การพัฒนาสินค้าที่ระลึกผ้าทอมือย้อมครามเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวในเขตเทศบาลนครสกลนคร|THE DEVELOPMENT OF INDIGO-DYED HAND-WOVEN COTTON SOUVENIR PRODUCTS FOR VALUE ADDED TOURISM ECONOMY IN SAKON NAKHON MUNICIPALITY

ผู้แต่ง

  • พิมพ์อมร นิยมค้า

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการซื้อสินค้าของที่ระลึก, ส่วนประสมทางการตลาด, ผ้าย้อมสีครามธรรมชาติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้า และความพึงพอใจเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดของนักท่องเที่ยวในการซื้อสินค้าที่ระลึกผ้าทอมือย้อมครามในเขตเทศบาลนครสกลนคร เก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจังหวัดสกลนคร จำนวน 400 คน โดยการแจกแบบสอบถาม และสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวซื้อสินค้าเพื่อเป็นของฝากจากร้านค้าประเภท OTOP รู้จักสินค้าที่ระลึกผ้าทอมือย้อมครามจากเพื่อนและญาติ รูปแบบสินค้าของที่ระลึกที่สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวมากที่สุดคือ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว นักท่องเที่ยวมีความต้องการสินค้าประเภทผ้าทอมือย้อมครามธรรมชาติมากเป็นอันดับแรก ด้านความพึงพอใจเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่านักท่องเที่ยวให้ความสำคัญ ดังนี้ 1) ด้านผลิตภัณฑ์ ให้ความสำคัญการออกแบบที่ทันสมัย 2) ด้านราคา ต้องมีความเหมาะสมกับคุณภาพของสินค้าและมุ่งเน้นกลยุทธ์การลดราคา 3) ด้านการส่งเสริมการตลาด พึงพอใจด้านการได้รับส่วนลดมีการให้ของสมนาคุณของแถม 4) ด้านกระบวนการให้บริการ พึงพอใจในระบบการบริการที่มีความทันสมัย 5) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีความคิดเห็นว่าร้านที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองส่งผลให้เกิดการรับรู้และภาพลักษณ์ที่ดีของตราสินค้า 6) ด้านบุคคล พึงพอใจกับพนักงานขายที่มีความสุภาพอ่อนน้อม กระตือรือร้นที่จะให้บริการ และ 7) ด้านลักษณะทางกายภาพ ให้ความสำคัญในด้านการตกแต่งร้านสะอาด สวยงาม เป็นระเบียบ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28