ผลของการรับรู้ความง่ายต่อความวิตกกังวลของผู้เรียน |Take it Easy: the Effect of Perceived Easiness on Students’ Anxiety

Main Article Content

พราว อรุณรังสีเวช พัชราภรณ์ นิตเลขยันต์ ปานแพร บุณยพุกกณะ นิติธร อุ้นพิพัฒน์

Abstract

    Because students’ anxiety caused numerous negative effects on students’ learning motivation and class performance, researchers in the area of education should identify the strategies to reduce students’ anxiety and uncertainty. The objective of the current study is to test if teacher’s informing regarding the easiness of worksheet has influence on students’ anxiety. Quasi-experiment was used in a classroom. One-hundred and five participants were asked to solve math problems in the given worksheet. The first group was told that its worksheet is the easy version, and another group was told


    เนื่องจากความวิตกกังวลของนักเรียนนักศึกษาก่อให้เกิดผลกระทบในแง่ลบหลายประการ เช่น ในด้านแรงจูงใจในการเรียนรู้ และผลการเรียน ดังนั้นนักวิจัยด้านการศึกษาควรคิดหากลยุทธ์ในการลดความกังวลและความไม่แน่ใจให้แก่ผู้เรียน วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ เพื่อทดสอบว่าการบอกกล่าวเกี่ยวกับความง่ายของใบงานจะสามารถช่วยลดความกังวลของนักศึกษาได้หรือไม่ การวิจัยแบบกึ่งทดลองได้ถูกนำมาใช้ในชั้นเรียน ผู้เข้าร่วมจำนวน 105 คน ได้ถูกขอให้แก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยกลุ่มแรก ถูกบอกว่าใบงานของเขาง่าย และอีกกลุ่มถูกบอกว่าใบงานของเขายากทั้งๆ ที่ทั้งสองกลุ่มได้ใบงานที่มีคำถามเดียวกัน การเปรียบเทียบโดยการทดสอบค่าทีได้ถูกนำมาใช้ และพบว่า ผู้ที่ถูกบอกว่าใบงานง่ายนั้นมีความกังวลน้อยกว่าอีกกลุ่มผลการวิจัยนี้สามารถถูกนำไปแนะนำผู้สอนให้จูงใจผู้เรียนโดยกล่าวถึงความง่ายของกิจกรรมในชั้นเรียนและกล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ว่าสามารถบรรลุได้กลยุทธ์การบอกกล่าวนี้ควรถูกทดสอบและถูกใช้ในบริบทอื่นๆ เช่น พูดเชิญชวนให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เป็นต้น


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิจัย