เดิน-วิ่งเสมือนจริงเพื่อสุขภาพ “นนทรีอีสานเวอร์ชวลรัน ซีซั่น1”: การประเมินโครงการสู่การเป็นแนวทางการพัฒนากิจกรรมต้นแบบ ด้านการส่งเสริมสุขภาพในมหาวิทยาลัยโดยใช้ฐานข้อมูลชุมชน

ผู้แต่ง

  • อรนภา ทัศนัยนา คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ภุชงค์ รุ่งอินทร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ฤกษ์ชัย แย้มวงษ์ กองบริหารวิชาการและนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การประเมินโครงการ, ฐานข้อมูลชุมชน, เดินวิ่งเสมือนจริง, ส่งเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินโครงการและวิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการกิจกรรมเดิน-วิ่งเสมือนจริงเพื่อสุขภาพ “นนทรีอีสานเวอร์ชวลรัน ซีซั่น1” โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลผู้เข้าร่วมจำนวน 365 คน วิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพจากวิธีการสนทนากลุ่มคณะกรรมการดำเนินงาน 7 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21-25 ปี ความถี่ของการเดิน-วิ่งประมาณ 1-2 วันต่อสัปดาห์ ระยะทาง 5-9 กิโลเมตรต่อครั้ง ผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมาก ทั้งด้านบุคลากรดำเนินงาน ด้านขั้นตอนการดำเนินงาน และด้านการส่งเสริมสุขภาพ สำหรับผลการวิเคราะห์รูปแบบการบริหารจัดการกิจกรรมเดิน-วิ่งเสมือนจริงเพื่อสุขภาพโดยใช้ฐานข้อมูลชุมชนพบว่า 1) การใช้ฐานข้อมูลชุมชนมาพัฒนากิจกรรมทำให้ได้รูปแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เข้าร่วม สร้างความสนุกสนาน และชักชวนคนในกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรม ขยายการออกกำลังกายในชุมชนเป็นวงกว้าง 2) การนำข้อมูลบันทึกการสะสมการออกกำลังกาย มาให้คำแนะนำวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลผ่านไลน์แอปพลิเคชันจะช่วยส่งเสริมการออกกำลังกายที่ปลอดภัยและกระตุ้นให้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 3) การจัดกิจกรรมร่วมกับภาคีเครือข่ายระหว่างชุมชนจะช่วยให้เข้าใจปัญหาและอุปสรรคและมีทางเลือกในการพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสม

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

เอกสารอ้างอิง

กลยุทธ จิตต์รุ่งเรือง. (2559). การเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.acn.ac.th/articles/mod/forum/discuss.php?d=236.

กรมพลศึกษา. (2555). คู่มือผู้ตัดสินกีฬาฟุตซอล. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

กองบริหารวิชาการและนิสิต. (2563). โครงการนนทรีอีสานเวอร์ชั่วรันซีซั่น 1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร.

จีราภรณ์ กรรมบุตร และ ศิริพร ขัมภลิขิต. (2557). การจัดการสุขภาพประชากรกลุ่มเด็กแบบมีส่วนร่วมโดยใช้โรงเรียนป็นฐาน: ผลลัพธ์เบื้องต้นด้านการออกกำลังกายและกิจกรรมทางกายของเด็กกลุ่มวัยรุ่น. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(1), 64-72.

รสิกา จันทร์โชติเสถียร. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมงานวิ่งมาราธอน Run For Life ของประชากร ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. (การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

อุทัยทิพย์ เจี่ยวิวรรธน์กุล. (2553). การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม: แนวคิด หลักการ และบทเรียน. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.

Aimsitthipan, C., & Pookaiyaudom, G. (2021). Marketing mix affecting on the decision making to participate in the triathlon race. Journal of Sports Science and Health, 22(2), 253-266.

Boonprasert, U. (2000). The study of school-based management model for schools’ administration and management. Bangkok: Office of National Education Commission.

Koch, T., Selim, P., & Kralik, D. (2002). Enhancing lives through the development of a community-based participatory action research program. Journal of Clinical Nursing, 11(1), 109-117.

Rakpuang, S. (2019). A study of social network of marathoners. Journal of Social Development, 21(1), 95-114.

Taweephol, R. (2021). The elements of managing sport event that affecting to runners’ perception in university: A case study of Silpakorn Cha-am Mini Half Marathon 2020. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 16(55), 36-47.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##