The การประดิษฐ์รำฉุยฉายของตัวลิง|The Concept of Creating the Choreography for Ram Chui Chai of the Monkey Character

Main Article Content

ศิลา ผ่องบุรุษ

Abstract

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด รูปแบบการแสดง โครงสร้างในการประดิษฐ์ท่ารำฉุยฉายของตัวลิง และ 2) วิเคราะห์แนวคิด รูปแบบการแสดง โครงสร้างในการประดิษฐ์ท่ารำฉุยฉายของตัวลิง ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์และการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นายประสิทธิ์ ปิ่นแก้ว (ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง นาฏศิลป์-โขน พ.ศ. 2551) และ นายสุรเดช เผ่าช่างทอง ข้าราชการบำนาญ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร


            ผลการศึกษาและวิเคราะห์พบว่า 1) รำฉุยฉายของตัวลิงที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อบรรจุลงในหลักสูตรการเรียนการสอน ใช้ประกอบในงานวิชาการ หรือการเลื่อนขั้นวิทยะฐานะของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และวิทยาลัยนาฏศิลปและ รำฉุยฉายของตัวลิงที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้ในการแสดงของกรมศิลปากร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และวิทยาลัยนาฏศิลป มีแนวคิดในการประดิษฐ์ท่ารำโดยเลือกใช้ท่ารำ 3 กลุ่มดังนี้ (1) ท่ารำที่เป็นภาษาท่าใช้ในการตีบทตามความหมายของเนื้อร้องเพื่อใช้ในการสื่อสาร (2) ท่ารำที่เป็นนาฏยศัพท์ หรือท่าที่ใช้แทนค่า แทนความหมายในวงการนาฏศิลป์ และผู้ที่ศึกษาวิชานาฏศิลป์ (3) ท่ารำที่ปรากฏอยู่ในแม่ท่าลิง ท่ารำที่เป็นแม่ท่าลิงทั้ง 7 และท่ารำที่เป็นบ่งบอกกิริยาของตัวลิง 2) รำฉุยฉายของตัวลิงมีรูปแบบการแสดงตามโครงสร้างของท่ารำฉุยฉายของตัวลิง 2 รูปแบบ ได้แก่ (1) ลำดับขั้นเพลงออก ลำดับขั้นเพลงร้องด้วยเพลงชมตลาด ลำดับขั้นเพลงร้องด้วยเพลงฉุยฉาย ลำดับขั้นเพลงร้องด้วยเพลงแม่ศรี และ ลำดับขั้นเพลงเข้า และ (2) ลำดับขั้นเพลงออก ลำดับขั้นเพลงร้องด้วยเพลงฉุยฉาย ลำดับขั้นเพลงร้องด้วยเพลงแม่ศรี และ ลำดับขั้นเพลงเข้า


 


This study aimed to 1) study and 2) analyse the concept, format, and structure for creating the Ram Chui Chai of the ling (monkey) character. The researcher has studied and collected data from relevant academic documents, interviews, and participant observation with the masters, including Prasit Pinkaew (National Artist of Thailand) and Suraset Phaochangthong (Senior khon Artist, Fine Arts Department).


The research found that 1) Ram Chui Chai of the ling (monkey) character had the purpose during its creation which was to be included in a teaching curriculum, used for academic work, or academic promotion by Bunditpatanasilp Institute of Fine Arts and the College of Dramatic Arts and its creation that intended to be one of the brand-new performances of Fine Arts Department, Bunditpatanasilp Institute of Fine Arts and the College of Dramatic Arts; there were three groups of dance styles as follows: (1) dance postures created from the dramatic text interpretation based on the lyrics sung, (2) the nattayasap, Thai dance vocabulary postures well known in Thai classical dance community, 3) the dance postures appeared in the mae tha ling, the seven formatted dance postures indicating the gestures of the monkeys; 2) the formats of Ram Chui Chai of the ling (monkey) character could be categorised into two styles accompanied by a series of the songs respectively: (1) Chom Ta-lat, Chui Chai, Mae-si, and the song to end the show and (2) Chui Chai, Mae-si, and the song to end the show.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิชาการ

References

Bunditphattanasilapha Institute. (2004). Course of study. Faculty of art education. [Unpublished manuscript].
Bunditphattanasilapha Institute. (2009). Course of study. Faculty of music and drama. [Unpublished manuscript].
Tramot, M. (1981). Art textbook basics of thai music S023 – S024. Bangkok : Bunditpatanasilapa Intitute.
Janniwongs, N. and Limsakun, P. (2010). Choreography of thai performing arts movement of acarn suwanni chalanukroa-the national artits 1990 [Master’s thesis, Chulalongkorn Univercity].
Thongkumsuk, P. (2006). Concept and method of thai classical mask dance performing (Monkey). [Doctoral dissertnation, Chulalongkorn University].
Limsakun, P. (2006). Female standard solo dance. (2th ed.) Bangkok : Chulalongkorn Univercity.
Konglaythong, P. (1995). Plangpichuychay : Analysis Of Musicology And Its Reflection On Beauty [Master’s thesis, Mahidol University.
Vechsuruck, S. (2004). Choreographic principle of Thanpuying Paew Sanithwongseni [Master’s thesis, Chulalongkorn Univercity].
Wironruk, S. (2004). Principles of performance of the visual arts. Bangkok : Chulalongkorn Univercity.
Sillaphakorn Department. (1979). Articles of the Fine Arts Department Year 23 [Unpublished manuscript].
Auparamay, W. (2010). Drama And Drama. Bangkok : Chulalongkorn Univercity.
Suksom, W. (2002). The movement of enue in the drama enue [Master’s thesis, Chulalongkorn University].