การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความคล้าย โดยใช้ การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
The development of mathematics achievement on Similarity by integrating STEM Education for ninth grade students
Keywords:
สะเต็มศึกษา, ความคล้าย, STEM Education, SimilarityAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง ความคล้าย โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) ศึกษาทักษะสะเต็มศึกษาเรื่อง ความคล้าย หลังใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง ความคล้าย หลังใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี จำนวน 35 คน ด้วยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบปรนัย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะสะเต็มศึกษาและแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test Dependent, Intraclass Correlation Coefficient และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนมีความรู้วิชาคณิตศาสตร์เรื่องความคล้าย โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะสะเต็มศึกษาเรื่องความคล้าย โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนจากการประเมินโดยครูจำนวน 2 ท่านในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีค่า ICC เท่ากับ .766 ผลประเมินจากผู้ประเมินมีความสอดคล้องกันในระดับดี 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง ความคล้าย หลังใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
The objectives of this study were 1) to compare student’s mathematics achievement on Similarity before and after using STEM Education, 2) to investigate STEM skill on Similarity after using STEM Education, and 3) to study the student satisfaction on Similarity using STEM Education.
The participants were 35 ninth grade students in 3/4 class using Cluster Random Sampling in Kanchanapisekwittayalai Suphanburi School. The research instrument were multiple-choice test, lesson plan, STEM skills evaluation form, student satisfaction questionnaire. The data were analyzed using mean, standard deviation, dependent sample t-test, intraclass correlation coefficient and content analysis. The results of the study were as follows: 1) students who learned Similarity using STEM education had higher mathematics achievement than before class at the statistically significant level of .01, 2) students’ STEM skill on Similarity evaluated by the teachers was well with good level consistency of the assessors (ICC of .766), and 3) the student satisfaction on Similarity using STEM Education was at excellent level.