การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน ประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนและ ผลตอบแทนผลิตภัณฑ์พริกแกงในกิจการขนาดเล็ก

ผู้แต่ง

  • ณัฐพัชร์ อภิวัฒน์ไพศาล วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การศึกษาความเป็นไปได้, การบริหารต้นทุน, ผลตอบแทน, พริกแกง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนผลิตพริกแกง ศึกษาการบริหารต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตพริกแกงในกิจการขนาดเล็ก ผู้ให้ข้อมูลหลักคัดเลือกด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนโดยใช้เทคนิคการตัดสินใจจ่ายลงทุน (Capital Budgeting Techniques) ได้แก่ ระยะเวลาคืนทุน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนที่ได้รับจากโครงการ และวิเคราะห์ประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนและผลตอบแทนจากอัตรากำไรขั้นต้น ผลการวิจัยพบว่าการผลิตพริกแกงใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 90,000 บาท ระยะเวลาคืนทุน 3.28 ปี เมื่อครบระยะเวลา 5 ปี กระแสเงินสดสุทธิเท่ากับ 63,330 บาท มูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 35,513.15 บาท อัตราผลตอบแทนภายใน 18.87% ต้นทุนการผลิตประกอบด้วย วัตถุดิบทางตรง คิดเป็นร้อยละ 73.77 ค่าแรงงานทางตรง คิดเป็นร้อยละ 24.59 และค่าใช้จ่ายการผลิต คิดเป็นร้อยละ 1.64 อัตรากำไรขั้นต้นร้อยละ 23.75 เป็นโครงการที่มีความเป็นไปได้  ในการลงทุน การบริหารต้นทุนมีประสิทธิภาพ ผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุน ดังนั้นควรตัดสินใจลงทุนผลิตพริกแกงเนื่องจากมีความคุ้มค่าในการลงทุน

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

เอกสารอ้างอิง

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2562). ความนิยมเครื่องปรุงรสและอาหารรสชาติเผ็ดในประเทศจีน. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565, จาก https://ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php? filename=contents_attach/502406/502406.pdf&title=502406&cate=592&d=0

กรรณิการ์ ใจมา, พิมทิพย์ ฟูทะนันชัย, จักร์กิจ เฉพาะธรรม, นภัส พรมชัย, รุ่งฤดี ทองอิน และสุวรรณ จันทร์อินทร์. (2561). ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกและการแปรรูปเมล็ดกาแฟสายพันธุ์อาราบิก้า กรณีศึกษา กาแฟตั๋วกะหมี ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม, 2(2), 69-78.

กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว, ประชุม คำพุฒ, กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ, ลภัสรดา พิชญาธีรนาถ. (2564). การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและงบจ่ายลงทุนผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ขยะพลาสติก: กรณีศึกษา บล็อกปูพื้นจากขยะพลาสติก. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 8(1), 142-153.

ฐานข้อมูลส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้า OTOP. (2565). ความหมายพริกแกง. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565, จาก http://otop.dss.go.th/index.php/en/knowledge/ informationrepack/277-curry-paste?showall=&start=1

ดาวเด่น สัญญโภชน์, มณีจันทร์ มาสูตร, และธิดารัตน์ วุฒิศรีเสถียรกุล. (2565). ประสิทธิภาพการบริหารต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตจิ้งหรีดแบบกล่องสมาร์ทบอร์ดของกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงจิ้งหรีดตำบลหนองพระ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 103-112.

เตชธรรม สังข์คร. (2560). ห่วงโซ่อุปทานเครื่องแกงของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. RMUTT Global Business and Economics Review, 12(1): 75-87.

เทคโนโลยีชาวบ้าน. (2565). พริกแกงเผ็ดบ้านหนองเดิ่น ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย ประสานใจ สู้ภัยเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.technologychaoban.com/ thai-local-wisdom/article_81591

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. (2565). อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายคน (เกษตรกรและบุคคล). สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2565, จาก https://www.baac.or.th/th/ contentrate.php?content_group=9&content_group_sub=2&inside=1

นวพร บุศยสุนทร, ประจิต หาวัตร, ศรัณย์ ชูเกียรติ, วิศรุต ศรีบุญนาค, และวศธร ชุติภิญโญ. (2555). การบัญชีบริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.

เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ. (2555). การบัญชีต้นทุน 1. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3438 พ.ศ. 2548 เรื่องกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำพริกแกงและเครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส. (2549). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 123 ตอนที่ 12 ง. หน้า 26.

พรรณนิภา รอดวรรณะ. (2556). การบัญชีต้นทุน หลักและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: บริษัทวี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.

พรรณุภา ธุวนิมิตรกุล. (2563). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัชนี โตอาจ. (2558). การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2565, จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom14/02-03-01.html

รุ่งโรจน์ ฝ้ายเยื่อ และศิริรักษ์ สันทิตย์. (2563). การมีส่วนร่วมของกลุ่มแม่บ้านในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์น้ำพริก ชุมชนบ้านไผ่ขอดอน ตำบลไผ่ขอดอน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(1), 101-116.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2562). พลิกชีวิตชุมชน ด้วยพริกแกงหลังบ้าน. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2565, จาก https://web.codi.or.th/20190829-7983/

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2552). การบัญชีบริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2557). การบัญชีต้นทุน (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. (2556). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช. 129/2556 น้ำพริกแกง. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2565, จาก https://tcps.tisi.go.th/ pub/tcps0129_56.pdf

สุภางค์ จันทรวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนุธิดา คงสนุ่น. (2562). การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินในการผลิตพริกแกงสำเร็จรูปตราพริกแกงบ้านโพเพื่อจำหน่ายในร้านค้าขายของฝาก (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อภิญญา วนเศรษฐ. (2558). เครื่องมือในการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2565, จาก https://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/ Lom14/home.html

อรุณี นุสิทธิ์, รัตนา สิทธิอ่วม, ทิพวรรณ อินทวงศ์, นิภาพร โพธิ์เงิน และวราภรณ์ แสงนาค. (2562). การวิเคราะห์ต้นทุนและโครงสร้างต้นทุนการแปรรูปมะขามของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มมะขามแปรรูปไร่บุญคง ตำบลวังชมพู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 1(2), 31-40.

อุษณีย์ เส็งพานิช, จันทิมา โกดี และธัญญาภรณ์ จันทร์อินทร์. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์: กรณีศึกษาเสมียนฟาร์มโคนม ตำบลหนองจิก อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 2(1), 79-88.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##