การศึกษารูปแบบการเรียนรู้โค้ดดิ้ง (Coding) โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริม สมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

เสกสรรค์ วิลัยลักษณ์

摘要

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้โค้ดดิ้ง (Coding) โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่ส่งเสริมสมรรถนะ การแก้ปัญหาแบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เปรียบเทียบสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้โค้ดดิ้ง (Coding) โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นวงจรที่ต่อเนื่องกัน 3 วงรอบ โดยแต่ละวงรอบแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2565  จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 39 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ แบบบันทึกสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ  และแบบทดสอบสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า


ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้โค้ดดิ้ง โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่ส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา ขั้นที่ 2 ทำความเข้าใจปัญหา ขั้นที่ 3 ดำเนินการศึกษาค้นคว้า ขั้นที่ 4 สังเคราะห์ความรู้ ขั้นที่ 5 สรุปและประเมินคำตอบ และขั้นที่ 6 นำเสนอและประเมินผล 2) เปรียบเทียบสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนจากการจัดการเรียนรู้โค้ดดิ้ง โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่า  หลังการจัดการเรียนรู้โค้ดดิ้ง โดยใช้ปัญหาเป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียน โดยสมรรถนะการสร้างและเก็บรักษาความเข้าใจที่มีร่วมกันนักเรียนร้อยละ 51 มีสมรรถนะอยู่ในระดับสูง สมรรถนะการเลือกวิธีดำเนินการที่เหมาะสมในการแก้ปัญหานักเรียนร้อยละ 57 มีสมรรถนะอยู่ในระดับสูง และ สมรรถนะการสร้างและรักษาระเบียบของกลุ่มนักเรียนร้อยละ 54 มีสมรรถนะอยู่ในระดับสูง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

栏目
บทความวิจัย

参考

Draghicescu, L. M., Petrescu, A. M., Cristea, G. C., Gorghiu, L. M., & Gorghiu, G. (2014).

Application of problem-based learning strategy in science lessons–Examples of good

practice. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 149, 297-301.

Greenwald, N.L. (2000). Learning from problems. The Science Teacher, 67, 28-32.

Jahanzad, F. (2012). The influence of the DEEPER scaffolding framework on problem solving

performance and transfer of knowledge. Stillwater, Oklahoma: Oklahoma State University.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.

Khaemmanee, T. (2014). The science of teaching knowledge for effective learning process

management. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Khwana, K. & Khwana, T. (2019). The Instruction to Promote Learning Skills in 21ST Century.

Journal of Graduate School, 16(73), 13-22.

Kijkuakul, S. (2014). Learning Management of Science in 21st Century. Phitsanulok: Naresuan

University Publishing House.

Kijkuakul, S. (2014). Science teaching: The direction for 21 Century teacher. Phetchabun: Julladis printing House.

Ministry of Education. (2001). Basic Education Core Curriculum B.E.2544(A.D.2001). Bangkok:

Ministry of Education Thailand.

Klomim, K. (2017). How To Learning Problem Based Learning: Coursed Design and

Development Coursed for Students Teachers. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkron

Rajabhat University, 11(2), 179-192.

Naboonmee, P., Bongkotphet, T. & Thountom, S. (2017). Problem-Based Learning for Developing

Collaborative Problem Solving Competency in Rotational Motion Topic for Grade 10Th Students. Journal of Education Mahasarakham University, 13(2), 193-205.

OECD. (2013). PISA 2015: Draft collaborative problem solving framework. Paris: OECD Publishing.

Office of the Education Council. (2007). Student-Centered Learning Management: Problem–based

Learning. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand printing house.

Panghom, R., Srisanyong, S., & Teeravanitrakul, S. (2016). Construction of learning packages using

a problem-based approach relating geographical phenomena for matthayomsuksa IV

students. Journal of Education Naresuan University, 18(4). 278-293.

Phasuk, P. (2016). An action research for enhancing collaborative problem solving

competency of grade 10 students in topic “Digestive System” using learning management

through DEEPER scaffolding framework [Master thesis, Naresuan University].

Puechsing, Y. and Cojorn, K. (2021). The development of Computational Thinking Skills Using

Problem Based Learning and Social Network for Eight Grade Students. Rajabhat Maha Sarakham University Journal, 16(1), 40-52.

Rueangrong, P. and Phitthayasenee, M. (2020). Computational concept is combined with the coding

learning management model to enhance Collab. The Office of Academic Promotion and Registration

Kamphaeng-Phet Rajabhat University, 11(1), 1-16.

Sesai, N. et al. (2017). The Effects of Problem – Based Learning to Enhance Life Skill in Creative

Problem- Solving Ability of Grade Five Students in Learning Area of Occupations and

Technology, Assumption College English Program School, Samut Sakhon Province. Journal

of Kasetsart Educational Review, 32(1), 80-90.

Smit, J. et al. (2012). Conceptualisation of whole-class Scaffolding. British Educational Research

Journal, 39(5), 817-834.

Tayom, C., Kijkuakul, S. and Klamtet, J. (2017). Action Research for Developing Collaborative

Problem Solving Competency by Using DEEPER Scaffolding Framework on Stoichiometry

Topic for Enrichment Science Classroom, Mathayom Suksa IV Students. Academic Services

Journal, Prince of Songkla University, 28(2), 34-45.

Wongwanich, S. (2008). Classroom Action Research. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.