การศึกษาความคาดหวังและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา|A Study of the Expectations and Needs of Stakeholders towards Master of Education Program in Physical Education

A Study of the Expectations and Needs of Stakeholders towards Master of Education Program in Physical Education

Authors

  • ธีรนันท์ ตันพานิชย์ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ศุภวรรณ วงศ์สร้างทรัพย์ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

Keywords:

ความคาดหวัง, ความต้องการ, ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, สาขาวิชาพลศึกษา, Expectations, Needs, Stakeholders, Program in Physical Education

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา กลุ่มเป้าหมายแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้กลุ่มที่ 1 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 4 คน อาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้สอน จำนวน 10 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน รวมจำนวน 17 คน กลุ่มที่ 2 นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา ชั้นปีที่ 1 จำนวน 8 คน นิสิตชั้นปีที่ 2 จำนวน 9 คน รวมจำนวน 17 คน กลุ่มที่ 3 นิสิตที่สำเร็จการศึกษารุ่นที่ 1 จำนวน 11 คน รุ่นที่ 2 จำนวน 12 คน และรุ่นที่ 3 จำนวน 7 คน รวมจำนวน 31 คน กลุ่มที่ 4 ผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 31 คน ดำเนินเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยแบบสอบถาม online ผ่าน google form ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร การสอน และการวิจัยการศึกษา ผลการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) ค่า IOC มีค่า 0.67-1.00 ทุกข้อคำถาม

ผลการวิจัย

           1) ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา พบว่า บัณฑิตในหลักสูตรสามารถสร้างและออกแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ทางพลศึกษาที่มีคุณภาพบนฐานการวิจัยและหลักวิชาการที่เหมาะสมกับบริบทของของผู้เรียน ชุมชน และสังคม สามารถออกแบบการวิจัยและประเมินผลการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ทางพลศึกษาอย่างเป็นระบบเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียน สามารถเผยแพร่ ถ่ายทอดความรู้ตามหลักทางวิชาการและการวิจัยทางพลศึกษา สู่การเป็นผู้นำด้านการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม และสามารถแสดงออกและปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพทางพลศึกษาที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

            2) ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อสมรรถนะที่จำเป็นของมหาบัณฑิตหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา พบว่า ด้านความรู้ บัณฑิตต้องมีการศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาตัวเองตลอดเวลาตลอดชีวิต สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ นำความรู้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถประยุกต์องค์ความรู้ไปใช้ในการทำงานกับเพื่อนร่วมงานได้ ต้องมีความรู้ที่เท่าทันและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคต ต้องมีความรู้ความ เข้าใจอย่างลึกซึ้งในศาสตร์ของตนเอง และสามารถแสวงหาองค์ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงได้ด้วยตนเอง ด้านทักษะสามารถออกแบบและสร้างสื่อการจัดการเรียนรู้ทางพลศึกษา การบริหารจัดการทางพลศึกษา และบัณฑิตต้องมีทักษะในการเลือกข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประยุกต์ใช้ข้อมูลอย่างมีสติและมีเหตุผล ต้องมีทักษะการควบคุมอารมณ์ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่นและสังคม ต้องมีทักษะการประกอบการอย่างมืออาชีพ ต้องมีทักษะการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี  ต้องมีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ต้องมีทักษะการจัดการตนเองอย่างเป็นระบบ ต้องมีทักษะการประยุกต์ใช้ข้อมูล เพื่อสามารถสร้างการแข่งขันได้ และต้องมีทักษะการใช้เทคโนโลยี และรู้เท่าทันข้อมูลท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ด้านเจตคติ บัณฑิตต้องมีการให้เกียรติซึ่งกันและกัน ยอมรับตนเอง และผู้อื่น ต้องมีความกล้าที่จะเป็นตัวของตัวเองไม่ใช่ทำตามคนอื่น ต้องมีความซื่อสัตย์สุจริต ต้องมีความซื่อตรงและเที่ยงธรรม  ต้องมีความตระหนักคิด มีสติ ต้องมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี ต้องมีความอ่อนน้อม ถ่อมตน ต้องมีทัศนคติเชิงบวก ต้องมีมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น ต้องมีการเคารพในความเป็นผู้ใหญ่ ต้องมีความเคารพสถานที่ที่เข้าไปอยู่ ต้องมีความเชื่อมั่นในตนเองในองค์กร

The objectives of this research was to study the expectations and needs of stakeholders regarding the Master of Education program; Department of Physical Education. The target group were divided into 4 groups as follows: Group 1: 4 professors responsible for the curriculum, 10 course instructors, and 3 experts, totaling 17 people. Group 2: 1st year graduate students. 8 people, 9 second year students, totaling 17 people. Group 3: 11 people graduating from the 1st generation, 12 people in the 2nd generation, and 7 people in the 3rd generation, totaling 31 people. Group 4: 31 school administrators, section heads, learning group heads, and other assigned people. They collect quantitative data with an online questionnaire via google form, qualitative data with in-depth interviews with stakeholders. Results of the tool quality inspection by 3 experts, consisting of experts in curriculum, teaching, and educational research. Results of the quality check for content validity (Content Validity), IOC values were 0.67-1.00 for every question.

 

 

The research results are summarized as follows.

1) Stakeholders have expectations regarding the learning outcomes of the Master of Education program. In the field of Physical Education, it was found that graduates in the program were able to create and design innovations in physical learning management. Quality physical education based on research and academic principles appropriate to the context of learners, communities, and society, able to design research and evaluate learning management to develop systematic thinking, analysis, and synthesis skills in physical education to develop learning management. Learners' knowledge can publish and transfer knowledge according to academic principles and research in physical education to be a leader in learning management with innovation media and modern technology to keep up with social changes and be able to express and behave according to the principles of morality, ethics and academic, and professional ethics in physical education that are socially responsible.

2) Stakeholder needs regarding the required competencies of the Master of Education program. In the field of Physical Education is as follows: Knowledge: Graduates must study and acquire knowledge to develop themselves all the time throughout their lives, able to analyze, synthesize and apply knowledge effectively, and able to apply knowledge to work with coworkers. Graduates must have up-to-date knowledge and be ready to accept changes in the future world, and have knowledge deeply understand their own science. Graduates can seek factual knowledge by themselves in terms of skills, and design and create physical education learning media. Physical education management: graduates must have skills in selecting information for analysis, synthesis, and application of information with awareness and reason. They must have the skills to control emotions in living with others and society and professional entrepreneurial skills, leadership skills and good followers, learning skills in the 21st century, systematic self-management skills, data application skills to be able to create competition, and skills in using technology and be knowledgeable about information in the midst of change. In terms of attitude, graduates must have respect for each other, accept themselves and others, and have the courage to be themselves and not follow others. Moreover, they must be honest and fair, have awareness, be mindful, be considerate, generous, and generous. Graduates must have humility and humility, a positive attitude, and human relations with others. They must be respect for maturity, respect the place you enter, and have self-confidence in the organization.

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

Phinda Warasunun Sirichai Sriphrom Khomkrit Chaowaphanich Witas Phatcharoenphon and Jiraporn

Kakaew. (2017). Evaluation of the Bachelor of Education program. Learning management

field Faculty of Education and Development Sciences Kasetsart University. 14th National

Academic Conference, Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus.

Suthiphan Theeraphong, Nirumon Suwansri, Thip Khamyu, Jiraporn Rodpuang, and Nongyao

Nuchanart (2021). Expectations and needs of stakeholders regarding the Master of Education

program. Field of study: early childhood and primary education. Journal of Early Childhood

Education Management, 3(2): 1 -10.

Thaweeporn Pengmak, Rosukon Saengmanee and Siriphan Siriphan. (2021). Stakeholder opinions.

in developing a master's degree program in nursing science Faculty of Nursing Narathiwat

Rajanagarindra University. Narathiwat Rajanagarindra University Journal, 13(3): 140-158.

Yada Chawalakul Naphakamon Chana and Latthaphon Chanthonglang. (2018). Stakeholder needs

detrimental to the desired characteristics of the Master of Architecture program Field of study:

Industrial design. Naresuan University Journal of Art and Architecture, 9(1): 168-176.

Downloads

Published

2024-02-15

Issue

Section

บทความวิจัย