การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลทักษะการบัญชีสืบสวน : มุมมองของผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภาครัฐ|A Confirmatory Skill Forensic Accounting: The Aspect of Auditor Governance.

Authors

  • ปิยาภิศักดิ์ เจียรสุคนธ์ นักวิจัยอิสระ
  • พูลสิน กลิ่นประทุม คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (ศูนย์วาสุกรี)
  • จารุวรรณ เอกสะพัง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

Keywords:

ทักษะการบัญชีสืบสวน ผลการปฏิบัติงานตรวจสอบ ผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบ ภาครัฐ, Skill Forensic, Forensic, Audit Performance

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลทักษะการบัญชีสืบสวน : มุมมองของผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภาครัฐ และจัดทำอันดับความสำคัญขององค์ประกอบเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามจากผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบภาครัฐ จำนวน 376 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิตที่ใช้วิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างผลการวิจัยพบว่า ข้อมูล  มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี โดยโมเดลมีความเที่ยงตรงซึ่งมีค่าสถิติ Chi-Square = 118.196 df. = 95 P-value = 0.054 GFI = .967 RMSEA = .026 โดยมีองค์ประกอบของโมเดลทักษะการบัญชีสืบสวน จำนวน 6 องค์ประกอบ พบว่า น้ำหนักองค์ประกอบทุกองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยเรียงลำดับความสำคัญจากค่าน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปหาน้อย คือ ทักษะเกี่ยวกับกฎหมาย (SLO) ทักษะเกี่ยวกับเอกสารหรือหลักฐาน (SDU) ทักษะเกี่ยวกับทักษะการตรวจสอบ (SAU) ทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) ทักษะเกี่ยวกับแนวคิดการทุจริต (SFU) ทักษะด้านการเจรจาการติดต่อสื่อสาร (SCM) ประโยชน์จากงานวิจัยจะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการนำไปสู่การกำหนด กรอบแนวทางในการต่อต้านการทุจริตทั้งภาครัฐ รวมถึงผลักดันส่งเสริมพัฒนาผู้สอบบัญชีภาครัฐให้มีทักษะในด้านการตรวจสอบสืบสวนด้านการทุจริตในอนาคตต่อไป

This research was aimed to the objectives of this research study were to analyze a confirmatory forensic accounting skill: The aspect of auditor governance and to prioritize the factor. Collect data from 376 auditor government. Questionnaires were used to gather the data. The data was analyzed by a confirmatory factor analysis by Package program for statistical. Using statistical was structural equation model (SEM). The research findings showed highly significant consistency and the empirical data (Chi-Square=118.196 df= 95 P-value = 0.054 GFI = .967 RMSEA= .026, with 6 influential factors; Skill of Low: SLO, Skill of Document: SDU, Skill of Audit: SAU, Skill of Information Technology: SIT, Skill of Fraud: SFU and Skill of Communication: SCM Expected benefits from this research Primary data for regulation definition to Anti-Fraud of governmental and private organizations include push forward permit auditors government auditing skill of fraud in future.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2019-06-30

Issue

Section

บทความวิจัย

Most read articles by the same author(s)