การประเมินการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชินีบูรณะ โดยใช้การประเมินแบบเร่งด่วน

Evaluation of Distance Learning Management under the COVID-19 Pandemics in the Case of High School Grade 12 at Rachineeburana School by using Rapid Appraisal

Authors

  • เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล No. 128, Moo 13, Sa Phatthana Sub-district, Kamphaengsaen District Nakhon Pathom Province 73180
  • วรกมล วงศธรบุญรัศมิ์ โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม
  • ณัฐกานต์ โรจนพรประสิทธิ์ โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม
  • กันต์กมล หินทอง โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม
  • พรรณนิภา สนิทดี โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม
  • ธีรนาฏ เมตตาสุธารส โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม
  • มนต์เมืองใต้ รอดอยู่ โรงเรียนราชินีบูรณะ จังหวัดนครปฐม

Keywords:

การจัดการเรียนการสอนทางไกล, สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, distance learning management, COVID-19 pandemics

Abstract

การจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระยะทดลอง จำเป็นต้องได้รับข้อมูลสารสนเทศย้อนกลับเพื่อการพัฒนาจากการประเมินในมิติต่างๆ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตัดสินสถานะปัจจุบันของการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผ่าน 1) การประเมินปฏิกิริยาตอบสนอง 2) การประเมินการปฏิบัติ และ 3) การรวบรวมปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของผู้ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับงานระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้วิธีการประเมินแบบเร่งด่วน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 316 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ตัวแทนนักเรียนแต่ะห้องและครูที่ปรึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 14 คน และ 20 คน ตามลำดับ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนราชินีบูรณะ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสำรวจ แบบบันทึก และประเด็นสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่าสถานะในปัจจุบันของการจัดการเรียนการสอนทางไกลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชินีบูรณะ ยังไม่ประสบผลสำเร็จและมีข้อแก้ไขจำนวนมาก เนื่องจากกระบวนการจัดการเรียนการสอนทางไกลยังไม่สมบูรณ์ทั้งในด้านการคัดเลือกบุคลากรที่ทำหน้าที่เป็นครูต้นทางและวิธีการถ่ายทอดเนื้อหาจากครูประจำวิชาในบางส่วน ด้านเนื้อหาที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการและไม่สอดคล้องกับบริบทของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มุ่งการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนที่ไม่หลากหลาย ขาดความน่าสนใจ และขาดการปฏิสัมพันธ์ 

ระหว่างครูและนักเรียน ส่งผลให้คุณภาพการเรียนการสอนและการส่งเสริมสมรรถนะพื้นฐานที่สำคัญของนักเรียนด้อยกว่าการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน ด้านความสามารถในการกำกับตนเองเพื่อการเรียนรู้ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการจัดการเรียนการสอนทางไกลของนักเรียนแต่ละคนซึ่งไม่เท่ากันและพบว่ายังไม่เพียงพอ แม้ครูที่ปรึกษาได้ทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษา แก้ไขปัญหา และประสานงานเพื่อช่วยเหลือและสื่อสารจนนักเรียนมีความเข้าใจและตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องมีการจัดการเรียนการสอนทางไกลเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ยังพบข้อจำกัดและอุปสรรคที่สำคัญของการจัดการเรียนการสอนทางไกลในระยะทดลอง ได้แก่ การสื่อสารกับผู้ปกครองของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังดำเนินการได้ไม่ชัดเจน ทำให้โอกาสในการเข้าเรียนทางไกลลดลง ความยากลำบากในการเรียนผ่านโทรศัพท์ที่มีหน้าจอขนาดเล็ก ซึ่งอาจไม่ได้เป็นอุปกรณ์ที่มีไว้ใช้สำหรับการเรียนทางไกลโดยตรง และการสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียนในบางครั้งไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน โดยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญหากต้องดำเนินการจัดการเรียนการสอนทางไกลต่อไป คือ 1) ควรพัฒนาให้การจัดการเรียนการสอนทางไกลสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและนักเรียนได้มากขึ้น 2) ควรเพิ่มเติมวิธีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์งานหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย และ 3) ควรเลือกนำเสนอเนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่อย่างไรก็ตาม การจัดการเรียนการสอนทางไกลในระยะทดลองยังคงมีจุดเด่นในเรื่องการส่งเสริมสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีของนักเรียน

The trial phase of distance learning management under the COVID-19 pandemics was necessary to receive feedback for development from various dimensions. The purposes of this research were to decide the current state of distance learning management under the COVID-19 pandemics through 1) evaluate the reaction 2) evaluate the practice and 3) compile the problems, obstacles, and suggestions for the operation of the practitioners related to high school grade 12 on distance learning management under the COVID-19 pandemics by using the rapid appraisal. Samples were 316-matthayomsuksa 6 students at the first semester of academic year 2020 of Rachineeburana School and key informants were representative of 14-students in each classroom, and 20-teachers as advisor at the first semester of academic year 2020 of Rachineeburana School. The data correction tool comprising of a set of questionnaire, survey form, record form, and group discussion form. Data analyses used applied were minimum, maximum, percentage, arithmetic mean, standard deviation, and content analysis.

The results showed that the current status of distance learning under the COVID-19 pandemics of high school grade 12 at Rachineeburana School not successful and has many limitations, because the distance learning process may not be complete either in the selection of personnel acting as model teachers and the methods of transferring content from subject teachers in the some parts, Insufficient content to needs and not consistent with the contexts of high school grade 12 students who aimed was the university entrance examination, and the variety of learning activities lack of interest and interaction between teachers and students. As a result, teaching quality and promotion of basic competency of students is worse than classroom teaching. The ability to self-directed learning, which an essential 

feature for distance learning of each student was not enough although the advisor teacher has the duty to provide counseling, problem solving and coordination to assist and communicate until the students understand and realize the need for distance learning as well. In addition, the major obstacles of distance learning in the trial phase were the communication with the parents that the involved institutions was not clear and reduce the chances of distance learning, the difficulty of studying through a phone with a small screen which may not be a device intended for direct distance learning, and sometimes communication between teachers and students not leads to mutual understanding. The important recommendations if further distance learning was to be proceed: 1) should develop distance learning to enable interaction between teachers and students, 2) should adding communication method and advertisement on work or activities that related to the university entrance examination, and 3) should choose the presentation of appropriate content for high school grade 12 students. Nevertheless, distance learning was in the trial phase also prominent in the promotion of student’s technology competency.

 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2020-12-14

Issue

Section

บทความวิจัย

Most read articles by the same author(s)