The Impact of Climate Change on Rice Product in the Central Region of Thailand ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อผลผลิตข้าวในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อผลผลิตข้าว ในพื้นที่ภาคกลาง โดยใช้ข้อมูลการผลิตข้าวและสภาพอากาศแบบพาเนลจำนวน 22 จังหวัด จำแนกตามพื้นที่ รับน้ำ และไม่รับน้ำ ตามฤดูเพาะปลูกข้าวนาปี (ปี ค.ศ. 1981–2017) และข้าวนาปรัง (ปี ค.ศ. 1987–2017) และนำผลกระทบที่ได้จากแบบจำลองสภาพภูมิอากาศมาจำลองผลกระทบการผลิตข้าวในอนาคต การศึกษานี้ ทำการวิเคราะห์ความนิ่งของข้อมูล ทดสอบรูปแบบสมการแบบ Fixed และ Random Effects และตรวจสอบปัญหาความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนมีค่าไม่คงที่ และแก้ไขปัญหาด้วยการประมาณค่าแบบกำลังสองน้อยที่สุดแบบทั่วไปที่เป็นไปได้
ผลการศึกษาพบว่า ตัวแปรสภาพอากาศตามฤดูกาลเพาะปลูกส่งผลกระทบเชิงลบต่อผลผลิตข้าว โดยเฉพาะข้าวนาปรังในพื้นที่รับน้ำ พบว่าหากปริมาณน้ำฝนรวมในฤดูกาลเพาะปลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ส่งผลให้โอกาสความสูญเสียผลผลิตข้าวนาปรังเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.17 และหากอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยในฤดูกาลเพาะปลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะเพิ่มโอกาสความสูญเสียผลผลิตข้าวนาปรัง ร้อยละ 28.25 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และจากการจำลองผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อผลผลิตข้าวในอนาคต (ปี ค.ศ. 2030-2090) พบว่า ข้าวนาปรังในพื้นที่รับน้ำภาคกลางได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศมากที่สุดโดยผลผลิตข้าวเฉลี่ยลดลงร้อยละ 3.05 ถึง 11.04 ความแปรปรวนของผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 80.57 ถึง 167.12 ซึ่งจะทำให้เพิ่มโอกาสความสูญเสียผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.43 ถึง 584.67 การศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตข้าวนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการส่งเสริมการเกษตรควรสร้างความตระหนักในผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มุ่งให้ความรู้และนำเสนอข้อมูลข่าวสารด้านการเตือนภัย อย่างรวดเร็ว พร้อมแนวทางการรับมือเพื่อเกษตรกรวางแผนการผลิตได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งดำเนินนโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าวเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มขึ้นในอนาคต
คำสำคัญ: การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผลผลิตข้าว โอกาสความสูญเสีย
ABSTRACT
This study aims to analyze the impact of climate change on the rice production in the central region of Thailand. We used panel data on the rice production and weather for 22 provinces classified by watershed areas and planting season; namely, in-season rice (1981 to 2017) and off-season rice (1987 to 2017). The estimated impact according to the mean of rice production variance and downside risk was applied to simulate the impacts of future rice production. The research tested the stationary of data, fixed and random effects test and solved the problem of heteroskedastic disturbance by using feasible generalized least squares (FGLS).
The study result showed that weather variability during the growing season had a negative impact on rice production, especially off-season rice in watershed areas. If the total rainfall increases by 1%, it will increase the downside risk of rice product by 5.17% and a rise in the average highest-temperature by 1% will increase the downside risk of rice product by 28.25% statistically significantly at a 90% confidence level. By simulating the effects of climate change on rice production in 2030-2090, it found that the off-season rice in watershed areas would be most affected by the climate change. Additionally, the mean of rice production was projected to decrease by 3.05 to 11.04%, the variance of rice production was expected to increase by 80.57 to 167.12% and the skewness of rice production was extrapolated to increase by 49.43 to 584.67% in 2030 – 2090. This study suggests that increasing rice production efficiency requires relevant agencies in agricultural promotion to raise awareness of the impacts of climate change and aim to educate and provide early warning information with coping methods for farmers to plan production appropriately, including implementing policies on rice production technology, development to reduce the effects of increased climate change in the future.
Keywords: Climate Change, Rice Product, Downside Risk