การทดสอบตัวแบบความเข้มแข็งขององค์กรภาคประชาสังคมในการต่อต้านทุจริตกับปัจจัยด้านความสามารถของสื่อในการรายงานข่าวทุจริต Testing Model of Relationship between Anti-Corruption Roles by Civil Society Organization and Media’s Capability to Report on Corruption

Main Article Content

ปัณณ์ อนันอภิบุตร
สุทธิ สุนทรานุรักษ์
พัฒน์ พัฒนรังสรรค์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้องค์กรภาคประชาสังคมมีความเข้มแข็งและสามารถต่อต้านทุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการพัฒนาตัวแบบความเข้มแข็งขององค์กรภาคประชาสังคมในการต่อต้านทุจริต (Model of Anti-Corruption by CSO) ที่อาศัยข้อมูลจากประเทศต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 51 ประเทศ และทำการประมาณค่าแบบจำลองด้วยวิธีการทางเศรษฐมิติเปรียบเทียบกันทั้งหมด 3 แบบจำลอง ได้แก่ (1) แบบจำลองสมการถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression) ที่ประมาณด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด (2) แบบจำลองโลจิต (Logit Model) และ (3) แบบจำลองโทบิต (Tobit Model)


ผลจากการประมาณค่าแบบจำลองทั้งสามวิธีนั้น แสดงให้เห็นว่าปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้องค์กรภาคประชาสังคมเข้มแข็งในการทำหน้าที่ต่อต้านทุจริต คือ ความสามารถของสื่อในการรายงานข่าวทุจริต โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความเข้มแข็งของ CSO ในการต่อต้านทุจริต ที่ระดับนัยสำคัญ 0.10


ดังนั้น การเปิดโอกาสให้สื่อทางเลือกเกิดขึ้น เช่น การรายงานข่าวเจาะ (Investigative Journalism) รวมทั้งใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) ให้เกิดประโยชน์จะช่วยทำให้องค์กรภาคประชาสังคมมีความเข้มแข็งมากขึ้น มีทางเลือกในการบริโภคข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งจะนำไปสู่การดำเนินกิจกรรมต่อต้านทุจริตต่างๆ ต่อไปในอนาคตได้


This research aims to study contributing factors for Civil Society Organization (CSO) to play a robust and efficient role for anti-corruption measures. The researchers develop econometric models of anti-corruption by CSO using data from 51 countries and applies three models as follows: (1) Multiple regression model by OLS (2) Logit model and (3) Tobit model.


The results from these three estimated models indicates that the most important factor in enabling Civil Society Organization (CSO) to be robust with efficient anti-corruption is the media’s capability to report on corruption showing a positive relationship with statistical significance level of 0.10.


As a result, the availability of alternative forms of media such as investigative journalism including the application of social media could support Civil Society Organization to be more robust with various choices for consuming information efficiently which would lead to better anti-corruption activities in the future.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

วิธีการอ้างอิง
อนันอภิบุตร ป., สุนทรานุรักษ์ ส., & พัฒนรังสรรค์ พ. (2018). การทดสอบตัวแบบความเข้มแข็งขององค์กรภาคประชาสังคมในการต่อต้านทุจริตกับปัจจัยด้านความสามารถของสื่อในการรายงานข่าวทุจริต: Testing Model of Relationship between Anti-Corruption Roles by Civil Society Organization and Media’s Capability to Report on Corruption. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์และกลยุทธการจัดการ, 2(1), 11–24. สืบค้น จาก https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/983
บท
บทความวิจัย (Research Article)

Most read articles by the same author(s)