การปรับสมดุลไมโครไบโอมจุลินทรีย์ลำไส้ในร่างกายมนุษย์ด้วยเครื่องเทศและสมุนไพรในอาหาร Modulation of gut microbiome symbiosis in human by spices and herbs in foods

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

จุฑามาศ กลิ่นโซดา

บทคัดย่อ

เครื่องเทศและสมุนไพรที่นิยมใช้เป็นอาหาร อาหารเสริม สารสกัด และยาสมุนไพร จัดว่าเป็นแหล่งของสารประกอบไฟโตเคมิคอล (phytochemicals) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและเป็นอาหารแก่จุลินทรีย์ในร่างกาย ตัวอย่างเครื่องเทศและสมุนไพรที่มีงานวิจัยยืนยันการใช้ประโยชน์และได้รับความนิยมไปทั่วโลก จำนวน 10 ชนิด ได้แก่ ขมิ้นชัน (turmeric) ยี่หรา (cumin) เปปเปอร์มิ้น (peppermint) ขิง (ginger) ดอกอิชิเนเชีย (echinacea) อบเชย (cinnamon) พริก (chili) พาร์สลีย์ (parsley) ออริกาโน (oregano) และกระวาน (cardamom) โดยสารประกอบไฟโตเคมิคอลในเครื่องเทศและสมุนไพรบางชนิดส่งผลต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ลำไส้ ทำให้เสริมสร้างหน้าที่การปกป้องตนเองของลำไส้ (intestinal barrier function) และการตอบสนองระบบภูมิคุ้มกัน (immune response) ดังนั้นการรับประทานเครื่องเทศและสมุนไพรที่เป็นแหล่งของเส้นใยและไฟโตเคมิคอล (phytochemicals) ในปริมาณที่เหมาะสม จึงเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถปรับเปลี่ยนสมดุลของไมโครไบโอมจุลินทรีย์ลำไส้ได้ เพื่อให้มีการเติบโตของแบคทีเรียโปรไบโอติกกลุ่ม Lactobacillus หรือ Bifidobacterium อีกทั้งการมีอัตราส่วนของจุลินทรีย์ในไฟลัม Firmicutes และ Bacteroidetes ที่สมดุล จะช่วยให้มนุษย์มีสุขภาพดีและลดโอกาสการเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคอ้วนและโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง เป็นต้น

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

บท
บทความวิชาการ (Review Articles)