ทุนมนุษย์ของแรงงานในองค์กรโลจิสติกส์: กรณีศึกษา องค์กรเอกชนด้านพาณิชย์นาวี Human Capital of Logistics Worker: Empirical Study of Merchant Marine Company

Main Article Content

จงรักษ์ หงษ์งาม

Abstract

แรงงานด้านพาณิชย์นาวี เป็นอาชีพที่มีระดับรายได้ที่สูง และยังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ด้วยข้อจำกัดของลักษณะงานที่มีความเฉพาะด้าน อีกทั้งการเดินทางออกเรือซึ่งต้องห่างไกลครอบครัว เป็นเหตุให้ตลาดแรงงานในอาชีพนี้ยังขาดแคลนแรงงานเป็นจำนวนมาก งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพการงานของแรงงานในอาชีพพาณิชย์นาวี ปัจจัยที่ส่งผลต่อรายได้และความผาสุกในอาชีพคนประจำเรือ ซึ่งมีสมมติฐานว่า ปัจจัยทั้งเชิงเศรษฐศาสตร์และปัจจัยด้านจิตวิทยาจะร่วมกันอธิบายรายได้และความผาสุกในอาชีพคนประจำเรือ โดยประยุกต์ใช้การศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ (Mixed Method) ด้วยการสำรวจคนประจำเรือพาณิชย์แบบเจาะจงในบริษัทเดินเรือที่จดทะเบียนที่ประเทศสิงคโปร์ จำนวน 362 ตัวอย่าง และสัมภาษณ์เชิงลึก 14 ตัวอย่าง ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผาสุกของคนประจำเรือกลับไม่ใช่รายได้ หากแต่เป็นปัจจัยด้านทักษะเชิงพฤติกรรม (Non-Cognitive Skills, NC) ได้แก่ อุปนิสัยของการคิดริเริ่ม ชอบอิสระ (Openness) การเน้นงานเป็นหลัก (Conscientiousness) และทัศนคติการเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองมากกว่าโชคชะตา (Internal Locus of Control) กอปรกับ เมื่อเผชิญกับความขัดแย้งแล้ว พวกเขาเลือกที่จะใช้การพูดคุยหาทางออกร่วมกัน (Confronting) มากกว่าการใช้อำนาจ (Forcing) ด้วยเหตุปัจจัยที่ฝังอยู่ในอุปนิสัยเหล่านี้ ส่งผลต่อการทำงานเรือได้อย่างมีความผาสุก ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อรายได้นั้นมาจาก ทักษะทางปัญญา และทักษะทางพฤติกรรม ผลการศึกษานี้มีประโยชน์ต่อการบริหารจัดการภายในองค์กรที่มีลักษณะพิเศษเช่นเรือพาณิชย์นาวีที่ว่า แรงจูงใจทางด้านรายได้เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพนี้อย่างประสบความสำเร็จและมีความผาสุก หากแต่ต้องมีอุปนิสัยที่สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของงาน จึงจะทำให้การทำงานของบุคลากรประสบความสำเร็จและองค์กรก็จะได้ผลงานที่มีคุณภาพอีกด้วย ประโยชน์จากการศึกษานี้จะนำไปสู่แนวทางการพัฒนาบุคลากรก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานตลอดจนองค์กรเองก็สามารถนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ในขั้นตอนของการคัดเลือกพนักงานที่มีบุคลิกลักษณะ อุปนิสัยได้ตรงกับลักษณะของงานได้


Workers in merchant marines sector are highly paid occupation and still needed in the current labor market. In fact, the labor market in this sector has been facing shortage condition due to a number of limitations such as the career’s unique job characteristics as well as offshore workplace forcing workers to be apart from their family.


This research aimed to examine factors that influence the career development of seamen. It was hypothesized that economic and psychological factors conjointly help to determine income and engagement of seamen. Mixed methods research was used as a research methodology. Purposive sampling was conducted with 362 seamen who work at a merchant marine company registered in Singapore, and in-depth interviews were also conducted with 14 key informants.


The results indicated that it is not income, but rather non-cognitive skills (NC), are factors that influence engagement of seamen i.e. level of openness, conscientiousness, and internal locus of control. Moreover, when facing conflict, the seamen seemed to prefer cooperative dialogue rather than forcefulness in resolving the problem. The above factors were found to influence the engagement of seamen working offshore. Factors that were found to influence income were both cognitive and non-cognitive skills.


These research findings can be of benefit to the management of organizations with unique characteristics, such as merchant marine companies. Income was not a strong enough factor to result in success and happiness on the job, as the characteristics of workers is also needed also be suitable for the unique job requirement.This study should influence the development of human capital prior to entering into the job market. Organizations can also adapt knowledge from this study to develop their process of selecting applicants to suit the job.

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
หงษ์งาม จ. (2014). ทุนมนุษย์ของแรงงานในองค์กรโลจิสติกส์: กรณีศึกษา องค์กรเอกชนด้านพาณิชย์นาวี: Human Capital of Logistics Worker: Empirical Study of Merchant Marine Company. Journal of Applied Economics and Management Strategy, 1(2), 1–13. Retrieved from https://kuojs.lib.ku.ac.th/index.php/jems/article/view/964
Section
บทความวิจัย (Research Article)