พฤติกรรมการออกกำลังกายในสภาวะแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด 19 ของวัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • ทัชระพล นิ่มรัตนสิงห์ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • พิชญาวีร์ ภานุรัชต์ฐนนท์ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการออกกำลังกาย, เชื้อโควิด 19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายในช่วงแพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 ของวัยรุ่น ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการรับรู้ (Cognitive) ด้านเจตคติ (Affective) และด้านความรู้ (Perceived) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ วัยรุ่นอายุ 12 – 18 ปี ในจังหวัดนครนายกที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูง และมีการปริมาณการแพร่ระบาดสูง จำนวน 400 คน จากสูตรการคำนวณของทาโร่ยามาเน่ โดยใช้การสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเก็บข้อมูลผ่านแบบสอบถามออนไลน์ (Google Form) มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) 0.80 ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) 0.72 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบหาความแตกต่างของข้อมูลพฤติกรรมการออกกำลังกาย ผลการวิจัยพบว่า 1) วัยรุ่นเพศหญิงมีการออกกำลังกายที่มากกว่าเพศชาย เพราะเพศหญิงสามารถติดตามการออกกำลังกายจากสื่อต่างๆ และไม่ใช้พื้นที่หรืออุปกรณ์มากจึงสามารถออกกำลังกายได้มากกว่าเพศชาย         2) วัยรุ่นมีจำนวนวันในการออกกำลังกายน้อยกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ 3) วัยรุ่นมีเวลาในการออกกำลังกายน้อยกว่า 30 นาทีต่อวัน  4) วัยรุ่นมีจุดประสงค์ในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ เพื่อรูปร่าง เพื่อความสนุกสนาน เพื่อแข่งขัน เพื่อสังคม และไม่ออกกำลังกายเลย ตามลำดับ 5) พฤติกรรมด้านเจตคติในการออกกำลังกายช่วงแพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 ของวัยรุ่นทั้งสองเพศมีความแตกต่างกัน เพศชายมีเจตคติที่ดีกว่าเพศหญิง

Downloads

Download data is not yet available.

เอกสารอ้างอิง

Bates, L. C., Zieff, G., Stanford, K., Moore, J. B., Kerr, Z. Y., Hanson, E. D., Barone G. B., Kline, C. E., & Stoner, L. (2020). COVID-19 Impact on Behaviors across the 24-Hour Day in Children and Adolescents: Physical Activity, Sedentary Behavior, and Sleep. Children (Basel, Switzerland), 7(9), 138. https://doi.org/10.3390/children7090138

Faigenbaum A. D. (2018). Youth Resistance Training: The Good, the Bad, and the Ugly-The Year That Was 2017. Pediatric exercise science, 30(1), 19–24. https://doi.org/10.1123/pes.2017-0290

Islam, M. A., Barna, S. D., Raihan, H., Khan, M. N. A., & Hossain, M. T. (2020). Depression and anxiety among university students during the COVID-19 pandemic in Bangladesh: A web-based cross-sectional survey. PloS one, 15(8), e0238162.

Martin, S. A., Pence, B. D., & Woods, J. A. (2009). Exercise and respiratory tract viral infections. Exercise and sport sciences reviews, 37(4), 157.

The World Health Organization. (2020). Novel Coronavirus (2019-nCoV): situation report, 22.

Rothan, H. A., & Byrareddy, S. N. (2020). The epidemiology and pathogenesis of coronavirus disease (COVID-19) outbreak. Journal of autoimmunity, 109, 102433.

Warburton, D. E., Nicol, C. W., & Bredin, S. S. (2006). Health benefits of physical activity: the evidence. CMAJ : Canadian Medical Association journal = journal de l'Association medicale canadienne, 174(6), 801–809. https://doi.org/10.1503/cmaj.051351

Awikunprasert, C., Awikunprasert, P., PhanJum, V., Somjee, N., Konwai, K., & Buttijak, P. (2021).

A study of students attitude towards exercise and physique anxiety during virus covid-19 pandemic in upper north east. Journal of Liberal Arts and Management Science Kasetsart University, 8(2), 101-113.

Poolsawat, V., Petthai, P., & Kongyuen, K. (2015). The Atitude and behavior of exercise in patients with Knee Osteoarthritis. Golden Jubilee Medical Center

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2024-12-06

ฉบับ

บท

บทความวิจัย