การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ ต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) เรื่องการหักเหของแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 The Development of Learning Achievement and Satisfaction through Inquiry-based Learning (5E) combined with Refraction Simulation for Grade 9th Students

Main Article Content

ทีปกา พูลทวี
พัชราภา ตันติชูเวช

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ การใช้สถานการณ์จำลองเรื่องการหักเหของแสง ระหว่างก่อนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ การใช้ สถานการณ์จำลอง เรื่องการหักเหของแสง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1  จำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ในปีการศึกษา 1/2564  เครื่องมือที่ใช้คือ       1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การหักเหของแสง โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับการใช้สถานการณ์จำลอง 2) แบบทดสอบเรื่อง การหักเหของแสง และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทางสถิติ t-test  แบบ Dependent sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ การใช้สถานการณ์จำลอง เรื่องการหักเหของแสง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ การใช้สถานการณ์จำลอง เรื่องการหักเหของแสง อยู่ในระดับพึงพอใจมาก   


 


The objectives of this research were 1) to compare the learning achievement before and after learning by applying the inquiry-based learning (5E) and the simulation in refraction for for Grade 9th Students 2) to study students’ satisfaction upon the inquiry-based learning (5E) and the simulation in refraction. The samples were obtained by purposive sampling of 30 Grade 9th Students in the first semester of academic year 2021 at BanharnJamsai Wittaya 1 school. The research instruments consisted of knowledge management plans that used the inquiry-based learning (5E) and the simulation in refraction, achievement tests in the topic of refraction and satisfaction questionnaires towards knowledge management. The data of this study were analyzed by using t-test for dependent samples and the instruments were validated by using IOC, mean, and standard deviation. The results of the research were as follows: 1) Learning achievement of students after using inquiry-based learning (5E) and simulation in refraction for the students was higher than before learning with statistical significance at the .05 level. And 2) The students were satisfied with learning by using inquiry-based learning (5E) and the simulation in refraction in the high level.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย

Most read articles by the same author(s)