ภาษีที่ดินรกร้างและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายใต้ความไม่แน่นอน

Main Article Content

อารยะ ปรีชาเมตตา

บทคัดย่อ

บทความนี้ได้นำเสนอกรอบการวิเคราะห์และนัยเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการใช้ประโยชน์ที่ดินในเชิงพลวัตภายใต้อนาคตที่ไม่แน่นอน และนักพัฒนาที่ดินต้องเผชิญกับต้นทุนที่สูงมากในการปรับเปลี่ยนแก้ไขหากพบในภายหลังว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด ทั้งนี้เป็นเพราะว่า นักพัฒนาที่ดินต้องตัดสินใจหาจุดเวลาที่เหมาะสมในการลงทุนพัฒนาที่ดินไปพร้อมๆ กับการเลือกรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสมภายใต้อนาคตที่ไม่แน่นอน โดยมีต้นทุนในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินที่สูงมากหากตัดสินใจผิดพลาดด้วย นักลงทุนพัฒนาที่ดินจึงมีความจำเป็นจะต้องเก็บที่ดินว่างเปล่าบางส่วนไว้ในช่วงเวลาหนึ่งก่อน ทั้งนี้เพื่อรอให้มีข้อมูลที่เพียงพอในระดับหนึ่งก่อนที่จะทำการตัดสินใจดังกล่าวได้ ดังนั้นการเร่งออกกฎหมายภาษีที่ดินรกร้างโดยอิงกับกรอบความคิดเชิงสถิตที่มองปัญหาแยกเป็นแต่ละจุดเวลาเท่านั้น จะไม่สามารถลดจำนวนที่ดินรกร้างได้อย่างเป็นผลในทางปฏิบัติ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

วิธีการอ้างอิง
ปรีชาเมตตา อ. (2023). ภาษีที่ดินรกร้างและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายใต้ความไม่แน่นอน. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และกลยุทธการจัดการ, 10(1), 1–14. สืบค้น จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/4997
บท
บทความวิจัย (Research Article)
ประวัติผู้แต่ง

อารยะ ปรีชาเมตตา, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศาสตราจารย์

เอกสารอ้างอิง

อารยะ ปรีชาเมตตา. (2549). ราคาที่ดิน การเก็งกำไร และการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้. วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, 24(1), 1-46.

Banzhaf, H.S., & Lavery, N. (2010). Can the Land Tax Help Curb Urban Sprawl? Evidence from Growth Patterns from Pennsylvania. Journal of Urban Economics, 69(1), 169-179.

Bentick, B. L., & Fogue, T.F. (1988). The Impact on Development Timing of Property and Profit Taxation. Land Economics, 64(4), 317-324.

Brodie, M., & Detemple, J. (1997). The Valuation of American Options on Multiple Assets. Mathematical Finance, 7(3), 241-286.

Capozza, D., & Yuming, L. (1994). The Intensity and Timing of Investment: The Case of Land. American Economic Review, 84(4), 889-904.

Ehrlich, M.V., Ehrlicha, C., Hilberb, A. L. & Schönic, L. (2018). Institutional Settings and Urban Sprawl: Evidence from Europe. Journal of Housing Economics, 42, 4-18.

England, W.R., & Ravichandran, M. (2010). Property Taxation and Density of Land Development: A Simple Model with Numerical Simulations. Eastern Economic Journal, 36(2), 229-238.

Salvati, L., Moretto, M., & Vergalli, S. (2019). Land Conversion Pace under Uncertainty and Irreversibility: too fast or too slow? Journal of economics, 110(1), 45-82.

Wang, Q,-W., & J.-J. Shu. (2017). Financial Option Insurance. Risk Management, 19(1), 72-101.