บทเรียนการขับเคลื่อนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรม 4 มิติ ตามรูปแบบโครงงานคุณธรรมทั้งระบบของโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี |

The use of 4 dimensional morality project to encourage learning process according to the morality project of Visuttharangsi School in Kanchanaburi province.

ผู้แต่ง

  • หงษ์ดี ศรีเสน โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
  • ณัฐกาญจน์ สุภาพงษ์ โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
  • ทัศนีย์ นิลผึ้ง โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
  • อภิษฐา สวนเข้ม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8
  • อรรณพ เยื้องไธสง สหสาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

โครงงานคุณธรรม 4 มิติ, นวัตกรรมการเรียนรู้, การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน, 4 Dimensional morality project, Innovative Teaching, Project-Based Learning

บทคัดย่อ

           

การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาการขับเคลื่อนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานคุณธรรม 4 มิติ ตามรูปแบบโครงงานคุณธรรมทั้งระบบของโรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน คือ  ส่วนที่ 1 การศึกษาผลการขับเคลื่อนกิจกรรมโดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 96 ราย ซึ่งเป็นตัวแทนของโครงงานคุณธรรมจำนวน 101 โครงงาน การประมาณค่าสัดส่วนของประชากรกลุ่มตัวอย่างและการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการกำหนดโควตา (Quota sampling)  ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวมรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขการขับเคลื่อนกิจกรรม โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In depth Interview) และการประชุมกลุ่ม (Group Discussion) ด้วยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 6 ราย จากตัวแทนนักเรียนโครงงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในแต่ละระดับชั้น

            ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินโครงงานตามรูปแบบโครงงานคุณธรรมทั้งระบบมีโครงงานที่ขับเคลื่อนโดยผู้เรียนเกิดขึ้นจำนวน 101 โครงงาน โดยกว่าร้อยละ 35.65 เป็นการดำเนินการโดยน้อมนำพระบรมราโชบายในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมาเป็นแนวทางในการขับเคลื่อน ซึ่งผลในการขับเคลื่อนผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานคุณธรรมเป็นฐานเพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และกระบวนการจิตอาสา โดยรวมประสบผลสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด (4.41) ผลการขับเคลื่อนที่มากที่สุด ได้แก่ ผู้เรียนตระหนักว่าความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากโครงงานสามารถนำไปพัฒนาตนเองและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ (4.71)  รองลงมา คือ ผู้เรียนตระหนักว่าโครงงานคุณธรรมของชั้นเรียนใช้แก้ปัญหาได้จริง (4.63) และผู้เรียนเกิดความตระหนักว่าคุณธรรม จริยธรรมเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน (4.60) ตามลำดับ   โดยแนวทางการปรับปรุงแก้ไขการขับเคลื่อนกิจกรรม ได้แก่ (1) การปรับรูปแบบการดำเนินกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกกิจกรรมได้อย่างอิสระ มีความหลากหลายของช่วงวัย และสามารถแสดงความสามารถของตนได้อย่างเต็มศักยภาพ (2) ความหลากหลายของหลักธรรม เพื่อสร้างความเท่าเทียมและการมีส่วนร่วมของนักเรียนต่างศาสนาในการร่วมกิจกรรมแบบบูรณาการหลักคำสอนร่วมกัน และ (3) การขยายผลการดำเนินการสู่ระดับชุมชน เพื่อให้นักเรียนสามารถขยายผลการดำเนินงานเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมโดยรอบ   ในฐานะการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักเรียน โรงเรียน และชุมชน

             This study utilizes of 4 dimensional morality project according to Visuttharangsri school  to encourage students’ learning process. The study can be divided into 2 parts: quantitative research and qualitative research. Quantitative Research is used in acquiring the information from 96 selected samples from 101 different morality projects. Quota sampling is utilized during sample selection process. Questionnaires are also part of research tools before being analyzed to percentage, mean and standard deviation. On the other hand, qualitative research is utilized to find out possible improvements of this project. The information can be obtained from in depth interview and group discussion including  6 participants selected from purposive sampling method in which all of them are award winners of different grade.

            The study found that more than 35.65% of 101 projects implements the royal policies created by King Vajiralongkorn. Concerning with the research result after encouraging students’ learning progress from morality project in order to cultivate morality and volunteering spirits, the project is succeeded in excellent level (4.41). Focusing on project achievement, the students could realize that they can use what they have learned from the project in their daily lives (4.72). The students could also acquire different strategies in solving their personal problems after passing the project (4.63) and realized the importance of morality (4.60). There are two weakness that can be further improved.  First of all, students should have more options and freedom to choose their interested activities regarding to age variation and students’ best performance at their maximum capacities. Secondly, the activities should be more available to non-buddhist students so that they can participate in. Thirdly,  the connections should be built among students, school and community in order to introduce the project to the communities.

 

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2020-10-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย