แนวทางการจัดการความรู้ด้านการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย | Guideline of Knowledge Management for Writing a Research Proposal
Keywords:
การจัดการความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยAbstract
Knowledge management (KM) is the process to gathering tacit knowledge systematically. The main purposes are to make knowledge available for accessing by every people in the organization and to enhance themselves to be an efficient practitioner. Knowledge management can be applied with every fields. For this paper, knowledge management process has been applied while gathering the knowledge for conducting a research proposal. By doing this, lecturers, who have exchanging this knowledge, can write a proper research proposal. According to the KM process, four steps must be done; identify main knowledge and objectives of knowledge management; search the knowledge topic-how to conduct a research proposal-and exchange the knowledge with others as well as summarize tacit knowledge; edit and adjust knowledge to be suitable for writing a research proposal; finally, brainstorm and share this knowledge with other members in the group. After applying this knowledge
การจัดการความรู้เป็นกระบวนการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และสามารถนำมาพัฒนาตนเองให้เป็นผู้ปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการจัดการความรู้นี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับทุกองค์ความรู้ โดยผู้เขียนนำมาประยุกต์ใช้ในการรวบรวมองค์ความรู้ด้านการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อให้คณาจารย์ที่ดำเนินการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้นี้สามารถเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยตามรูปแบบได้อย่างถูกต้อง กระบวนการได้มาขององค์ความรู้มีทั้งหมดสี่ขั้นตอน กล่าวคือ กำหนดองค์ความรู้หลักที่จำเป็นและเป้าหมายของการจัดการความรู้ จากนั้นแสวงหาความรู้โดยให้สมาชิกกลุ่มความรู้นำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเทคนิคและวิธีการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย พร้อมทั้งสรุปความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล จากนั้นนำมาปรับปรุงและดัดแปลงความรู้ให้เหมาะสมต่อการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย แล้วจึงนำความรู้มาร่วมกันสกัดและแบ่งปันองค์ความรู้เพื่อให้สมาชิกกลุ่มนำไปใช้ โดยเมื่อนำองค์ความรู้ไปใช้แล้วนั้น สมาชิกกลุ่มสามารถพัฒนาข้อเสนอชุดโครงการวิจัยด้านการท่องเที่ยวเพื่อขอรับทุนสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้ นอกจากนี้ การดำเนินการจัดการความรู้ในครั้งนี้สามารถนำมาพัฒนาระบบและกลไกการพัฒนางานวิจัยของคณาจารย์วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อให้คณาจารย์สามารถพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากองค์กรภายนอกเพื่อมาใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้