การจัดการเรียนรู้แบบบริบทเป็นฐานร่วมกับการสร้างสัญญาเงื่อนไข เรื่อง ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและความรับผิดชอบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1|

Context-base Learning with Contingency Contract on Heat and Change of Matter to Promote Seventh Grade Students’ Achievement and Responsibility

Authors

  • นันทิชา อยู่ยั่งยืนยง คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
  • ภารดี กล่อมดี คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
  • ภูวนาถ คงวิจิตร โรงเรียนกำแพงแสนวิทยา จังหวัดนครปฐม
  • นันทรัตน์ เครืออินทร์ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

Keywords:

การจัดการเรียนรู้แบบบริบทเป็นฐาน, การสร้างสัญญาเงื่อนไข, ความรับผิดชอบในการส่งงาน, ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร, Context-based Learning, Contingency Contracts, Responsibility for Classwork, Heat and Change of Matter

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมความรับผิดชอบในการส่งงาน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้แบบบริบทเป็นฐานร่วมกับการสร้างสัญญาเงื่อนไข เรื่อง ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 92 คน ภาคปลาย ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบบริบทเป็นฐานร่วมกับการสร้างสัญญาเงื่อนไข เรื่อง ความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 3 แผน รวม  9 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องความร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของสสาร แบบปรนัย  4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบ Dependent sample t-test ค่าคะแนนเฉลี่ยและค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ผลสัมฤทธิ์ทางการหลังเรียน ต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่ตั้งไว้ พฤติกรรมความรับผิดชอบในการส่งงานของนักเรียนครั้งสุดท้ายสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 และความพึงพอใจของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด จากการวิเคราะห์คะแนนผลสอบรายข้อพบว่า นักเรียนไม่สามารถวิเคราะห์โจทย์ที่มีความซับซ้อนได้ นักเรียนคำนวณไม่คล่องและไม่สามารถแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวได้ จากการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการพบอีกว่านักเรียนไม่ได้อ่านทบทวนบทเรียนก่อนสอบ จึงทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนไม่ถึงเกณฑ์ร้อยละ 80 ตามที่ตั้งไว้

 

The purpose of this research study was to investigate student learning achievement, responsibility for classwork and satisfaction towards learning, resulted from context-based learning with contingency contracts in the topic of Heat and Change of Matter. The samples were 92 seventh Grade students, second semester of 2022 academic year. The instruments consisted of 1) 3 lesson plans of context-based learning with contingency contracts about heat and change of matter, 2) 20 items of multiple-choice test about heat and change of matter, and 3) a 5-point rating scale of learning satisfaction. Data were analyzed by dependent sample t-test, average scores and standard deviation. It was found that the achievement average score after learning was significantly higher than before learning at 0.01 level, but it was lower than 80 percent criteria. The responsibility for the last classwork was higher than 80 percent criteria. However, the student satisfaction towards learning was at the highest level. From item analysis of the post-test, most students were not be able to analyze complex questions and calculate for linear equations of one variable. The informal interview also revealed that they also did not review the lesson before taking the post-test, resulted in the average score lower than 80 percent of the achievement criterion.

Downloads

Download data is not yet available.

References

Boonrueng, Y., Nugultham, K. & Vigitwongwan, J. 2021. Scientific Knowledge Transfer through Context-based Learning on the Effects of Heat on Matter. Journal of Education and Human Development Sciences 5, (1).

Buamueang, W. (2019). The Effects of Using Reinforcement and Contingency Contract on the Responsibility of Grade 1 Students. Southern College of Technology.

Chularut, P. (2005). Educational Psychology. Bangkok: Guidance Psychology of Srinakharinwirot University. [translated]

Department of Mental Health. (2021). Thai Health Promotion Foundation brainstormed to solve stressful children studying online. Available Source: https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31021, March 4, 2023. [translated]

Gilbert, J. K. ( 2006). On the nature of “context” in chemical education. International Journal of Science Education, 28(9), 957-976.

Keawbang, S & Choojit, S. (2021). Improving of Student’s Homework Responsibility in Science Subject Through The Use of Individual Behavior Contracts of The 9th Grade. The 9h Muban Chombueng Rajabhat University's National Conference 2021.

Ruangsuwan, C. (1991). Educational Technology, Theory and Research. Bangkok: Odeonstore. [translated]

Sikarin Hospital. (2019). Addicted to mobile phone causes Attention deficit hyperactivity disorder. Available Source: https://www.sikarin.com/health/ติดมือถือ-ตัวการทำสมาธิสั้น. [translated]

Skinner, B.F. (1938). The Behavior of Organisms: An Experimental Analysis. New York: Appleton- Century.

Srimanop, S., Nitisiri, P. & Kruea-In, N. (2019). The Development of Seventh Grade Students’ Ability in Application of Thermal Energy in Daily Life through Context-based Learning. Journal of Education and Human Development Sciences, 3(1).

Downloads

Published

2023-11-30

Issue

Section

บทความวิจัย