ความเปราะบางในผู้ใช้แรงงาน หลักฐานเชิงประจักษ์จากการสำรวจแรงงาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ศึกษาความเปราะบางเชิงประจักษ์ของชนชั้นแรงงานของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจกำลังแรงงานที่จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ. 2565 ความเปราะบางที่วิเคราะห์ครั้งนี้ประกอบด้วย ก) ประเภทของการได้รับค่าจ้าง เช่น คนงานที่ทำงานรายวันหรือรายสัปดาห์ เนื่องจากการทำประกันสังคมไม่ครอบคลุมในบางส่วน และ ข) การเปลี่ยนแปลงค่าจ้างตลอดชีวิต โดยปกติแล้วแรงงานคาดหวังว่าจะได้รับค่าจ้างสูงขึ้นจากประสบการณ์ที่มากขึ้น ซึ่งหมายถึงช่วงการเรียนรู้หรือความคล่องตัวในการทำงาน วิธีการศึกษาหลักคือการวิเคราะห์เชิงกราฟ และการสร้างการจำลองจากสมการถดถอยสี่สมการ ที่ประยุกต์ตามแนวคิด Mincerian Equation การวิเคราะห์สมการถดถอยครั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้ของแรงงานเปราะบาง และแรงงานไม่เปราะบาง กับ ประสบการณ์การทำงาน และระดับการศึกษา โดยวิเคราะห์จำแนกตามเพศของแรงงาน ผลการศึกษาประกอบไปด้วย 1) ร้อยละ 32.87 ของพนักงานเป็นพนักงานที่ได้รับค่าจ้างรายวันหรือรายสัปดาห์ ส่วนที่เหลือร้อยละ 67.13 ได้รับค่าจ้างรายเดือน และ 2) การเปลี่ยนแปลงค่าจ้างจากประสบการณ์การทำงานในกลุ่มพนักงานที่ได้รับค่าจ้างรายเดือน สูงกว่าการเปลี่ยนแปลงของพนักงานที่ได้รับค่าจ้างรายวันหรือรายสัปดาห์อย่างมาก กล่าวได้ว่าแรงงานที่ได้รับค่าจ้างรายวันจะมีการเพิ่มค่าจ้างน้อยที่สุดตลอดอายุการทำงาน อีกทั้งยังพบว่า ร้อยละ 30.97 ของแรงงานที่ได้รับค่าจ้างรายวันมีรายได้น้อยกว่า 50 บาทต่อชั่วโมง ซึ่งเท่ากับ 400 บาทต่อวัน (หรือ 9,600 บาทต่อเดือน) อาจไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตที่ดี
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เอกสารอ้างอิง
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2563). ผลกระทบของ COVID-19 ที่มีต่อแรงงานกลุ่มเปราะบาง. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม 2566 จาก https://www.eef.or.th/32252-2/
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2566). รายได้เฉลี่ยหลังสำเร็จการศึกษาของเยาวชนไทย ตลอดช่วงชีวิตการทำงานถึงอายุ 60 ปี. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2566 จาก https://www.eef.or.th/infographic-34231/
ธนพร เทียนประเสริฐ. (2560). บทบาทของทุนมนุษย์ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ: การเปรียบเทียบ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 8(1), 27-38.
พรพิมล ทรงกิติพิศาล และชูชีพ พิพัฒน์ศีถี. (2557). ผลของระดับการศึกษาที่มีต่อรายได้ของครัวเรือนไทย. ใน อนามัย ดำเนตร (บ.ก.), รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 11: ตามรอยพระยุคลบาท เกษตรศาสตร์กำแพงแสน (น. 783-90), กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
มณฑลี กปิลกาญจน์ และ วันใหม่ นนท์ฐิติพงศ์. (2564). แรงงานนอกระบบ: ผลกระทบและความท้าทายในยุค COVID-19 [บทความ]. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/articles-and-publications/articles/Article_ 30Mar2021.html
วันวิสาข์ อ่อนชูศรี. (2557). ความต้องการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาในต่างประเทศของนักศึกษาไทย. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
สมบูรณ์ กุลวิเศษชนะ. (2548). เลือกลงทุนใน human capital อย่างไรให้ได้ผล. วารสารบริหารธุรกิจ, 28(108), 10-12.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาแรงงาน/Informal_work_ force/2565/summary_65.pdf
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). กลุ่มครัวเรือนเปราะบาง. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2567 จาก http://nscr.nesdc.go.th/pelcd-glossary/
สำนักนโยบายแรงงานนอกระบบ. (2564). การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ แรงงานสูงอายุและแรงงานคนพิการ ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2567 จาก https://hrm.mol.go.th/wp-content/uploads/sites/3/2021/06/ppt-300664-เปราะบาง.pdf
อุปลัทธิ์ กอวัฒนสกุล. (2565). แรงงานนอกระบบในไทย: ความเหลื่อมล้ำ ค่าแรง และความเสี่ยงในการทำงาน [บทความ]. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.pier.or.th/abridged/2022/02/
เอลวิส โคตรชมภู และจุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2565). การบริหารทุนมนุษย์ในยุคศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(1), 1017-1028.
Becker, G. S. (1962). Investment in Human Capital: A Theoretical Analysis. Journal of Political Economy, 70(5), 9-49.
Becker, G. S. (1995). Human Capital and Poverty Alleviation. Human Resource Development and Operationa Policy. Retrieved October 31, 2023 from https://documents1.worldbank.org /curated/en/121791468764735830/ pdf/multi0page.pdf
Blustein, D. L., Duffy, R., Ferreira, J. A., Cohen-Scali, V., Cinamon, R. G., & Allan, B. A. (2020). Unemployment in the time of COVID-19: A research agenda. J Vocat Behav, 119, 103436.
Centro de Políticas Sociais. (2018). MINCERIAN (Log-linear) INCOME EQUATION. FGV Social. Retrieved October 31, 2023 from https://www.cps.fgv.br/cps/bd/curso/20-MINCERIAN-Log-linear-INCOME-EQUATION.pdf
Folawewo, A., & Orija, O. (2020). Informal–formal workers' transition in Nigeria: A livelihood analysis. WIDER Working Paper 2020/146. Helsinki: UNU-WIDER. https://doi.org/10.35188/UNU-WIDER/2020/903-7
Gruzina, Y., Firsova, I., & Strielkowski, W. (2021). Dynamics of Human Capital Development in Economic Development Cycles. Economies, 9(2), 67.
Heckman, J. J., Lochner, L. J., & Todd, P. E. (2003). Fifty Years of Mincer Earnings Regressions. In IZA Discussion Papers, No. 775. Bonn, Germany: Institute for the Study of Labor (IZA).
International Labour Organization. (2022). ILO Curriculum on Building Modern and Effective Labour Inspection Systems: Module 9 Dealing with vulnerable groups of workers. ILO. Retrieved October 31, 2023 from https://www.ilo.org/ wcmsp5/groups/public/---ed_dialogue/---lab_admin/documents/genericdocument/wcms_856569.pdf
Jiang, H., Mou, H., Zhang, Y., & Huang, Z. (2022). Research on the Relationship Between Years of Education and Urban and Rural Wage Levels Based on Mincer's Wage Equation: Evidence from China. Ic4e '22, 574–578. DOI:10.1145/3514262.3514340
Karam, F., & Zaki, C. (2023). On trade policy and workers’ transition between the formal and informal sectors: An application to the MENA region in the time of COVID-19. Journal of International Trade & Economic Development, 33(4), 1-22.
Lemieux, T. (2003). The “Mincer Equation” thirty years after schooling, experience, earnings. Center for Labor Economics, Unversity of California, Berkeley, Working paper No. 62. Retrieved May 5, 2024 from https://eml.berkeley.edu/~cle/wp/wp62.pdf
Mincer, J. (1962). On-the-Job Training: Costs, Returns, and Some Implications. Journal of Political Economy, 70(5, Part 2), 50-79.
Mincer, J. (1974). Schooling, Experience, and Earnings. Columbia University Press.
Patrinos, H. A. (2016). Estimating the return to schooling using the Mincer equation. IZA World of Labor(278), 1-11.
Pollert, A., & Charlwood, A. (2009). The vulnerable worker in Britain and problems at work. Work, Employment and Society, 23(2), 343-362.
Ramessur, T. S., & Jugessur, N. (2024). An Assessment of the Relevance of the Mincerian Equation: The Case of Mauritius. Social Sciences & Humanities Open, 9, 100810.
Sadeghi, J. M., Shirouyehzad, L., & Samadi, S. (2012). Estimating the impact of education on income with econometrics approach: a case study of universities. International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 2(6), 175-185.
Schultz, T. W. (1961). Investment in Human Capital. American Economic Review, 51(1), 1-17.
SDG Move Team. (2566). Goal 5: gender equality. Retrieved May 5, 2024 from https://www.sdgmove.com/2016/10/06 /goal-5-gender-equality/
Sugiharti, L., Aditina, N., & Esquivias, M. A. (2022). Worker Transition Across Formal and Informal Sectors: A Panel Data Analysis in Indonesia. Asian Economic and Financial Review, 12(11), 923-937.
Tamin, J., Samuel, O., Suraya, A., Ebuenyi, I. D., Naicker, N., & Rajput-Ray, M. (2021). Vulnerable Workers and COVID-19: Insights from a Survey of Members of the International Commission for Occupational Health. Int J Environ Res Public Health, 18(1).