การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชีในประเทศไทย โดยการอภิมานเชิงชาติพันธุ์วรรณนา

SYNTHESIS OF RESEARCH ON ACCOUNTING INFORMATION SYSTEM IN THAILAND BY META-ETHNOGRAPHY

Authors

  • ณัฐพัชร์ อภิวัฒน์ไพศาล

Keywords:

การสังเคราะห์งานวิจัย, ระบบสารสนเทศทางการบัญชี, ชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะงานวิจัย และสังเคราะห์การแปลความหมายบทความวิจัยระบบสารสนเทศทางการบัญชีในประเทศไทยโดยใช้ฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 - 2565 มีบทความวิจัยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจำนวน 41 บทความ ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของบทความวิจัยจำแนกได้ 4 คุณลักษณะ ได้แก่ 1) ด้านรูปแบบบทความวิจัย 2) ด้านเนื้อหาสาระ 3) ด้านวิธีวิทยาการวิจัย และ 4) ด้านคุณภาพงานวิจัย ผลการสังเคราะห์การแปลความหมายงานวิจัยเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชีใน 4 ด้านพบว่า 1) ด้านรูปแบบบทความวิจัย บทความวิจัยแต่ละเรื่องมีผู้ประพันธ์ 1-4 คน มีจำนวนหน้าทั้งหมดโดยเฉลี่ย 15 หน้า จำนวนหน้าเนื้อหาเฉลี่ย 13 หน้า จำนวนหน้าอ้างอิงเฉลี่ย 2 หน้า 2) ด้านเนื้อหาสาระ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ จัดได้ 8 กลุ่ม และ การทบทวนวรรณกรรม จัดได้ 5 กลุ่ม 3) ด้านวิธีวิทยาการวิจัย ประกอบด้วย ประชากร กลุ่มตัวอย่าง การคำนวณ           กลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือการวิจัย การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูล และการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติ และ 4) ด้านคุณภาพงานวิจัย พบว่าผลการประเมินคุณภาพงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์อยู่ในระดับดี ข้อมูลมีการแจกแจงเป็นแบบปกติ ผลการสังเคราะห์งานวิจัยนี้สามารถเป็นแนวทางในการพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชีในประเทศไทยที่มีประโยชน์ต่อการนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติต่อไปในอนาคต

คำสำคัญ: การสังเคราะห์งานวิจัย  ระบบสารสนเทศทางการบัญชี  ชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน

 

Abstract

The purpose of this research was to study the characteristics of research articles and synthesize the interpretation of research articles on accounting information systems in Thailand using the database of the Thai Journal Citation Index Center (TCI) from the years 2012 to 2022. A total of forty-one research articles were selected. The results indicated that the characteristics of research articles can be classified into four categories: 1) research article format, 2) content, 3) research methodology, and 4) research quality. The synthesis of the interpretation of research on accounting information systems yielded the following findings in each aspect: 1) Research article format aspect: Each research article has 1-4 authors, with an average total page count of 15 pages, an average content page count of 13 pages, and an average reference page count of 2 pages. 2) Content aspect: The objective was organized into 8 groups, and the literature review was organized into 5 groups. 3) The research methodology which included population, sample, sample calculation, sampling method, research instruments, validation of the research instrument, data analysis, and statistical significance testing. 4) Research quality: The results showed that the quality assessment of the synthesized research was at a good level. The data followed a normal distribution. The findings of this study synthesis can be used as a guideline for future research on accounting information systems in Thailand. It gives useful knowledge that may be utilized in future activities.

Keywords: research synthesis, accounting information system, meta ethnography

Downloads

Download data is not yet available.

References

กุลฑีรา จันทนา, ต้องใจ แย้มผกา, และ รุจิรา จุลภักดิ์. (2564). ผลกระทบของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคตะวันออก. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(9), 95-108.

ขจิต ณ กาฬสินธุ์ และ พันคม ศรีบุญลือ. (2561). ผลกระทบของประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายเคลื่อนที่ต่อคุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชี. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(4), 38-49.

จารุณี อภิวัฒน์ไพศาล. (2554). การสุ่มตัวอย่างในงานวิจัยทางบัญชี. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์. 5(5), 1-12.

จิรัชญา ศีลสัตยาวงศ์, ชฎาพร ฑีฆาอุตมากร, และ ประยงค์ มีใจซื่อ. (2563). ผลกระทบของคุณภาพข้อมูลบัญชีบริหารและสารสนเทศทางการบัญชีบริหารต่อการดำเนินงานของโรงแรมในพื้นที่เขตชะอำและหัวหิน. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 10(2), 464-474.

ฉัตรวุฒิ อิ่มชมชื่น. (2563). การสังเคราะห์งานวิจัยระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาทางการบริหารจัดการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(1), 153-166.

ชนิดาพร บุนนาค และ สุรีย์ โบษกรนัฏ. (2563). ผลกระทบของวัฒนธรรมองค์กรที่มีต่อประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(4), 381-394.

ชัยฤกษ์ พุฒิวิญญู, เนตรดาว ชัยเขต และ โชคนิติ แสงลออ. (2561). คุณภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจ. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(2), 23-40.

ชลิต ผลอินทร์หอม และ ไกรวิทย์ หลีกภัย. (2565). รูปแบบการพัฒนาทักษะด้านอาชีพและทักษะด้านสารสนเทศทางการบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล 4.0 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(5), 2172-2185.

ชัยมงคล ผลแก้ว. (2560). การใช้สารสนเทศทางการบัญชีในการพัฒนาความได้เปรียบทางการแข่งขันของ SMEs กรณีศึกษาธุรกิจสิ่งทอและแฟชั่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 4(1), 31-46.

ชลิต ผลอินทร์หอม และ ไกรวิทย์ หลีกภัย. (2564). โมเดลการพัฒนาทักษะด้านอาชีพและทักษะด้านสารสนเทศทางการบัญชีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล 4.0 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(1), 585-597.

ชาญสิทธิ์ คำพุฒ ศานิตย์ ศรีคุณ และ สิริกร บำรุงกิจ. (2564). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาในประเทศไทย. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 12(1), 188-204.

ณัชริกาญจน์ เธียรวรนันท์ และ ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี กรณีศึกษาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 17(3), 42-59.

ณัฐพัชร์ อภิวัฒน์ไพศาล. (2562). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐธยาน์ อธิรัฐจิรชัย, พัชราภรณ์ ใจบุญมา, และ นิตญา ก่อมขุนทด. (2562). ความสัมพันธ์ของคุณภาพ สารสนเทศทางบัญชีกับประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนอาหารและเครื่องดื่มของโรงแรมในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(2), 30-48.

ณัชชารีย์ กุลพิชัยจิราวุฒิ, สุภัทรษร ทวีจันทร์, สหัสา พลนิล และปิยฉัตร ทองแพ. (2561). การประยุกต์ใช้ข้อมูลสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสังกัดสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences, 2(2), 60-70.

ทิพย์สุดา ทาสีดำ. (2565). ผลกระทบของความน่าเชื่อถือของสารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพ รายงานทางการเงินของสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มนุษยสังคมสาร (มสส.), 20(2), 179-200.

ธารินี เณรวงค์ และ วรกร แช่มเมืองปัก. (2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระดับการควบคุมภายในระบบสารสนเทศทางการบัญชีภายใต้การบริหารงานการเงินการคลังภาครัฐของหน่วยงานสนับสนุนภารกิจฝ่ายการเมือง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(3), 161-174.

ธัญกานต์ คชฤทธิ์ และ กุสุมา ดำพิทักษ์. (2563). การยอมรับระบบคลาวด์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีภาคธุรกิจ สำหรับผู้ทำบัญชี. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 13-22.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542) การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพมหานคร: นิชินแอดเวอร์ไทซิ่งกรุ๊ฟ.

นงลักษณ์ วิรัชชัย (ผู้บรรยาย). (18-21มีนาคม 2557). การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยเทคนิค Meta-Analysis และMeta-Ethnography (1). ใน หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยเทคนิค Meta-Analysis และ Meta-Ethnography. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เนตรนภา รักษายศ และ วิชิต อู่อ้น. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อคุณภาพของสารสนเทศทางบัญชีและประสิทธิภาพองค์กร: กรณีศึกษาเชิงประจักษ์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ, 6(1), 71-94.

ปุณยทรรศน์ คงแก้ว, พัชรี พระสงฆ์, อรัญญา จินาชาญ, และอารยา แก้วคง. (2565). ประสิทธิภาพระบบสารสนเทศทางการบัญชีและคุณลักษณะองค์กรธุรกิจที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริหารธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เขตภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(4), 124-137.

ปรีย์ธนิสร์ ประจักรจิตร์ และ สุรีย์ โบษกรนัฏ. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 10(2), 646-657.

พลพธู ปียวรรณ และ กัญนิภัทธิ์ นิธิโรจน์ธนัท. (2559). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด.

ไพสรณ์ สูงสมบัติ. (2564). คุณภาพของข้อมูลและความรู้ความเข้าใจสารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจของผู้บริหารในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(3), 86-97.

ภณิตา สุนทรไชย, รทวรรณ อภิโชติธนกุล, ภานุทัต สวัสดิ์ถาวร และสุรศักดิ์ วงษ์เปรียว. (2564). การส่งเสริมประสิทธิภาพการรายงานทางการเงินฟาร์มโคนมด้วยระบบสารสนเทศทางการบัญชี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(4), 1-19.

ภาวิณี แสนชนม์ และ น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2561). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการจัดการสารสนเทศ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7(1), 23-42.

เยาวนุช รักสงฆ์. (2562). ผลกระทบของประสิทธิภาพระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(2), 200-213.

รัญชิดา สังขดวง. (2556). ศึกษาการจัดทำบัญชีและการใช้สารสนเทศทางการบัญชีของสถานประกอบการนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดในจังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 57-72.

รุ่งทิวา ทาปาลี และ สุวรรณา เลาหะวิสุทธิ์. (2561). การพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการบริหารของโรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(2), 115-128.

รัชนี แสงศิริ และ ดุสิต ศรีสร้อย. (2555). รูปแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชีของธนาคารสัจจะออมทรัพย์บ้านศรีไคออก จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 79-98.

รัตนะ บัวสนธ์. (2550). ทิศทางและอาณาบริเวณการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฤติมา มุ่งหมาย และ วรนุช กุอุทา. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการบริหารจัดการและสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากเนื้อสัตว์จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(1), 43-55.

วิชชา พริ้งพัฒนพงษ์, พุฒิธร จิรายุส และ ฉัตรพล มณีกูล. (2565). การควบคุมภายในด้านระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีผลต่อคุณภาพข้อมูลทางการบัญชี: กรณีศึกษาการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 (ภาคกลาง) นครปฐม. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(4), 185-196.

ศรัณย์ ชูเกียรติ. (2557). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส.

สหเทพ ค่ำสุริยา, ปิยะ แก้วบัวดี และ ชุติกร ปรุงเกียรติ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีของหน่วยงานภาคเอกชนในจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(3), 76-87.

สายฝน อุไร, ผกามาศ บุตรสาลี และ ทิพย์สุดา ทาสีดำ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศทางการบัญชีกับประสิทธิภาพในการดำเนินงานของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 10(2), 39-55.

สาวิตรี พรหมรักษา และ ดารณี เอื้อชนะจิต. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชีและประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 14(2), 35-49.

สาวิตรี พรหมรักษา และ ดารณี เอื้อชนะจิต. (2564). อิทธิพลของกระบวนการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อคุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชีและประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 27(4), 155-169.

สุกัญญา คลังทอง, สุพิน ฉายศิริไพบูลย์ และอัจฉราพร โชติพฤกษ์. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านคุณภาพข้อมูลทางการบัญชี คุณภาพระบบสารสนเทศทางการบัญชี คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ การรับรู้คุณค่าของบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ และความพึงพอใจของผู้ใช้บัญชีอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 100-116.

สุชาย สิริภัทรกุลธร, ศักดิ์ชัย นิรัญทวี, อัจฉรา วัฒนาณรงค์ และชฎาพร ฑีฆาอุตมากร. (2564). การพัฒนารูปแบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการบริหารสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(7), 287-305.

โสภาพรรณ ไชยพัฒน์. (2559). การใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีของผู้บริหารธุรกิจโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(2), 56-65.

อนุชา พุฒิกูลสาคร และปาลวี พุฒิกูลสาคร. (2564). ผลกระทบของระบบสารสนเทศทางการบัญชีเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อผลการดำเนินงานเชิงดุลยภาพ: การตรวจสอบเชิงประจักษ์ธุรกิจโรงแรมระดับสี่และห้าดาวในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(4), 148-164.

อรรถพล ตริตานนท์. (2546). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด.

อุทุมพร จามรมาน. (2531). การสังเคราะห์งานวิจัย: เชิงปริมาณ. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดฟันนี่พับลิชชิ่ง.

อุเทน เลานำทา และ ฐิฏิกานต์ สุริยะสาร. (2562). ประสิทธิผลการควบคุมของระบบสารสนเทศทางการบัญชีและความได้เปรียบด้านข้อมูลทางการบัญชี: หลักฐานเชิงประจักษ์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 13(1), 105-120.

อภิญญา คงวิริยะกุล, ไพลิน นิลนิยม และศุทธินี ปราชญ์ศรีภูมิ. (2561). ผลกระทบของประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อการปฏิบัติงานที่ดีทางการบัญชีของธุรกิจเคมีภัณฑ์ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(4), 1-11.

อรอนงค์ จำปาแก้ว, อุเทน เลานำทา และ กิตติพล วิแสง. (2563). ผลกระทบของความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 87-99.

อุเทน เลานำทา. (2562). ผลกระทบของการเปิดเผยสารสนเทศทางการบัญชีออนไลน์ที่มีต่อภาพลักษณ์องค์กรของธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 8(1), 130-153.

อัจฉราภรณ์ ทวะชารี, ขจิต ณ กาฬสินธุ์, และนงลักษณ์ แสงมหาชัย. (2561). ผลกระทบของสมรรถนะของระบบสารสนเทศทางการบัญชีสมัยใหม่ที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 267-278.

Cooper, H. & Lindsay, J. J. (1997). Research Synthesis and Meta-analysis: Handbook of Applied Social Research Methods. California: Sage Publication.

Glass, G. V. (1982). Meta-Analysis: an approach to synthesis of research results. Journal of Research in Science Teaching, 19(2), 93-112.

Lohapan, N., Phornlaphatrachakorn, K. & Raksong, S. (2018). Accounting Information System Quality and Business Goal Achievement: An Empirical Evidence from Auto Parts SMEs in Thailand.
Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 11(4), 538-560.

Noblit, G. W. & Hare, R. D. (1988). Meta-Ethnography: Synthesizing Qualitative Studies. Newbury Park: Sage Publications.

Sarun Chookhiatti. (2014). Accounting Information System (1st ed.). Bangkok: TPN PRESS Limited Partnership.

St. Pirre, G. R. (1982). Follow through: A case Study in Meta Evaluation Research. Educational Evaluation and Policy Analysis, 4(1), 47-55.

Wangcharoendate, S. (2019). Creativity of The Modern Accounting Information System and Business Goal Achievement: An Empirical Evidence from Auto Parts Small and Medium Enterprise in Thailand. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 13(3), 9-19.

Downloads

Published

2023-06-30

Issue

Section

บทความวิจัย

Most read articles by the same author(s)