ผลการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองที่มีต่อความสามารถทักษะกีฬาวอลเลย์บอลสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี |The Effects of Self-Directed Learning on Volleyball Skills for Bachelor’s Degree Students
Keywords:
การจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง, ทักษะกีฬาวอลเลย์บอล, นิสิตระดับปริญญาตรี, Self-directed Learning, Volleyball Skills, Bachelor’s Degree StudentsAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะกีฬาวอลเลย์บอล ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองจากการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะกีฬาวอลเลย์บอล หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองที่ใช้การจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง และกลุ่มควบคุมที่ใช้การจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีที่สมัครใจในการเข้าร่วมโครงการวิจัย ใช้วิธีกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของโคเฮน กำหนดค่าขนาดของผลกระทบ (Effect size) ที่ 0.6 และกำหนดนัยสำคัญที่ระดับ .05 ได้จำนวนนิสิตทั้งหมด 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดทักษะกีฬาวอลเลย์บอล ประกอบด้วย ทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง และทักษะการเล่นลูกสองมือบนที่มีค่าความเที่ยงตรง เท่ากับ 1.00 และ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า “ที” (T-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะกีฬาวอลเลย์บอล ประกอบด้วย ทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง และทักษะการเล่นลูกสองมือบน หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะกีฬาวอลเลย์บอล ประกอบด้วย ทักษะการเล่นลูกสองมือล่าง และทักษะการเล่นลูกสองมือบน หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
This research aimed 1) to compare the average of volleyball skill scores before and after the experiment of the experimental group through self-directed learning 2) to compare the average scores of volleyball skills after the experiment between the experimental group through self-directed learning and the control group through normal physical education learning. The sample group were undergraduate students. A voluntary sample size was used for participation in research projects using the Cohen formula. Set the effect size to 0.6 and set significance at the .05 level, A total of 60 students were obtained, divided into 30 experimental groups and 30 control groups. The research instrument was the Volleyball skills test for undergraduate students consisted of underhand passing and overhead passing (setting) with an accuracy of 1.00 and the confidence value was 0.80. The data were analyzed by mean, standard deviation and t-test. The research findings were as follows: 1) The average volleyball skill score consists of underhand passing and overhead passing (setting) after the experiment of the experimental group was significantly higher than before the experiment at the .05 level. 2) The average volleyball skill score consists of underhand passing and overhead passing (setting) after the experiment were statistically significantly higher than the control group at .05.