ผลกระทบการเปลี่ยนแปลงนโยบาย และราคาต่อการผลิตอ้อยในพื้นที่ภาคกลางของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนผลตอบแทนการผลิตอ้อยและพืชทางเลือกซึ่ง ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง และวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและราคาต่อการผลิตอ้อย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีและสุพรรณบุรี จำนวน 824 ตัวอย่าง จากนั้นวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทน และประยุกต์ใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์ ที่เป็นจริงในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ปลูก ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนผลตอบแทนจากการผลิตอ้อยมีกำไรมากกว่าพืชทางเลือกอื่น ถ้ามีการบังคับใช้นโยบายกฎระเบียบการขนส่ง และมาตราการอ้อยไฟไหม้จะส่งผลให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตอ้อยสูงขึ้น และส่งผลต่อเนื่องให้พื้นที่ปลูกอ้อยในพื้นที่ลดลงร้อยละ 2.05 และ 0.94 ตามลำดับ ด้านราคาการศึกษาพบว่าราคาอ้อยมีแนวโน้มลดลงร้อยละ 5.4 ในขณะที่พืชทดแทน เช่น มันสำปะหลัง มีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 29 แนวโน้มราคานี้จะส่งผลให้พื้นที่ปลูกอ้อยลดลงร้อยละ 8.21 ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องควรรับมือกับผลผลิตอ้อยที่จะลดลง เช่น พัฒนาระบบขนส่งอ้อยที่มีประสิทธิภาพ พัฒนาเครื่องมือสำหรับตัดอ้อยสด การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับเกษตรกร เป็นต้น
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เอกสารอ้างอิง
กรมพัฒนาที่ดิน. (2560). ข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดกาญจนบุรีและสุพรรณบุรี ปี 2559. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กลุ่มวิชาการและสารสนเทศอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล. (2559). รายงานพื้นที่ปลูกอ้อยปีการผลิต 2558/59 [รายงานประจำปี]. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2560 จาก http://www.ocsb.go.th/upload/OCSBActivity/fileupload/8071-2689.pdf
กลุ่มวิชาการและสารสนเทศอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล. (2560). รายงานพื้นที่ปลูกอ้อยปีการผลิต 2559/60 [รายงานประจำปี]. สำนักนโยบายอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย, สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย.
จักรกฤษณ์ พจนศิลป์ อภิชาต ดะลุณเพธย์ อุชุก ด้วงบุตรศรี สุภาวดี โพธิยะราช จุลมณี ไพฑูรย์เจริญลาภ เกวลิน มะลิ อังศุธร เถื่อนนาดี ชลิต อำนวย สุนทร เหมทานนท์ พรศิริ เสนากัสป์ อรชุรณ์ สารพินิจ ขจร เราประเสริฐ ธนันท์ หาญเกริกไกร รวิสสาข์ สุชาโต ณัฐพล พจนาประเสริฐ และอัจฉรา ปทุมนากูล. (2559). ศักยภาพทางเศรษฐกิจสังคมของการผลิตอ้อยในพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสม. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เสนอสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ธนาภรณ์ อธิปัญญากุล. (2561). ระบบขนส่งอ้อยเข้าโรงงานและผลกระทบจากมาตรการควบคุมการบรรทุกและการขนส่งอ้อยต่อผลผลิตอ้อยและน้ำตาล. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
นภสม สินเพิ่มสุขสกุล. (2562). ทางเลือกเชิงนโยบายเพื่อแก้ปัญหาการเผาอ้อยก่อนการเก็บเกี่ยว. รายงานฉบับสมบูรณ์ สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
บรรลุ พุฒิกร ศานิต เก้าเอี้ยน และเอื้อ สิริจินดา. (2549). เศรษฐศาสตร์การผลิตทางการเกษตร. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประชาชาติธุรกิจ. (2561). ดร.วิโรจน์ ณ ระนอง หาจุดสมดุลลอยตัวน้ำตาล [หนังสือพิมพ์]. 29 มกราคม 2561. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.prachachat.net/facebook-instant-article/news-108657
วิโรจน์ ณ ระนอง. (2556). การศึกษาเพื่อปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทย. กรุงเทพ:สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
วีรพัฒน์ เศรษฐสมบูรณ์ พเยาว์ เกษจันทร์ ชลดา ลาวงศ์เกิด และจริญญา ไพคำนาง. (2551). การลดต้นทุนโลจิสติกส์อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย. รายงานวิจัย เสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย.
ศูนย์วิจัยและพัฒนาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์. (2559). แนวโน้มเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ปี 2560 [รายงาน]. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2560 จาก http://www.pandinthong.com/critic-dwl-th/382991791801
สุวรรณา สายรวมญาติ. (2553). การวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายของรัฐต่อการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ชลประทาน จังหวัดสุพรรณบุรี โดยการประยุกต์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ตามสภาพที่เป็นจริง. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย. (2560). รายงานการผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายฉบับปิดหีบ [รายงาน]. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2560 จาก http://www.ocsb.go.th/th/cms/detail.php?ID=142&SystemModuleKey=production
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2560). ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร [Excel]. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2560 จาก http://www.oae.go.th
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2558). สถิติการเกษตรของประเทศไทย ปี 2558 [รายงานประจำปี]. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2560 จาก http://www.oae.go.th/download/download_journal/2559/yearbook58.pdf
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2559). สถานการณ์สินค้าเกษตรและแนวโน้ม ปี 2559. [รายงานประจำปี]. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2560 จาก http://www.oae.go.th/download/document_tendency/journalofecon2559.pdf
Arbex, M. A., L. C. Martins, R. C. de Oliveira, L. A. A. Pereira, F. F. Arbex, J. E. D. Cancado, P. H. N. Aaldiva & A. L. F. Braga. (2007). Air pollution from biomass burning and asthma hospital admissions in a sugar cane plantation area in Brazil. Journal of Epidemiology and Community Health, 61, 395-400.
Blacke, J. D. & K. E. McNiel. (1978). A comparative study of alcohol concentrations in green and burnt cane and the changes occuring during milling. Mackay: Sugar Research Institute.
Cooper, D. R. & P. S. Schindler. (2006). Business research methods. 9th edition. New York: McGraw-Hill Companies, Inc.
Cortignani, R. & S. Severini. (2009). Modeling farm-level adoption of deficit irrigation using positive mathematical programming. Agricultural Water Management, 96, 1785-1791.
Dabbert, S. (2008). Positive mathematical programming. Handout document for Advance Resource Management course. Germany: University of Hohenheim.
Ellis, S. & A. Mellor. (1995). Soils and the environment. London: Routledge.
Franca, D. d. A., K. M. Longo, T. G. S. Neto, J. C. Santos, S. R. Freitas, B. F. T. Rudorff, E. V. Cortez, E. Anselmo & J. A. C. Jr. (2012). Pre-harvest sugarcane burning: Determination of emission factors through laboratory measurements. Atmosphere, 3, 164-180.
Henseler, M., T. Krimly & A. Wirsig. (2006). An agro-economic production model for a middle european river basin – first results of cap reform scenario calculations. [Conference proceeding]. International Association of Agricultural Economists Conference.
Howitt, R. E. (1995). Positive mathematical programming. Agricultural & Applied Economics Association, 77(2), 329-342.
Mnatzaganian, C. L., K. L. Pellegrin, J. Miyamura, D. Valencia & L. Pang. (2015). Association between sugar cane burning and acute respiratory illness on the island of Maui. Environmental Health, 14(81), 1-8.
Nantajit, C. & C. Potchanasin. (2018). Impacts of a Litchi’s marketing alternative policy on land use change in upstream and downstream agricultural area. Kasetsart Journal of Social Sciences, 39, 660-673.
Payne, J. H. (1989). Cane-the burning question. Fiji Sugar Corporation
Umstaetter, J. (1999). Calibrating regional production models using positive mathematical programming. Aachen: Shaker Verlag.
Wood, R. A. & J. L. Du Tott. (1972). Deterioration losses in whole stalk sugar cane [Conference proceeding]. the South African Sugar Technologists Association.
Woomer, P. L. & M. J. Swift. (1994). The Biological management of tropical soil fertility. Chichester: John Wiley.