีความน่าเชื่อถือ ตลอดจนสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งงานวิจัยและการต่อยอดในอุตสาหกรรมอาหารต่อไป
January-June
Vol. 53 No. 1 (2023)
วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ปีที่ 53 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มิ.ย.) 2566 มาพร้อมกับบทความที่ยังคงให้ความรู้เชิงวิชาการและงานวิจัยทางด้านอาหาร อีกเช่นเคย...
ในฉบับนี้ ขอนำเสนอบทความวิจัยจำนวน 3 เรื่อง ได้แก่
- เรื่อง ผลของการใช้เวย์โปรตีนไอโซเลทและอินูลินเป็นสารทดแทนไขมัน ต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีและกายภาพของไอศกรีมไขมันต่ำ
- เรื่อง การใช้ถั่วพิวเร่ทดแทนไขมันในคุกกี้
- เรื่อง ประสิทธิผลของควินัวในผลิตภัณฑ์ขนมปังปราศจากกลูเตน
บทความวิชาการจำนวน 4 เรื่อง ได้แก่
- เรื่อง ประโยชน์เชิงหน้าที่ของโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตจากสาหร่าย
- เรื่อง แนวทางการเลือกอาหารและสารอาหารสำหรับผู้สูงวัย
- เรื่อง เปปไทด์ที่ได้จากอาหารต่อการออกฤทธิ์ทางชีวภาพ : ประโยชน์ต่อสุขภาพ
- เรื่อง "เรื่องเล่ารสขม"
หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความในวารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารนะคะ
October-December
Vol. 52 No. 4 (2022)
ในวารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ปีที่ 52 ฉบับที่ 4 ของปี พ.ศ. 2565 ขอนำเสนอบทความวิชาการจำนวน 4 เรื่อง ได้แก่
- เรื่อง “ผลิตภัณฑ์นมทางเลือกจากพืช” กล่าวถึงแหล่งของพืชที่นิยมนำมาใช้ผลิต กระบวนการผลิต และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพและการยอมรับในผลิตภัณฑ์นมพืช
- เรื่อง “ผลิตภัณฑ์หมักจากน้ำนมพืชและคุณสมบัติเชิงหน้าที่” ว่าด้วยทิศทาง งานวิจัย และคุณสมบัติเชิงหน้าที่ของผลิตภัณฑ์น้ำนมพืชหมัก
- เรื่อง “มะรุม : โปรตีนพืชทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุ” ให้ข้อมูลด้านคุณค่าทางโภชนาการของมะรุมเพื่อเป็นโปรตีนทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุที่มีปัญหาของโรคไขมันในเลือดและโรคความดันโลหิตสูง และ
- เรื่อง “คุณสมบัติทางเคมีและชีวภาพของสารโปรไซยานิดินของโกโก้กับประโยชน์ด้านสุขภาพ” กล่าวถึงสารโปรไซยานิดินที่สกัดได้จากโกโก้มีฤทธิ์ทางชีวภาพอย่างไร และสุดท้ายขอนำเสนอเมนูคู่สุขภาพ
- เรื่อง “จากถั่วเหลืองสู่ถั่วเหลืองงอก คุณประโยชน์ที่อยากบอก...อาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพ” แนะนำเมนูอาหารจากถั่วเหลืองงอก ซึ่งทำง่ายและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ไปติดตามกันนะคะ
January-March
Vol. 52 No. 1 (2022)
ในวารสารอาหารปีที่ 52 ฉบับที่ 1 ของปี พ.ศ. 2565 ท่านจะได้อ่านบทความวิชาการที่มีเนื้อหาหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ การใช้ประโยชน์จากถั่วเหลือง และแหล่งโปรตีนใหม่อย่างแมลงด้วย ซึ่งในฉบับนี้จะประกอบไปด้วยบทความวิชาการจำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ “การปรับสมดุลไมโครไบโอมจุลินทรีย์ลำไส้ในร่างกายมนุษย์ด้วยเครื่องเทศและสมุนไพรในอาหาร” “โซเดียม การรับรสเค็มและการปรับลดปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหาร” “การใช้ประโยชน์จากกากถั่วเหลือง” และ “การแพ้แมลงกินได้” ในฉบับนี้ยังมีบทความปกิณกะ เรื่อง “หัวปลี...คุ้มค่าเกินราคา” สำหรับผู้ประกอบการและผู้บริโภคที่สนใจการบริโภคอาหารสุขภาพจากวัตถุดิบภายในประเทศที่มีราคาต่ำแต่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และสำหรับเมนูคู่สุขภาพ เราขอนำเสนอเรื่อง “แนวทางการรับประทานอาหารคีโตจีนิคเพื่อลดน้ำหนัก” ค่ะ
July-September
Vol. 52 No. 3 (2022)
กองบรรณาธิการขอเรียนให้ท่านผู้อ่านทราบว่า วารสารอาหารปีที่ 52 ฉบับที่ 3 ของปี พ.ศ. 2565 ได้ปรับเปลี่ยนชื่อวารสารจาก "อาหาร" ISSN 0125-1147 (Print) เป็น “วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร Journal of Food Research and Product Development, JFRPD” เป็นรูปแบบวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Journal) ISSN 2821-9813 (online) โดยยังคงให้ความรู้เชิงวิชาการและงานวิจัยทางด้านอาหาร เนื้อหาของวารสารประกอบด้วยบทความวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การอาหาร เช่น เทคโนโลยีการแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ องค์ความรู้ด้านโภชนาการ และการวิเคราะห์คุณสมบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน ท่านผู้อ่านสามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/JFRPD
ในฉบับนี้ขอนำเสนอบทความวิชาการจำนวน 4 เรื่อง ได้แก่
- เรื่อง “โภชนพันธุศาสตร์ : โภชนาการเฉพาะบุคคลเพื่อสมรรถนะทางกีฬาและการออกกำลังกาย” แนะนำโภชนาการสำหรับนักกีฬาและผู้ออกกำลังกาย
- เรื่อง “ผลิตภัณฑ์คีโตเจนิก” แนะนำกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการบริโภคอาหารแนวใหม่อย่างคีโตเจนิก
- เรื่อง “ไข่เทียมจากพืช” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์โปรตีนพืชที่กำลังได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ และ
- เรื่อง “การกำจัดเชื้อจุลินทรีย์และยาฆ่าแมลงในผักและผลไม้สดด้วยวิธีการในครัวเรือนและการใช้สารเคมี” เพื่อสร้างความเข้าใจถึงแนวทางการกำจัดเชื้อจุลินทรีย์และยาฆ่าแมลงในอาหาร สุดท้ายขอนำเสนอเมนูคู่สุขภาพ
- เรื่อง “จากเครื่องเทศและสมุนไพรสู่เครื่องแกงที่มากด้วยคุณประโยชน์” หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะมีสุขภาพแข็งแรงและได้ประโยชน์จากบทความจากวารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารนะคะ
April-June
Vol. 52 No. 2 (2022)
ในวารสารอาหารปีที่ 52 ฉบับที่ 2 ของปี พ.ศ. 2565 ขอนำเสนอบทความวิชาการ เรื่อง “ผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืช...แนวโน้มในการบริโภคยุคปัจจุบัน” ที่ได้รวบรวมผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืชที่กำลังเป็นกระแสนิยมอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน และบทความเรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปเพื่อสุขภาพ” เพื่อเป็นแนวทางสำหรับนักวิจัยและนักวิชาการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีบทความเรื่อง “ยีสต์โพรไบโอติก” เพื่อให้ผู้บริโภคได้รู้จักโพรไบโอติกเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเพิ่มขึ้น สำหรับทุกท่านที่ดูแลใส่ใจเรื่องรูปร่างและต้องการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น สามารถติดตามบทความเรื่อง “บทบาทของโปรตีนต่อการควบคุมการบริโภคอาหารและน้ำหนักตัว” ได้เลยค่ะ และสำหรับเมนูคู่สุขภาพ เราขอนำเสนอเรื่อง “ผักที่มีกรดอะมิโนสูง : ต้นอ่อนทานตะวัน” หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะมีสุขภาพแข็งแรง และได้ประโยชน์จากบทความจากวารสารอาหารนะคะ