ปัญหามลพิษทางอากาศ กับการคลังท้องถิ่น Air Pollution and Local Public Finance

Main Article Content

เอกภัทร ลักษณะคำ
วรานันต์ ตันติเวทย์
ฉัตรกุล คงตระกูล

Abstract

ปัญหามลพิษทางอากาศนับเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจจากประชาชนคนไทยมาโดยตลอด ตั้งแต่ภาครัฐให้ความสำคัญกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผ่านการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม ซึ่งปัญหามลพิษนี้มีผลให้อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดถือเป็นนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีอัตราการปล่อยมลพิษทางอากาศเกินมาตรฐาน และทำให้ประชาชนที่อาศัยโดยรอบนิคมป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ ดังนั้นผู้เขียนจึงได้จัดทำบทความนี้ขึ้นเพื่อเสนอวิธีแก้ปัญหามลพิษทางอากาศของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดด้วยเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ประเด็นคือ 1) ปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์ที่มีผลต่อมลพิษทางอากาศ 2) การคลังท้องถิ่นเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ และ 3) สรุปและข้อเสนอแนะ


การบริหารจัดการคุณภาพอากาศ ควรเป็นบทบาทของรัฐบาลในการแก้ปัญหานี้แต่อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ การรวมศูนย์ให้รัฐบาลกลางเป็นผู้ตัดสินใจเพียงลำพังอาจไม่สามารถจัดการกับปัญหานี้ รัฐบาลกลางควรกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากส่วนท้องถิ่นจะทราบความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง ผู้เขียนจึงเสนอให้ใช้เครื่องมือด้านการคลังท้องถิ่น โดยเน้นที่ระบบการให้เงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางไปสู่รัฐบาลท้องถิ่นในรูปแบบเงินอุดหนุนทั่วไปที่ไม่กำหนดวัตถุประสงค์ แล้วปล่อยให้หน่วยงานท้องถิ่นเป็นผู้บริหารจัดการงบประมาณด้วยตัวเองจะส่งผลให้สวัสดิการสังคมสูงกว่าการให้เงินอุดหนุนแบบกำหนดวัตถุประสงค์


Air pollution problem has been the one major issue in which Thai people are concerned about since the government concentrates on expanding Thailand’s economy by promoting the industrial development. This problem has made intra-respiratory morbidity rate increased over the years.  For example, Map Ta Phut industrial estate, one of many industrial estates in Thailand, has an excessively polluted emission rate which negatively affects local people. Thus, we aim to conduct this research in order to show how the pollution problem can be resolved by economics tools. The study makes three contributions to the literature. First, the study extends the economics determinant of air pollution. Second, this study explores how local public finance resolve air pollution. Finally, the study gives conclusion and lesson learned. 


The government should more concern about the air quality management. In practice, central government cannot solve this problem independently. They should better decentralize to local administrative organizations to resolve the problem because the local administrative organizations are likely to better meet the needs of local people. This paper suggests that it will be better outcome and increasing social welfare if the central government would give general and non-binding subsidies to the local administrative organizations so that the local administrative organizations can manage the subsidies and solve the problem by themselves.


 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

Section
บทความวิชาการ (Academic Article)