การเปรียบเทียบสมรรถภาพร่างกายผู้สูงอายุช่วงต้น ด้วยกิจกรรมการเต้น โปรแกรมซุมบ้า (Zumba Fitness) แบบปกติและเเบบฮัลลิวิค | A Comparison of Body Efficiency between the Normal and Halliwick Methods of the Zumba Fitness Program in the Young-Old
คำสำคัญ:
สมรรถภาพทางกาย, ผู้สูงอายุ, การเต้นโปรแกรมซุมบ้า, แบบฮัลลิวิค, Physical fitness, Elder, Zumba fitness, Halliwick methodบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเต้นโปรแกรมซุมบ้าแบบปกติและแบบฮัลลิวิคสำหรับใช้เสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายผู้สูงอายุ และเพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพร่างกายผู้สูงอายุช่วงต้นด้วยกิจกรรมการเต้นโปรแกรมซุมบ้าแบบปกติและแบบฮัลลิวิค กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุช่วงต้น โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากอาสาสมัครที่ผ่านเกณฑ์การทำแบบทดสอบการประเมินสุขภาพผู้สูงอายุ และมีอายุระหว่าง 60-69 ปี จำนวน 30 คน และใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง เข้ารับการเปรียบเทียบสมรรถภาพร่างกายผู้สูงอายุช่วงต้นด้วยกิจกรรมการเต้นโปรแกรมซุมบ้าแบบฮัลลิวิค จำนวน 15 คน และกลุ่มควบคุม เข้ารับการเปรียบเทียบสมรรถภาพร่างกายผู้สูงอายุช่วงต้นด้วยกิจกรรมการเต้นโปรแกรมซุมบ้าแบบปกติ จำนวน 15 คน เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ2 ครั้ง ๆ ละ 30-45 นาที รวมเป็นจำนวน 10 ครั้ง ผลการวิจัย พบว่า การจัดกิจกรรมการเต้นโปรแกรมซุมบ้าของกลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังจากการทดลองใช้กิจกรรมการเต้นโปรแกรมซุมบ้าแบบปกติและเเบบฮัลลิวิค ของกลุ่มที่เต้นโปรแกรมซุมบ้าแบบฮัลลิวิคในการวิจัยสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วน กลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมการเต้นโปรแกรมซุมบ้าแบบปกติ นั้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
This research article aims to develop the normal and Halliwick Zumba fitness programs for enhancing physical fitness of the elderly, and to comparison of body efficiency between the normal and Halliwick methods of the Zumba fitness programs in the young-old. The sample group was the young-old gathered from purposive sampling of volunteers who passed the elderly health evaluation questionnaire and were between 60-69 years old. A total of 30 people were selected and divided, by using the simple random sampling method, into 2 groups: the experimental group of 15 young-old, whose physical fitness was compared before and after attending the Halliwick Zumba fitness program, and the control group of 15 young-old, whose physical fitness was compared before and after attending the normal Zumba fitness program. The activity was conducted twice a week for 5 weeks, 30-45 minutes each time, for a total of 10 times. The result of the research was as follows; after conducting the Zumba fitness programs for the sample group, it was found that the average physical fitness test score for the group following the Halliwick Zumba fitness program was higher, with statistical significance at 0.05; whereas, for the control group following the normal Zumba fitness program, there was no statistically significant difference.