การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมและความตั้งใจซื้อสินค้าข้าวแต๋นออร์แกนิคของผู้บริโภค

ผู้แต่ง

  • ธนกฤต บุญชะเน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เปรมฤดี จิตรเกื้อกูล คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม, คุณลักษณะสินค้า, ข้าวแต๋น, ความตั้งใจซื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมและความตั้งใจซื้อสินค้าข้าวแต๋นออร์แกนิคของผู้บริโภค มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะข้าวแต๋น วิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ข้าวบ้านบะหว้า ตำบลท่าเรือ ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภค 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของระดับการศึกษาของผู้บริโภคที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าข้าวแต๋น วิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ข้าวบ้านบะหว้า ตำบลท่าเรือ โดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้บริโภคที่เคยซื้อหรือเคยรับประทานข้าวแต๋นทั่วประเทศ จำนวน 449 ราย การวิเคราะห์เชิงพรรณนาด้วยวิธีการแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: S.D.) และสถิติเชิงอนุมาน โดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม (Conjoint Analysis) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-Way ANOVA) ผลการวิเคราะห์คุณลักษณะ ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม พบว่า ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อระดับคุณลักษณะของข้าวแต๋น วิสาหกิจชุมชนนาแปลงใหญ่ข้าวบ้านบะหว้า ตำบลท่าเรือ คือ บรรจุภัณฑ์แบบกระปุกพลาสติกแบบมีฝาปิด, ตราสินค้ารูปแบบน่าดึงดูด (รูปแบบ B), รสชาติหมูหยอง, ข้าวแต๋น (ขนาด 3 ซม.), และความหวานปกติ จากการทดสอบความแตกต่าง พบว่า ผู้บริโภคที่มีการศึกษาระดับปริญญาโท และสูงกว่าปริญญาโท มีค่าเฉลี่ยความตั้งใจซื้อที่น้อยที่สุดได้แก่ 3.82 และค่าเฉลี่ยที่สูงที่สุดมีระดับการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญา มีค่าเฉลี่ยที่ 4.12

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

เอกสารอ้างอิง

ทิดหมู มักม่วน. (2565). วิญญาณที่ 5 ของชาวอีสาน. สืบค้นเมื่อ 2 กันยายน 2565, จากhttps://www.isangate.com/ new/winyan-5-isan.html

ประชาชาติธุรกิจ. (2565). 11 เดือนส่งออกข้าว 6.1 ล้านตัน พาณิชย์จัด Thailand Rice Convention 2023. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.prachachat.net/economy/news-1117808

ลีลาวดี หนูช้างเผือก และญาตาวี เหมราช. (2562). ข้าวแต๋นสมุนไพรจากน้ำฝางและหญ้าหวาน. สืบค้นเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.nstda.or.th/sims/login/index.php?class=AbstractProposal View&id=5283

วัฒน์ พลอยศรี, ไกรพ เจริญโสภา และศุภวรรณ พันเกาะเลิ่ง. (2561). การพัฒนาแบบบรรจุภัณฑ์สินค้า OTOP ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมหาสวัสดิ์จังหวัดนครปฐม. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2566, จาก http://203.209.82.20/handle/ 123456789/1246

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสุรินทร์. (2563). ข้าว ประโยชน์ของข้าวไทย ข้าวหอมมะลิ ข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอก.สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.opsmoac.go.th/surin-local_wisdom-preview-422891791846

สิริรัญญา อุบาลี, วิศิษฐ์ ลิ้มสมบุญชัย, และอภิชาต ดะลุณเพธย์. (2561). ความพึงพอใจและความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคต่อคุณลักษณะของนมพร้อมดื่มอินทรีย์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12, 43-49.

Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 50, 179-211.

Das, G. (2014). Linkages of retailer personality, perceived quality and purchase intention with retailer loyalty: A study of Indian non-food retailing. Journal of Retailing and Consumer Services, 21(3), 407-414.

Green, P. E., & Rao, V. R. (1971). Conjoint measurement-for quantifying judgmental data. Journal of Marketing research, 8(3), 355-363.

iLaw, (2564). ตรวจการบ้านศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. หนึ่งปีผ่านไปประเทศไทยยังอยู่กับการล็อกดาวน์. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564, จาก https://ilaw.or.th/node/5912

Jitkuekul, P., & Khamtanet, S. (2020). A Conjoint Analysis of Consumer Preferences for Chili Products: A Case Study on Chili Sauce, Management and Marketing Review, 5(4), 226-233.

Kittidecha, C. (2017). Application of Kansei Engineering and Preference mapping in Thai rice cracker (Khao Tan) using taste and smell senses. Engineering Journal of Siam University, 18(35), 1-12.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Lancaster, K. J. (1971). Consumer demand: A new approach. Columbia University: New York.

Likert, R. (2017). The method of constructing an attitude scale: A sourcebook for behavioral scientists. Routledge.

Payim, T. (2017). Development of product and packaging label for Kao-Taen (rice cracker) of the agro-group of agricultural Mae Wong Nakhon

Sawan province. Art and Architecture Journal Naresuan University, 8(2), 38-46.

Phetduang, T. (2017). Marketing factors influencing attitudes and purchasing intension towards granola healthy grains in Bangkok (Master of

business administration thesis). Rajamangala University of Technology Thanyaburi.

Piriyakul, M. (2012). Conjoint Analysis. Ramkhamhaeng University Journal, 29(2), 252-272.

Schiffman, L. G. & Kanuk, L. L. (1994). Consumer behavior (5th ed). Prentice-Hall.

Worawattanatam, C., & Jitkuekul, P. (2022). A conjoint analysis of package rice’s attributes on consumer satisfaction and consumer behavior in purchasing bagged rice in Nakhon Panom. Journal of Liberal Arts and Management Science Kasetsart University, 9(1), 31-48.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##