การลงทุนเลี้ยงปลานิลเพื่อการพาณิชย์ในจังหวัดนครปฐม Commercial Investment of Nile Tilapia (Oreochromis niloticus Linn.) Culture in Nakhon Pathom Province
Main Article Content
Abstract
ในปัจจุบันแนวโน้มกระแสความนิยมในการบริโภคปลานิล มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ในขณะที่ผลผลิต ปลานิลของประเทศไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับของตลาดในต่างประเทศยังมีจำนวนไม่มาก ดังนั้น หากมีการปรับปรุงและพัฒนาการเลี้ยงปลานิลให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลย่อมจะส่งผลดีต่อการบริโภค การเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันและสามารถสร้างรายได้จากการส่งออกให้กับประเทศได้เป็นอย่างดีการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการผลิต การตลาดและผลิตภัณฑ์จากปลานิล 2) วิเคราะห์ต้นทุน รายรับและกำไรจากการเลี้ยง และ 3) วิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนของการเลี้ยง โดยข้อมูลได้จากการสัมภาษณ์เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 57 ราย ในปี พ.ศ.2557 และใช้ตัวชี้วัดคือมูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อทุน อัตราผลตอบแทนของโครงการและต้นทุนเฉลี่ยในระยะยาว จากผลการศึกษาพบว่าการเลี้ยงปลานิลภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีและเหมาะสม (GAP) มีรูปแบบที่แตกต่างจากการเลี้ยงที่ไม่เข้าสู่มาตรฐาน GAP ในด้านสุขลักษณะของการเพาะเลี้ยง โดยผลผลิตภายใต้มาตรฐาน GAP เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ ด้านผลประกอบการและความคุ้มค่าในการลงทุนพบว่าการเลี้ยงปลานิลในบ่อดินแบบกึ่งธรรมชาติภายใต้มาตรฐาน GAP และที่ไม่ได้เข้าสู่มาตรฐาน GAP ในฟาร์มขนาดกลางและขนาดใหญ่ รวมทั้งการเลี้ยงปลานิลกระชังในบ่อดินที่ไม่ได้เข้าสู่มาตรฐาน GAP ในฟาร์มขนาดเล็กและขนาดกลางมีกำไรและสามารถสร้างความคุ้มค่าในการลงทุนให้กับเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามเกษตรกรจำนวนมากยังขาดแรงจูงใจในการเข้าสู่มาตรฐาน GAP เนื่องจากราคาของผลผลิตไม่แตกต่างกันมากนัก ดังนั้น ภาครัฐจึงควรกำหนดนโยบายสนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงปลานิลภายใต้มาตรฐาน GAP รวมทั้งมีมาตรการสร้างแรงจูงใจให้กับเกษตรกรรายใหม่และผู้บริโภคในประเทศให้ตระหนักถึงอันตรายจากการผลิตและบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตปลานิลของประเทศให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลต่อไป
The trend of consuming Nile Tilapia (Oreochromis niloticus Linn.) is expected to increase both domestically and internationally, particularly in the U.S. and European Union. Due to the limited market channels globally, production of Nile Tilapia in Thailand needs to be further developed in order to meet the required international standard which would positively lead to higher consumption of Nile Tilapia and greater opportunities for raising national export income. The purpose of this study is to 1) examine the production, marketing, and products of Nile Tilapia 2) analyze the cost, income and benefit of farming and 3) investigate the feasibility of farming investment by using Net Present Value, Cost and Benefit Ratio, Internal Rate of Return and Long Run Average Cost. The data is obtained through the use of primary source, where a sample of 57 farmers was interviewed. The findings of this study revealed that the Nile Tilapia farming systems with GAP standard is different from those of non-GAP standard in the aspect of farm sanitary. Therefore, the products processed under GAP standard would likely meet international markets’ demands. In the aspect of turnover, cost and benefit the GAP standard and non-GAP standard aquaculture with semi-intensive production of medium and large-sized farms, together with a non-GAP standard aquaculture of the small and medium-sized farms are profitable and capable of generating positive return on investment for farmers. On the farmers’ attitude towards the Nile Tilapia production under the GAP standard, a large number of farmers lack incentives to comply with such standards due to low price differentials. Therefore, the government should implement policies that will support and encourage the GAP standard aquaculture of Nile Tilapia, along with measures to convince new domestic farmers and consumers to be cautious and raised the awareness of the danger in unsafe food production and consumption and to improve the national Nile Tilapia production standards in order to gain global acceptance.