สมรรถนะครูพลศึกษา

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ ประมาน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ธีรนันท์ ตันพานิชย์ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ครูพลศึกษา, สมรรถนะ

บทคัดย่อ

จากการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันส่งผลให้การดำเนินชีวิต ในทุกๆ ด้านต้องมีการปรับตัว การศึกษาก็เช่นกัน ดังนั้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของวงการการศึกษา ครูผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษาให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ครูผู้สอนจึงต้องมีการปรับตัวและพัฒนาให้ตนเองมีสมรรถนะสูงขึ้นตามสภาวะการณ์และการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบัน สมรรถนะเป็นคุณลักษณะที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ เจตคติ และพฤติกรรมอื่นๆ เป็นสิ่งที่เพิ่มความสามารถในการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพ และประสบความสำเร็จได้ตามมาตรฐานที่กำหนดหรือสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ สำหรับสมรรถนะครูพลศึกษา เป็นคุณลักษณะเฉพาะที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ ความสามารถ ทัศนคติ อุปนิสัย แรงจูงใจของครูพลศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ประกอบด้วยสมรรถนะ 7 ด้าน ได้แก่ 1) สมรรถนะด้านตนเองและวิชาชีพ 2) สมรรถนะด้านการพัฒนาหลักสูตร 3) สมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ 4) สมรรถนะด้านการพัฒนาผู้เรียน 5) สมรรถนะด้านนวัตกรรมและการวิจัย 6) สมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และ7) สมรรถนะด้านการสื่อสาร

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

เอกสารอ้างอิง

เจริญ ภูวิจิตร. (2560). การพัฒนาครูเพื่อคุณภาพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2564, จาก http://www.nidtep.go.th/webnidtep2015/files/170560_Teachers%20 Development21

ชูชาติ มงคลเมฆ. (2561). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. (ดุษฎีนิพนธ์). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา, กรุงเทพฯ.

นัฎชฎารัตน์ ณ นคร. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามัน. (ดุษฎีนิพนธ์). สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, ปทุมธานี.

พงศธร ไพจิตร. (2561). การพัฒนาหลักสูตรเตรียมความพร้อมก่อนฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูสาขาวิชาพลศึกษา. (ดุษฎีนิพนธ์). สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

มานิตย์ นาคเมือง. (2551). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานของครูผู้สอนในสถานศึกษา การศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ดุษฎีนิพนธ์). สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

รัชนี ขวัญบุญจันทร์. (2536). สมรรถนะที่พึงประสงค์ของครูพลศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา. (ดุษฎีนิพนธ์). ภาควิชาพลศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อริสา นพคุณ, บรรจบ บุญจันทร์, และสุวิมล ตั้งประเสริฐ. (2561). การพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย, 12(3), 232- 244.

วรศักดิ์ เพียรชอบ. (2561). รวมบทความเกี่ยวกับ ปรัชญา หลักการ วิธีสอนและการวัดเพื่อประเมินผลทางการพลศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แสวง วิทยพิทักษ์. (2547). สมรรถภาพที่พึงประสงค์ของครูพลศึกษาในยุคปฎิรูปการศึกษาไทย. (ดุษฎีนิพนธ์). สาขาวิชาพลศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สมเกียรติ กาทองทุ่ง. (2556). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์พลศึกษา ในสถาบันการพลศึกษาเพื่อขับเคลื่อนสู่ประชาคมอาเซียน. (ดุษฎีนิพนธ์). สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). บทวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาครูทั้งระบบและข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อนุชิต แท้สูงเนิน. (2554). สมรรถนะที่พึงประสงค์ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาในช่วง พ.ศ. 2554-2564. (ดุษฎีนิพนธ์). สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อริสา นพคุณ. (2560). การพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. (ดุษฎีนิพนธ์), สาขาวิชาบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.

อัสรี สะอีดี. (2561). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 21 โดยประยุกต์ใช้การอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ร่วมกับการสอนแบบเสริมศักยภาพ. (ดุษฎีนิพนธ์), สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

อวยชัย สุขณะล้ำ. (2559).รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะครูตามแนวคิดกระบวนการชี้แนะ (coaching)เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. (ดุษฎีนิพนธ์), สาขาวิชานวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

McClelland, D.C. (1973). A competency model for human resource management specialists to be used in the delivery of the human resource management cycle. Boston: Mcber.

Spencer, L.M. and Spencer, S.M. (1993). Competence at work: Model for superior performance. Wiley, New York.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##