การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดประลองการทำงานระบบปรับอากาศรถยนต์โดยการจำลองสถานการณ์แสง|Development and Efficiency Evaluation of Experiment Set for Automotive Air ConditioningSystem based on Lighting Simulation Conditions

Main Article Content

ณัฐกฤต เอี่ยมเต็ง
ประพัทธ์ บุญเซี่ยม
บัณฑิต สุขสวัสดิ์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดประลองการทำงานของระบบปรับอากาศรถยนต์โดยการจำลองสถานการณ์แสงหาคุณภาพและประสิทธิภาพของชุดประลอง และทำการทดลองเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เรียนด้วยชุดประลองที่พัฒนาขึ้นกับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนแบบปกติโดยชุดประลองประกอบด้วยระบบปรับอากาศจำลองและเอกสารประกอบการสอนได้แก่ ใบเนื้อหา ใบงาน ใบประลอง แบบฝึกหัดและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระเบียบวิธีวิจัยได้กำหนดให้ใช้แบบสอบถามชนิดมาตรวัดชนิด 5 ระดับ เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 ท่าน ที่มีต่อคุณภาพของชุดประลองและนำชุดประลองไปหาประสิทธิภาพจากกลุ่มตัวอย่างของนักเรียนกลุ่มทดลอง 15 คน ผลการประเมินด้านคุณภาพ   ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49 ผลการหาประสิทธิภาพพบว่า ค่าเฉลี่ยประสิทธิของกระบวนการ (E1) คิดเป็นร้อยละ 82.98 และค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) คิดร้อยละ 80.51 ผลการเปรียบเทียบคะแนนแบบทดสอบพบว่ากลุ่มทดลองที่เรียนด้วยชุดประลองมีค่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 คุณภาพและประสิทธิภาพของชุดประลองที่สร้างขึ้นมีค่าสูงกว่าสมมติฐานของงานวิจัยที่ตั้งไว้ ดังนั้นชุดประลองที่สร้างขึ้นสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้จริง


This research aimed to developthe automotive air conditioning system based on lighting conditions experiment set, to determine quality and efficiency of a developed experiment set.This work also compared student learning outcome between control group which learned with conventional method and sampling group that learned with developed experiment set.The developed experiment set consist of automotive air condition system simulator and document set includinginformation sheet, work sheet, laboratory sheet, exercise sheet and examination sheet.The research methodology assigned the five levels questionnaire to investigate 10 experts opinion for quality of developed experiment set. The efficiency evaluation performed the experiment with 15 students of sampling group. The quality evaluation results shows that the overall quality was in highest quality level with average score 4.60 (SD = 0.49).The efficiency analysis reveals that the process efficiency (E1) and outcome efficiency (E2) was 82.98% and 80.51%, respectively. The comparison examination score of sampling group and control group shows that the sampling group was the learning outcome higher that the control group with significant level 0.05. Thequality and efficiency of experiment set was higher than the research hypothesis. Therefore, the developed experiment set can effectively use in the classroom.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย