การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมของคุณลักษณะข้าวสารบรรจุถุง ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ และพฤติกรรมการเลือกซื้อข้าวสารบรรจุถุง กรณีศึกษา จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ชุดา วรวัฒนธรรม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • เปรมฤดี จิตรเกื้อกูล คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม , ข้าวสารบรรจุถุง , คุณลักษณะสินค้า , พฤติกรรมผู้บริโภค

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ ศึกษาถึงองค์ประกอบร่วมของคุณลักษณะข้าวสารบรรจุถุงที่ส่งผลต่อ ความพึงพอใจของผู้บริโภค และพฤติกรรมการเลือกซื้อข้าวสารบรรจุถุง กรณีศึกษาจังหวัดนครพนม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนทางการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวสารบรรจุถุงสำหรับเกษตรกรหรือผู้ประกอบการค้าข้าวสารรายย่อย โดยสร้างแบบสอบถามที่เหมาะสม และสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 20 ราย เพื่อคัดเลือกคุณลักษณะที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคอย่างตรงประเด็นในการสร้างแบบสอบถาม โดยการเก็บข้อมูลจากผู้บริโภคข้าวสารบรรจุถุงในจังหวัดนครพนม จำนวน 400 ราย ผลของการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมทำให้สามารถสร้างกลุ่มคุณลักษณะบรรจุภัณฑ์ข้าวสารที่สร้างความพึงพอใจของผู้บริโภคสูงสุด จากกลุ่มคุณลักษณะอันประกอบด้วย การบรรจุข้าวสารแบบสุญญากาศ, ตราสินค้ารูปแบบ B, สโลแกนรูปแบบ B, ระบุคุณประโยชน์ และไม่ระบุพื้นที่เพาะปลูกลงในบรรจุภัณฑ์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาองค์ประกอบของบรรจุภัณฑ์ข้าวสารให้สามารถดึงดูดใจและสร้างความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์คู่แข่งในตลาด พร้อมทั้งตอบสนองต่อความพึงพอใจของลูกค้าได้ตรงจุด นอกจากนี้ ยังพบว่าข้าวหอมมะลิได้รับความนิยมมากที่สุด โดยผู้บริโภคนิยมซื้อข้าวสารครั้งละ 5-8 กิโลกรัม จากห้างสรรพสินค้า รองลงมาคือร้านขายข้าวสาร และผู้ที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อมากที่สุด คือ ตนเอง โดยจากผลการศึกษาครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางในการวางแผนดำเนินธุรกิจข้าวสารบรรจุถุง โดยเน้นการผลิตข้าวสารบรรจุถุงขนาด 5 กิโลกรัม ตั้งจุดจำหน่ายที่ร้านขายข้าวสารโดยเฉพาะ

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

เอกสารอ้างอิง

กองทอง ตรุษศาสน, สุวรรณา ประณีตวตกุล, และวลีรัตน์ สุพรรณชาติ. (2564). ความพึงพอใจของเกษตรกรต่อคุณลักษณะสายพันธุ์พริกต้านทานโรคกรณีศึกษาโรคใบหงิกเหลือง. วารสารแก่นเกษตร, 43(2), 207-214.

ข่าวสด. (2564). ข้าวเปลือกราคาตก ชาวนาสีข้าวสารขายเองริมถนน กำไรดีกิโลละ 33-37 บาท, สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2564. จาก https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_6722000

ธนัท ธำรงพิรุณ, อภิชาต ดะลุณเพธย์, และ วิศิษฐ์ ลิ้มสมบุญชัย. (2559). คุณลักษณะที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อแคบหมูของผู้บริโภค. วารสารเศรษฐศาสตร์รามคำแหง, 2(1), 77-101.

ธนากร ภัทรพูนสิน. (2556). อิทธิพลของความจงรักภักดีต่อตราสินค้าข้าวสารบรรจุถุง. (ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ธนิดา ภูศรี และชนม์ณัฐชา กังวานศุภพันธ์. (2563). พฤติกรรมการซื้อข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 4(1), 1-13.

ประชาชาติธุรกิจ. (2564). ครึ่งปี 64 ส่งออกข้าวไทยหืดจับได้แค่ 2.1 ล้านตัน หดตัว 25%, สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2564. จาก https://www.prachachat.net/economy/news-727910

พิริยะ ผลพิรุฬห์. (2560). เขาตั้งราคากันอย่างไรถึงได้กำไรสูงสุด (เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเลือกปฏิบัติในการตั้งราคา). Applied Economics Journal, 24(1), 94-97.

ภาคภูมิ พิชญ์หาญณรงค์ และอภิชาต ดะลุณเพธย์. (2559). ความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อเงื่อนไขในสัญญาการขายสับปะรดโรงงานในจังหวัดระยอง. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 7(13), 1-19.

วรัญญา ทิพย์มณฑา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อข้าวสารกล้องบรรจุถุงของผู้บริโภค ในจังหวัดนครปฐม. (ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.

ศรีเวียง ทิพกานนท์, รัชนี เจริญ, วรรณทิชา เศวตบวร, และ วิบูลย์ เหรียญสง่าวงศ์. (2561). การสร้างแนวคิดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มจมูกข้าวสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดปราจีนบุรีโดยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม. Kasetsart Journal of Social Sciences, 39(1), 674-683.

ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าว. (2565). ข้าวคือชีวิต, สืบค้นเมื่อ14 พฤษภาคม 2565. จาก https://dna.kps.ku.ac.th/-index.php/rsc-news/new-rsc-rgd/news/205-rice-for-life

สรียา อัชฌาสัย และลักคณา วรศิลป์ชัย. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ข้าวสารบรรจุถุงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 3(2), 22-37.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). สถิติการส่งออก (Export), สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2564. จาก http://impexp.oae.go.th/service/export.php?S_YEAR=2563&E_YEAR=2563&-PRODUCT_GROUP=5250&wf_search=&WF_SEARCH=Y

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). สถิติการปลูกข้าวจำแนกเป็นรายภาคและจังหวัด ปีเพาะปลูก 2562/63, สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2564. จาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/ page/sector/-th/11.aspx

สิริรัญญา อุบาลี, วิศิษฐ์ ลิ้มสมบุญชัย, และอภิชาต ดะลุณเพธย์. (2561). ความพึงพอใจและความเต็มใจจ่ายของผู้บริโภคต่อคุณลักษณะของนมพร้อมดื่มอินทรีย์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 12, 43-49.

สุบรรณ เอี่ยมวิจารณ์. (2557). นโยบายการกำหนดราคาข้าวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวนาไทย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 1(2), 75-48.

สุพัดชา โอทาศรี. (2556). การดำรงอยู่ของอาชีพชาวนาไทย: กรณีศึกษาชาวนาไทย จังหวัดลพบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 8(25), 34-43.

สุวรรณา สายรวมญาติ. (2563). พฤติกรรมการเลือกซื้อข้าวสารบรรจุถุงและปัจจัยที่กำหนดราคา กรณีศึกษาผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ, 8(1), 38-52.

อรพรรณ อิสาร และธวมินทร์ เครือโสม. (2563). พฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกซื้อข้าวสาร กรณีศึกษาร้านขายข้าวสารในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(1), 21-37.

Agbas, N. S., & Ceballos, R. F. (2019). On the conjoint analysis of consumer’s preferences on quality attributes of rice. Advances and Applications in Statistics, 58(1), 45-55.

Aprilia, A., Laili, F., & Sujarwo, S. (2017). Consumer preferences for rice in Malang, east Java, Indonesia. Agricultural Socio-Economics Journal, 16(3), 136-142.

BBC News Thailand. (2564). ราคาข้าว: เหตุใดราคาข้าวปีนี้จึงตกต่ำจนถูกนำมาเปรียบกับราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2564. จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-59179023

Chialue, L., Moustier, P., & Manivong, P. (2018). Laotian consumer perceptions of rice quality-Insights from a conjoint analysis. Systèmes alimentaires, 2018(3), 61-87.

Dos Reis, V. L., Sidharta, H., & Wiyakusuma, I. B. Y. (2022). the analysis of consumer preference on product attributes of Koeliner Ecoe Taro Chip. Review of Management and Entrepreneurship, 6(1), 1-16.

Irani, R., & Frankel, L. (2020). The role of design in consumer behaviour: How design can influence consumer decision making at a point of purchase. Advances in Industrial Design, 1202, 316-322.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Moutaftsi, P., & Kyratsis, P. (2016). Visual brand identity of food products: a customer’s perspective. Journal of Applied Packaging Research, 8(3), 1-14.

Nesselhauf, L., Fleuchaus, R., & Theuvsen, L. (2020). What about the environment? A choice-based conjoint study about wine from fungus-resistant grape varieties. International Journal of Wine Business Research, 32(1), 96-121.

Schirmer, J. H., Wright, M. N., Herrmann, K., Laudien, M., Nölle, B., Reinhold‐Keller, E., Holle, J. U. (2016). Myeloperoxidase–ntineutrophil Cytoplasmic Antibody (ANCA)–positive granulomatosis with polyangiitis (Wegener's) is a clinically distinct subset of ANCA‐Associated Vasculitis: a retrospective analysis of 315 patients from a German Vasculitis Referral Center. Arthritis & Rheumatology, 68(12), 2953-2963.

The Standard. (2564). ส่อง 5 เทรนด์ Wellness ที่น่าสนใจในปี 2022, สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2564. จาก https://thestandard.co/5-wellness-trend-in-2022/

Trigui, I. T., & Abdelmoula, M. (2019). The effect of packaging size on purchase intention: the case of Tunisian Olive Oil in the USA Market. International Journal of Business and Economics Research, 8(5), 320-324.

Uchida, H., Onozaka, Y., Morita, T., & Managi, S. (2014). Demand for ecolabeled seafood in the Japanese market: A conjoint analysis of the impact of information and interaction with other labels. Food Policy, 44, 68-76.

Waskito, J. P. H., Wedowati, E. R., Rejeki, F. S., & Wahyuningtyas, E. (2022). Food product design with wijaya kusuma character based on pleasurable design. International Journal of Engineering, Science & Information Technology, 2(1), 1-8.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##