การเปรียบเทียบดัชนีมวลกายและเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของประชากร วัยทำงานในอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
ดัชนีมวลกาย, เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย , คนวัยทำงาน , กิจกรรมการออกกำลังกายบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบค่าดัชนีมวลกายและเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายของประชากรวัยทำงานในอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร อายุระหว่าง 20-59 ปี จำนวน 912 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจด้วยเครื่องวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบ t-test ผลการวิจัยพบว่า เพศหญิงและเพศชายมีดัชนีมวลกายเฉลี่ย 24.00 (± 4.81) และค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายเฉลี่ย 27.30 (± 4.81) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างเพศชายและเพศหญิง พบว่าไม่มีความแตกต่างของค่าดัชนีมวลกายที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 แต่อย่างไรก็ตามพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของเปอร์เซ็นต์ไขมันที่ระดับ 0.05 โดยค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายเพศชายเท่ากับ 21.69 (± 4.45) ในขณะที่เพศหญิงมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 23.75 (± 5.12) เมื่อเทียบค่าเฉลี่ยรวมดัชนีมวลกายและเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายกับเกณฑ์ปกติของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์เริ่มอ้วนระดับที่ 1 และค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกายอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีไขมันสะสมระดับที่ 1 โดยเฉพาะช่วงอายุ 45-59 ปี การศึกษานี้ให้ข้อมูลที่สำคัญต่อการพัฒนาวิธีการออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพมุ่งเน้นการควบคุมน้ำหนักโดยใช้วิธีการแบบแอโรบิกตามคำแนะนำของหลักการ FITT และการฝึกความต้านทานที่ปรับให้เหมาะกับสภาวะสุขภาพ เพศ และอายุแต่ละบุคคล เป้าหมายสูงสุดคือการวางแผนกิจกรรมการออกกำลังกายที่ส่งเสริมการควบคุมน้ำหนักและปรับปรุงสุขภาพโดยรวมของประชากรวัยทำงานในเขตนี้โดยเฉพาะ
##plugins.generic.usageStats.downloads##
เอกสารอ้างอิง
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565). ฐานข้อมูลกลางกรมอนามัย. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2565, จาก https://dohdatacenter.anamai.moph.go.th/cognoslogon/index.php?r=groupdata/index&group=1&id=3
กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย. (2560). ข้อแนะนําการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง และการนอนหลับสำหรับผู้ใหญ่ 18-59 ปี (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็นซี คอนเซ็ปต์ จํากัด.
กุลทัต หงส์ชยางกูร, พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และ ญัตติพงศ์ แก้วทอง. (2561). คู่มือการเพิ่มกิจกรรมทางกายในคนไทย. สงขลา: สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เบญจ์ ป้องกันภัย. (2562). ผลฉับพลันของการฟังดนตรีคลาสสิกที่มีต่อความเครียดในคนวัยทำงาน. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพนธ์ ดิษฐ์รุ่งโรจน์. (2561). Heart rate zone โซนของคน (อยาก) ผอม. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2565, จาก https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/heart-rate-zone-คนอยากผอม.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564). จับตาทิศทางสุขภาพคนไทยปี 2564 (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร. (2565). ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยง NCD สกลนคร. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2565, จาก https://skko.moph.go.th/ncdosm
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). หุ่นดีสุขภาพดีง่าย ๆ แค่ปรับ 4 พฤติกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด.
สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2560). รายงานประจำปี 2560. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2565, จาก http://www.thaincd.com/2016/media-detail.php?id=12986&tid=30&gid=1-015-008
องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. (2543). คู่มือแนวทางการใช้เกณฑ์อ้างอิงน้ำหนัก ส่วนสูง เพื่อประเมินภาวการณ์เจริญเติบโตของเด็กไทย. กรุงเทพฯ: กองโภชนาการ กรมอนามัย.
อรนภา ทัศนัยนา และฤกษ์ชัย แย้มวงษ์. (2564). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบผสมที่มีต่อค่าเปอร์เซ็นต์ไขมันและมวลกล้ามเนื้อของหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์. วารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 9(1), 82-94.
อรนภา ทัศนัยนา, ภุชงค์ รุ่งอินทร์, ธีรนันท์ แตงนิ่ม, บรรณสิทธิ สิทธิบรรณกุล, ฉลองชัย ม่านโคกสูง และเกรียงไกร พร้อมนฤฤทธิ์. (2559). สมรรถภาพทางกายพนักงานโรงพยาบาลสกลนคร. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 3(5), 49-61.
อรนภา ทัศนัยนา. (2560). เอกสารประกอบการสอน รายวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาเพื่อสุขภาพ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร.
American Council on Exercise. (2022). Body fat percentage chart. From https://www.acefitness.org/Durnin, J. V. G. A., & Womersley, J. (1974). Body Fat Assessed from Total Body Density and Its Estimation from Skinfold Thickness: Measurements on 481 Men and Women Aged from 16 to 72 Years. British Journal of Nutrition, 32, 77-97.
Taro Yamane. (1970). Statistic: An Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper & Row.