นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนกับปัญหาดุลการค้าในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนและดุลการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้เงื่อนไขมาร์แชลล์-เลอร์เนอร์ สำหรับวิธีการศึกษาประกอบด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยใช้การทดสอบความนิ่งของข้อมูล และการวิเคราะห์สมการถดถอย โดยแบ่งการวิเคราะห์เป็น 2 กรณี คือ ภาพรวมตลาดโลกใช้ข้อมูลรายปีจาก จาก ค.ศ. 1990-2019 ตัวแปรประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของโลก (World GDP) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย อัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์สรอ. มูลค่านำเข้า-ส่งออกของไทย และการศึกษาประเทศคู่ค้า ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น โดยใช้ข้อมูลรายไตรมาส จาก ค.ศ. 1997-2019 จำนวน 86 ไตรมาส ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของไทย จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา มูลค่าการส่งออกของไทยไปประเทศจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา มูลค่าการนำเข้าจากจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา รวมทั้งอัตราแลกเปลี่ยนบาทต่อดอลลาร์ สรอ.
ผลการศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราแลกเปลี่ยนและดุลการค้าระหว่างประเทศ กรณีภาพรวมตลาดโลกอยู่ภายใต้เงื่อนไขมาร์แชลล์-เลอร์เนอร์ นั่นคือผลรวมของความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาของการนำเข้าและส่งออกมีค่า > 1 ส่วนกรณีประเทศคู่ค้านั้นพบว่าอัตราแลกเปลี่ยนไม่ส่งผลต่อความต้องการนำเข้าอย่างมีนัยสำคัญทั้งสามประเทศ เนื่องจากสินค้านำเข้าจากทั้ง 3 ประเทศนี้ส่วนหนึ่งเป็นสินค้าทุนและบางรายการนำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออก การเปลี่ยนแปลงของดุลการค้าขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่อัตราแลกเปลี่ยน นอกจากนี้อัตราแลกเปลี่ยนส่งผลต่อการส่งออกสินค้าของไทยไปประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น แต่กลับไม่ส่งผลต่อการส่งออกสินค้าไทยไปจีนอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อพิจารณาเงื่อนไข มาร์แชลล์-เลอร์เนอร์ พบว่ามีเพียงกรณีของการค้าไทย-ญี่ปุ่น ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขนี้ กล่าวคือ ผลรวมของความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคาของการนำเข้าและส่งออก > 1 เพราะค่าความยืดหยุ่นของอุปสงค์การส่งออกของไทยไปญี่ปุ่นสูงเท่ากับ 1.677 ดังนั้นเงื่อนมาร์แชลล์-เลอร์เนอร์จึงเป็นจริงเพียงบางส่วน
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เอกสารอ้างอิง
ธนาคารแห่งประเทศไทย (2561). ผลกระทบของอัตราแลกเปลี่ยนต่อเศรษฐกิจไทย. รายงานนโยบายการเงิน. มิถุนายน.
ธนาคารแห่งประเทศไทย (2563). 4 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับค่าเงินบาทกับการส่งออก. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/ConsumerInfo/Documents/Infographic_16Mar2019.PDF
พรายพล คุ้มทรัพย์. (2551). เศรษฐศาสตร์การเงินระหว่างประเทศ: ทฤษฎีและนโยบาย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อภิญญา วนเศรษฐ. (2559) หน่วยที่ 7 อัตราแลกเปลี่ยน ตลาดเงินตราต่างประเทศ และระบบการเงินระหว่างประเทศ. เอกสารการสอนชุดวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ หน่วยที่ 1-7 นนทบุรี: สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Caporale, G.M. et al. (2012). Testing the Marshall-Lerner Condition in Kenya. Economics and Finance Working Paper Series, Working Paper No. 12-22.
Dickey, D.A. and Fuller, W.A. (1979). Distribution of The Estimators for Autoregressive Time Series with A Unit Root. Journal of the American Statistical Association, vol.74, 427–431.
Dickey, D.A. and Fuller, W.A. (1981). Likelihood Ratio Statistics for Autoregressive Time Series with A Unit Root. Econometrica, 49, 1057–1072.
Dubravska, M. and Sira, E.(2015). The Analysis of The Factors Influencing The International Trade of The Slovak Republic. Procedia Economics and Finance. 15, 1210-1216.
Iqbal, J. et al. (2015). Testing for Marshall-Lerner Condition: Bilateral Trade between Pakistan and its Major Trading Partners. Forman Journal of Economic Studies, 11, 1-14.
Ogbonna, B.C. (2018). Marshall-Lerner Condition and J Curve Phenomenon: Evidence from Nigeria. Journal of Humanities and Social Science, 23(12), 77-84.
Pandey, R. (2013). Trade Elasticities and the Marshal Lerner Condition for India. Global Journal of Management and Business Studies, 3(4), 423-428.
Phillips, P. and Perron, P. (1988). Testing for a Unit Root in Time Series Regression. Biometrica. 72(2), 335-346.
Reinhart, C. M. (1994). Devaluation, relative prices, and international trade: evidence from developing countries. IMF Staff Papers, 42(2), 290-312.
Rose, A.K. (1991), The role of exchange rates in a popular model of international trade: Does the Marshall-Lerner condition hold? Journal of International Economics, 30, 301-316.