การพัฒนาความสามารถในการจดจำคำศัพท์โดยใช้เทคนิคการเล่านิทาน (Storytelling) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี | A Development of the Effect of Using Storytelling Technique on the Word Retention Ability of Mathayomsuksa 1 Students at Kannasootsuksalai School Suphanburi

Main Article Content

ปาณิศา เคหะรักษ์

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการจดจำคำศัพท์ของนักเรียน   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เทคนิคการเล่านิทาน (Storytelling) ก่อนเรียนและหลังเรียน 2. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อเทคนิคการเล่านิทาน (Storytelling) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 43 คน ในรายวิชา ภาษาอังกฤษ 1 (อ21101) ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) สำหรับแบบแผนการวิจัย ผู้วิจัยได้เลือกใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งการทดลอง แบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและหลัง (One Group Pretest-Posttest Design) รวมระยะเวลาในการทดลองทั้งสิ้น 6 คาบเรียน  คาบเรียนละ 55 นาที เครื่องมือวิจัยที่จัดทำขึ้นเพื่อการวัดและประเมินผล ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความสามารถในการจดจำคำศัพท์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.7 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อเทคนิคการเล่านิทาน (Storytelling) มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86 นอกจากนั้นผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่า t-test for dependent sample, ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean or Mean), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) และค่าร้อยละ (Percentage) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการเล่านิทาน (Storytelling) หลังการทดลองมีผลสัมฤทธิ์ด้านความสามารถในการจดจำคำศัพท์สูงขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อเทคนิคการเล่านิทาน (Storytelling) พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 4.59


The purpose of this study is to find out the effectiveness of storytelling technique with English tales in teaching vocabulary by comparing Mathayomsuksa 1 (Grade 7) students’ English vocabulary ability before and after the implementation, as well as satisfaction in learning through the storytelling technique with English tales. The sample purposively selected for this study was 43 Mathayomsuksa 1 students learning English 1 (E21101) of Kannasootsuksalai School Suphanburi in the first semester of the academic year 2019. In this one group pre-test post-test design study, the sample group was taught through storytelling technique with English tales for six 55-minute periods. The assessments were:  1) English Vocabulary Ability test with 30 multiple-choice questions developed by the researcher with a reliability of 0.7, 2) Learning Satisfaction Questionnaire created by the researcher with a reliability of 0.86. For data analysis, the t-test for dependent sample, descriptive statistics for means, standard deviation, and percentage were conducted. The result of the study indicates that the English vocabulary ability before and after employing the new technique was significantly different at the level of .01. Moreover, it was found that after learning most of the students are most satisfied by the storytelling technique with English tales ( = 4.59).


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย