กลยุทธ์กระดาษแผ่นเดียวในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา |One–Page Strategy in Educational Quality Development

Authors

  • มณฑิรา อินจ่าย 0951124680

Keywords:

กลยุทธ์กระดาษแผ่นเดียว, การประชุมเพื่อแสวงหาอนาคตร่วมกัน, การพัฒนาคุณภาพการศึกษา

Abstract

Abstract

       การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอประสิทธิภาพของการประยุกต์ใช้กลยุทธ์กระดาษแผ่นเดียวร่วมกับเทคนิคการประชุมเพื่อแสวงหาอนาคตร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาบนพื้นฐานของหลัก 80/20 ของ Pareto และอัตลักษณ์เชิงจิตวิทยาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบเทคนิคสี่ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นวางแผน ขั้นปฏิบัติ ขั้นสังเกต และขั้นสะท้อนผล คู่ขนานไปกับวงรอบ PDCA ของระบบการพัฒนาคุณภาพ คือ การวางแผน การดำเนินงาน การประเมินคุณภาพ และการเสนอแนวทางปรับปรุงผู้ร่วมประชุมจำนวน 18คนประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์ประจำหลักสูตร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ จาก 9 หลักสูตรของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในปีการศึกษา 2559การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบวิลคอกซันเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบตรวจวัดคุณลักษณะบุคลิกภาพของมายเออร์-บริกส์ (MBTI) แบบสอบถามการจัดการความรู้ และรายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาโดยคณะกรรมการ (CAR)ผลการวิจัยพบว่า ผู้ร่วมประชุมส่วนใหญ่มีอัตลักษณ์แบบนิ่งและมุ่งคนโดยให้ความสำคัญกับจินตนาการและความรู้สึกค่ามัธยฐานของความพึงพอใจต่อกลยุทธ์อยู่ในระดับมาก ผู้ร่วมประชุมร้อยละ 100 มีความรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์กระดาษแผ่นเดียวเพิ่มขึ้นผลการประกันคุณภาพโดยรวมเพิ่มขึ้นจากคะแนนเฉลี่ย 2.65 ซึ่งเป็นคุณภาพระดับปานกลางสู่ 3.09ซึ่งเป็นคุณภาพระดับดี(p<.05) อนึ่ง การจัดการความรู้โดยใช้กลยุทธ์กระดาษแผ่นเดียวในกระบวนการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแสวงหาอนาคตร่วมกัน เป็นเทคนิควิธีที่มีประสิทธิภาพในการเอื้ออำนวยให้ผู้ร่วมวิจัยเกิดความความเข้าใจสถานการณ์ในอดีตอย่างชัดเจน ไม่หมดหวังกับปัญหาปัจจุบัน และร่วมกันตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้จริงในการพัฒนาคุณภาพหลักสูตรอย่างสอดคล้องกับอัตลักษณ์แห่งตน

         Based on the 80-20 rule of Pareto's principle and psychological identities, this study applied the one-page strategy to obtain the efficiency of the ‘Future Search Conference’ (F.S.C.) in educational quality development. Technical action research methodology was used in four steps: planning, acting, observing, and, reflecting which were paralleled with four steps according to the PDCA quality development system: Plan, Do, Check, and Act. The 18 participants consisted of executives, full-time instructors and academic officers from 9 curriculums in Faculty of Social Sciences, Naresuan University in the academic year of 2016. Research tools were the Myers–Briggs Type Indicator (MBTI), a knowledge management questionnaire, and the Check-Assessment Report (CAR).Descriptive Statistics and theWilcoxon Signed Rank test were used in data analysis. The research results showed that most of participants’ identities were steadiness with intuitive feeling. The median of their satisfaction toward thestrategywas in a high level. All of the participants’ knowledge about one-page strategy was increased.The Wilcoxon Signed Rank test revealed that the overall effectiveness of the educational quality score increased from 2.65 to 3.01 which was a good quality level (p < .05).Knowledge management by the one-page strategy in the F.S.C. process was an effective technique to facilitate participants to understand past situation more clearly, not to give up on present problems, and encourage each other to develop a realistic future plan congruent with their identities.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2018-04-19

Issue

Section

บทความวิจัย