ความสัมพันธ์และความต้องการเรียนสาขาด้านสุขภาพและสวัสดิการและสาขากลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศไทยของกลุ่มประชากร Y และ Z ในจังหวัดชายแดนตะวันตกสุดของประเทศไทย
คำสำคัญ:
ความต้องการเรียน, สาขาด้านสุขภาพและสวัสดิการ, กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย, กลุ่มประชากร Y และ Zบทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการเรียนและความสัมพันธ์ของความต้องการเรียนในสาขาด้านสุขภาพและสวัสดิการและสาขาที่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ระหว่างกลุ่มประชากร Y และ Z จังหวัดแม่ฮ่องสอน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 556 คน จำแนกเป็น 2 กลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 278 คน ได้แก่ 1) ประชากร Y (Gen Y) คือ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาขึ้นไป และ 2) ประชากร Z (Gen Z) คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2565 รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.82-0.86 ระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 30 กันยายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ Chi-Square test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า 1) สาขาด้านสุขภาพและสวัสดิการที่กลุ่มประชากร Y ต้องการเรียนสูงสุด คือ การแพทย์แผนไทย ในขณะที่กลุ่มประชากร Z คือ การดูแลผู้สูงอายุ และสาขาที่เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยที่ประชากรทั้งสองกลุ่มมีความต้องการเรียนสูงสุด คือ เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ตามลำดับ 2) โดยภาพรวมกลุ่มประชากร Y และ Z มีความสัมพันธ์กันกับความต้องการเรียนสาขาในด้านสุขภาพและสวัสดิการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (χ2 = 20.03) สาขาที่มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ การแพทย์แผนไทย (χ2 = 8.89, df = 6) และผู้ช่วยพยาบาล (χ2 = 7.99, df = 6) และโดยภาพรวมประชากร Y และ Z มีความสัมพันธ์กับความต้องการเรียนในสาขากลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (χ2 = 26.37, df = 9) โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความสัมพันธ์กัน ได้แก่ เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (χ2 = 13.45, df = 9) ยานยนต์สมัยใหม่ (χ2 = 6.52 , df = 9) อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (χ2 = 5.45, df = 9) และการแพทย์ครบวงจร (χ2 = 4.18, df = 9) ตามลำดับ มหาวิทยาลัยที่จัดการเรียนการสอนในเขตพื้นที่ชายแดนควรนำผลการศึกษาไปใช้เพื่อพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต
Downloads
เอกสารอ้างอิง
Akarapisit, A. (2021). Thailand’s Medical Hub Industry: Potential and Opportunity. Siam Academic Review, 22(2), 18-36.
Chaikongkiat, P., Aranyabhaga, A., Sirichana, T., and Muksikawan, A. (2013). The Needs for Practical Nurses in Five Southern Border Provinces, Thailand. Journal of Nursing and Education, 6(1), 38-53.
Gomez, G., Mawhinney, T., and Betts, K. (2019). Welcome to Generation Z. https://www2.deloitte.com/
content/dam/Deloitte/us/Documents/consumer-business/welcome-to-gen-z.pdf
Intarit, P., Khueangulueam, A., Gudrangnok, J., Chusang, S., Pitayaparnu, K., Binawa, S., and Suwannarat, W. (2020). Thai Traditional Medicine Services Demands of Personnel in Burapha University Chonburi Province. Journal of Traditional Thai Medical Research, 6(2), 49-64.
Jinarat, C. (2022). Political Interests and Political Participations: Case Studies of Gen Y and Gen Z People Residing in Ubon Ratchathani, Amnat Charoen and Yasothon Provinces. Journal of MCU Ubon Review, 7(2), 853-870.
Karashchuk, O.S., Mayorova, E.A., Nikishin, A.F., and Kornilova, O.V. (2020). The Method for Determining Time-Generation Range. SAGE Open: 1-8. DOI: 10.1177/2158244020968082
Manzoni, B., Caporarello, L., Cirulli, F., and Magni, F. (2020). The Preferred Learning Styles of Generation Z: Do They Differ from the Ones of Previous Generations?. Digital Transformation and Human Behavior. https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-3-030-47539-0_5
Nunthasakulsit, P., and Tuntrakul, T. (2023). Policy for the Development of Intelligent Electronics for Small and Medium Business in the Eastern Industrial Zone. Journal of MCU Buddhapanya Review, 8(2), 224-236.
Pingwong, B., Chanraeng, T. (2016). An Integration of Thai Traditional Medicine with Health Care according to Buddhism Guidelines: A Case Study of Health Promoting Temple in the Northern Region. Journal of Graduate Research, 7(2), 195-206.
Schawbel, D. (2023). Gen Y and Gen Z Global Workplace Expectations Study. https://workplaceintelligence.com/geny-genz-global-workplace-expectations-study/
The Government Public Relations Department. (2021). Gen Y/Gen Me: Major of Population in Digital world. https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/10847 [Translated]
Wanichakorn, A. (2016). The Study Identities to Develop an Image of Department of Thai Traditional and Alternative Medicine. Journal of Fine Art, 7(1), 193-254.
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
การอนุญาต
ลิขสิทธิ์ (c) 2024 วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.