มูลค่าทางเลือกในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ: กรณีป่าชุมชนบ้านน้ำราด อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกของนักท่องเที่ยวต่อความเต็มใจที่จะจ่ายในแบบจำลองการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของป่าชุมชนบ้านน้ำราด จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะการพัฒนาด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ การควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยว ระบบป้ายสื่อความหมายทางธรรมชาติ กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวตามฤดูกาล และค่าธรรมเนียมเข้าใช้บริการ โดยอาศัยข้อมูลการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวจำนวน 400 คน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายในการพัฒนาระบบป้ายสื่อความหมายธรรมชาติบนเส้นทางเดินเท้าและทางพายเรือมากที่สุด 18.95 บาทต่อคนต่อครั้ง นโยบายการพัฒนาแบบบูรณาการทุกคุณลักษณะที่ดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรและควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยวระดับเข้มข้น และการพัฒนากิจกรรมนันทนาการและระบบป้ายสื่อความหมายทางธรรมชาติจะสามารถเพิ่มมูลค่าความเต็มใจที่จะจ่ายค่าธรรมเนียมเข้าใช้บริการได้เพิ่มขึ้นอีก 49.56 บาทต่อคนต่อครั้ง โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความแตกต่างของระดับความเต็มใจที่จะจ่ายในการพัฒนาคุณลักษณะต่างๆ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ความถี่ในการเดินทาง จังหวัดที่พำนัก และกิจกรรมนันทนาการ
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เอกสารอ้างอิง
กรมการปกครอง. (2563). ผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2565 จาก https://multi.dopa.go.th/inspector/news/cate1/view845
กรมป่าไม้. (2563). ความหลากหลายทางชีวภาพกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ป่าย่านยาว ป่าเขาวง และป่ากระซุม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ: ส่วนวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้ สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้.
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2544). ป้ายในอุทยานแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2566 จาก https://www.dnp.go.th/park/Sara/Symbol/s_sign.htm
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2549). โครงการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย จังหวัดเชียงใหม่: รายงานฉบับสุดท้าย. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2564 จาก https://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=16403
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565). ระเบียบคณะกรรมการนโยบายป่าชุมชน ว่าด้วยการรับ การเก็บรักษา และการใช้จ่ายเงินรายได้ของป่าชุมชน พ.ศ. 2565. (2565, 11 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 83ง. (น. 4–10).
ขวัญชัย เจริญกรุง, ววีรณา สมพีร์วงศ์, ณิชา แข่งขัน, โชคชัย เลิศเกียรติวงศ์, ขญานันท์ พลยูง, และอภิวัฒน์ เอื้ออารีเลิศ. (2564). ข้อเสนอโครงการวิจัยฉบับสมบูรณ์: วิจัยและพัฒนาการอนุรักษ์พันธุ์พืชหายากและใกล้สูญพันธุ์ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: กรมป่าไม้.
ชัชวาล เผ่าเพ็ง, พเยาว์ ผ่อนสุข, และสุลัดดา พงษ์อุทธา. (2563). ความพึงพอใจและความเต็มใจจะจ่ายของผู้บริโภคต่อฉลากการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม. พัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์, 14(2), 134–152.
ธรรมนิตย์ สุมันตกุล. (2562). การจัดการทรัพยากรร่วม (Common-Pool Resources - CPRs) กับข้อเสนอของ Elinor Ostrom: การใช้และการดูแลรักษาภายใต้กฎเกณฑ์ร่วมกัน. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2566 จาก https://www.krisdika.go.th/data/activity/act356.pdf
ธวัชชัย คงสุวรรณ์ และวราเมศวร์ วิเชียรแสน. (2563, 15–17 กรกฎาคม). การวิเคราะห์ความหลากหลายของพฤติกรรมการเลือกที่อยู่อาศัย. ใน พัทรพงษ์ อาสนจินดา (บรรณาธิการ), วิศวกรรมโยธากับโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน, การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 (น. 818–826). การประชุมออนไลน์.
ไพริน เวชธัญญะกุล. (2563). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน, 2(1), 50–63.
ศันสนีย์ วงศ์สวัสดิ์, กนกวรรณ แก้วอุไทย, นิศารัตน์ ไทยทอง, มัณฑน์นันท์ ขุนฤทธิ์, และจารีย์ พรหมณะ. (2563). ขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวด้านจิตวิทยาแหล่งท่องเที่ยวป่าต้นน้ำบ้านน้ำราด ตำบลทำเนียบ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 7(2), 219–258.
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุราษฎร์ธานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. (2561). ป่าต้นน้ำบ้านน้ำราด. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2566 จาก https://365surattravel.sru.ac.th/bannamrad/
สุนิดา พิริยะภาดา และอุดมศักดิ์ ศีลประชาวงศ์. (2561). มูลค่าความเต็มใจจะจ่ายของนักท่องเที่ยวเพื่อการจัดการแหล่งท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ: กรณีศึกษาเกาะล้าน จังหวัดชลบุรี. พัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์, 12(2), 80–102.
อภิวัฒน์ เอื้ออารีเลิศ. (2564). การจัดการความหลากหลายทางชีวภาพด้านป่าไม้บนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชนรอบป่าสงวนแห่งชาติ: ป่าต้นน้ำบ้านน้ำราด ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้, กรมป่าไม้.
อรพรรณ ณ บางช้าง-ศรีเสาวลักษณ์. (2556). การประเมินมูลค่าความเสียหายของระบบนิเวศปะการังจากการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ: รายงานฉบับสมบูรณ์. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2566 จากhttps://www.dmcr.go.th/detailLib/2009
อัมภิณี ลาภสมบูรณ์ดี, ศิวลาภ สุขไพบูลย์วัฒน์, และอ้อทิพย์ ราษฎร์นิยม. (2564). ความยินดีที่จะจ่ายเพื่อการประกันการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 8(1), 115–129.
อารยา จันทร์สกุล. (2561). Overtourism ผลกระทบและแนวทางการจัดการเพื่อความยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2565 จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/Southern/ReasearchPaper/Overtourism.pdf
Bartlett J. E., Kotrlik, J. W., & Higgins, C. C. (2001). Organizational research: Determining appropriate sample size in survey research. Information Technology, Learning, and Performance Journal, 19(1), 43–50.
Hanley, N., Wright, R. E., & Adamowicz, V. (1998). Using choice experiments to value the environment: Design issues, current experience and future prospects. Environmental and Resource Economics, 11(3-4), 413–428.
Juutinen, A., Mitani, Y., Mäntymaa, E., Shoji, Y. Siikamaki, P., & Svento, R. (2011). Combining ecological and recreational aspects in national park management: a choice experiment application. Ecological Economics, 70(6), 1231–1239.
Kjær, T. (2005). A review of the discrete choice experiment with emphasis on its application in health care. Health Economics Papers (1).
Lancaster, K. J. (1966). A new approach to consumer theory. Journal of Political Economy, 74(2), 132–157.
León, C. J., de León, J., Araña, J. E., & González, M. M. (2015). Tourists' preferences for congestion, residents' welfare and the ecosystems in a national park. Ecological Economics, 118, 21–29.
Lin, Y.-H., Hong, C.-F., Lee, C.-H., & Chen, C.-C. (2020). Integrating aspects of ecosystem dimensions into sorghum and wheat production areas in Kinmen, Taiwan. Land Use Policy, 99, 104965.
McFadden, D. (1973). Conditional logit analysis of qualitative choice behavior. In P. Zarembka (Ed.), Frontiers in Econometrics (pp. 105–142). New York: Academic Press.
Ross, S., & Wall, G. (1999). Ecotourism: towards congruence between theory and practice. Tourism Management, 20, 123–132.
Sriarkarin, S., & Lee, C. H. (2018). Integrating multiple attributes for sustainable development in a national park. Tourism Management Perspectives, 28, 113–125.
Train K. (1998). Recreation demand models with taste differences over people. Land Economics, 74(2), 1–23.
Train, K. (1999). Halton Sequences for Mixed Logit. Retrieved November 16, 2022 from https://eml.berkeley.edu/wp/train0899.pdf
Vojáček, O., & Pecáková, I. (2010). Comparison of discrete choice models for economic environmental research. Prague Economic Papers, 1, 35–53.
Zeng, T. (2016). Using Halton Sequences in random parameters logit models. Journal of Statistical and Econometric Methods, 5(1), 59–86.