ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับการศึกษาในประเทศไทย
คำสำคัญ:
เศรษฐกิจ, การศึกษา, ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงบทคัดย่อ
การจัดการศึกษาเป็นการพัฒนาทุนมนุษย์และทุนทางสังคม ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในกระบวนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ประเทศต้องจัดการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพและคุณภาพ เพื่อให้ประชากรส่วนใหญ่มีความรู้ความสามารถ มีทักษะและเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจให้ประสบความสำเร็จได้ ดังนั้นการพัฒนาการศึกษาบนรากฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจ ภายใต้แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วยแนวคิดเศรษฐกิจฐานความรู้ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เศรษฐกิจฐานราก และเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ โดยมุ่งไปที่การพัฒนาการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพคนให้ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ ได้แก่ การสร้างคนให้คิดเป็น ทำเป็น สร้างสรรค์ ก้าวทันโลก มีคุณธรรม จริยธรรม และรับผิดชอบต่อสังคม การปฏิรูปการศึกษาเพื่อผลิตกำลังคนที่มีคุณภาพเพียงพอและตรงความต้องการ สามารถรองรับกับองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการวิจัยพัฒนานวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของภาคการผลิต และสามารถนำไปสู่การขยายผลทางพาณิชย์อย่างแท้จริง ปรับโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ได้รับการพัฒนาอย่างเพียงพอ เช่น อุทยานวิทยาศาสตร์ และสถาบันมาตรวิทยา เป็นต้น จัดการทรัพย์สินทางปัญญาให้ได้รับการปกป้อง นำไปสู่องค์ความรู้เพื่อพัฒนาหรือต่อยอด การสร้างความเข้มแข็งให้ภาคการผลิตและบริการ เพื่อเป็นปัจจัยในการสร้างความเจริญให้กับประเทศไทยของเรา โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจและการศึกษา
Downloads
เอกสารอ้างอิง
Chaipattana Foundation. (2018). Sufficiency Economy.
https://www.chaipat.or.th%2Fpublication%2Fpublish-document%2Fsufficiencyeconomy.
Community Organization Development Institute. (2020). Foundation economy.
https.//web.codi.or.th.
Civil Aviation Authority of Thailand. (2022) Gross Domestic Product (GDP).
https://aviation-io.caat.or.th/aviation-industry-roles/gdp
Cabral, L. M. (2017). Introduction to industrial organization. MIT press.
Eric, A. H. (2005). Why Quality Matters in Education Finance and Development.
Ministry of Science and Technology. (2019). Green economy. Pathum Thani: National Science and
Technology Development Agency Ministry of Science and Technology.
https://www.nesdc.go.th/download/plan12/
Narathip, C. (1989). Thai economic system and agricultural economy.
https://ms.udru.ac.th/asst.prof.benchamat/4knowledgesources/createdthaibooks/farmmanagem ent/chapter1.pdf
Office of the Secretariat of the Council of Education. (2020). State of Education in Thailand 2018/2019
Education reform in the digital age. Bangkok: Printmaking Co., Ltd.
Pibulsarawut, P. (2007). Driving Sufficiency Economy. The Crown Property Bureau.
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/cmruresearch/article/view/245497
Phonpiroon, P. (2013). Creative Economy and Thailand Development. Journal of Economics
Review Institute of Development Studies, 7(1), 1-70.
Electronic government financial management system (2023). budget disbursement Classified by
economy and ministry.
https://dataservices.mof.go.th/menu4?id=3
Thailand Business Management Association. (2022). Results of the country's competitiveness ranking.
https://www.tma.or.th/event-details/thailand-management-day-2022-2
Thewathida, K. (2019). Project to develop tools and collect data on progress in the development of
children, youth and new generations of workers at the provincial level according to the Sustainable Development Goals in education.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.