การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชีในประเทศไทย โดยการอภิมานเชิงชาติพันธุ์วรรณนา

ผู้แต่ง

  • ณัฐพัชร์ อภิวัฒน์ไพศาล วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การสังเคราะห์งานวิจัย, ระบบสารสนเทศทางการบัญชี, ชาติพันธุ์วรรณนาอภิมาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะงานวิจัย และสังเคราะห์การแปลความหมายบทความวิจัยระบบสารสนเทศทางการบัญชีในประเทศไทยโดยใช้ฐานข้อมูลของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 - 2565 มีบทความวิจัยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกจำนวน 41 บทความ ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะของบทความวิจัยจำแนกได้ 4 คุณลักษณะ ได้แก่ 1) ด้านรูปแบบบทความวิจัย 2) ด้านเนื้อหาสาระ 3) ด้านวิธีวิทยาการวิจัย และ 4) ด้านคุณภาพงานวิจัย ผลการสังเคราะห์การแปลความหมายงานวิจัยเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชีใน 4 ด้านพบว่า 1) ด้านรูปแบบบทความวิจัย บทความวิจัยแต่ละเรื่องมีผู้ประพันธ์ 1-4 คน มีจำนวนหน้าทั้งหมดโดยเฉลี่ย 15 หน้า จำนวนหน้าเนื้อหาเฉลี่ย 13 หน้า จำนวนหน้าอ้างอิงเฉลี่ย 2 หน้า 2) ด้านเนื้อหาสาระ ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ จัดได้ 8 กลุ่ม และ การทบทวนวรรณกรรม จัดได้ 5 กลุ่ม 3) ด้านวิธีวิทยาการวิจัย ประกอบด้วย ประชากรกลุ่มตัวอย่าง การคำนวณกลุ่มตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือการวิจัย การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูล และการทดสอบนัยสำคัญทางสถิติ และ 4) ด้านคุณภาพงานวิจัย พบว่าผลการประเมินคุณภาพงานวิจัยที่นำมาสังเคราะห์อยู่ในระดับดี ข้อมูลมีการแจกแจงเป็นแบบปกติ ผลการสังเคราะห์งานวิจัยนี้สามารถเป็นแนวทางในการพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชีในประเทศไทยที่มีประโยชน์ต่อการนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติต่อไปในอนาคต

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

เอกสารอ้างอิง

กุลฑีรา จันทนา, ต้องใจ แย้มผกา, และ รุจิรา จุลภักดิ์. (2564). ผลกระทบของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคตะวันออก. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(9), 95-108.

ขจิต ณ กาฬสินธุ์ และ พันคม ศรีบุญลือ. (2561). ผลกระทบของประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายเคลื่อนที่ต่อคุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชี. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(4), 38-49.

จารุณี อภิวัฒน์ไพศาล. (2554). การสุ่มตัวอย่างในงานวิจัยทางบัญชี. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์. 5(5), 1-12.

จิรัชญา ศีลสัตยาวงศ์, ชฎาพร ฑีฆาอุตมากร, และ ประยงค์ มีใจซื่อ. (2563). ผลกระทบของคุณภาพข้อมูลบัญชีบริหารและสารสนเทศทางการบัญชีบริหารต่อการดำเนินงานของโรงแรมในพื้นที่เขตชะอำและหัวหิน. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 10(2), 464-474.

ฉัตรวุฒิ อิ่มชมชื่น. (2563). การสังเคราะห์งานวิจัยระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาทางการบริหารจัดการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(1), 153-166.

ชนิดาพร บุนนาค และ สุรีย์ โบษกรนัฏ. (2563). ผลกระทบของวัฒนธรรมองค์กรที่มีต่อประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(4), 381-394.

ชัยฤกษ์ พุฒิวิญญู, เนตรดาว ชัยเขต และ โชคนิติ แสงลออ. (2561). คุณภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจ. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(2), 23-40.

ชลิต ผลอินทร์หอม และ ไกรวิทย์ หลีกภัย. (2565). รูปแบบการพัฒนาทักษะด้านอาชีพและทักษะด้านสารสนเทศทางการบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล 4.0 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(5), 2172-2185.

ชัยมงคล ผลแก้ว. (2560). การใช้สารสนเทศทางการบัญชีในการพัฒนาความได้เปรียบทางการแข่งขันของ SMEs กรณีศึกษาธุรกิจสิ่งทอและแฟชั่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 4(1), 31-46.

ชลิต ผลอินทร์หอม และ ไกรวิทย์ หลีกภัย. (2564). โมเดลการพัฒนาทักษะด้านอาชีพและทักษะด้านสารสนเทศทางการบัญชีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล 4.0 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(1), 585-597.

ชาญสิทธิ์ คำพุฒ ศานิตย์ ศรีคุณ และ สิริกร บำรุงกิจ. (2564). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาในประเทศไทย. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 12(1), 188-204.

ณัชริกาญจน์ เธียรวรนันท์ และ ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี กรณีศึกษาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 17(3), 42-59.

ณัฐพัชร์ อภิวัฒน์ไพศาล. (2562). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐธยาน์ อธิรัฐจิรชัย, พัชราภรณ์ ใจบุญมา, และ นิตญา ก่อมขุนทด. (2562). ความสัมพันธ์ของคุณภาพ สารสนเทศทางบัญชีกับประสิทธิภาพในการควบคุมต้นทุนอาหารและเครื่องดื่มของโรงแรมในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 5(2), 30-48.

ณัชชารีย์ กุลพิชัยจิราวุฒิ, สุภัทรษร ทวีจันทร์, สหัสา พลนิล และปิยฉัตร ทองแพ. (2561). การประยุกต์ใช้ข้อมูลสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการบริหารงานเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสังกัดสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ. Journal of Ratchathani Innovative Social Sciences, 2(2), 60-70.

ทิพย์สุดา ทาสีดำ. (2565). ผลกระทบของความน่าเชื่อถือของสารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อคุณภาพ รายงานทางการเงินของสำนักงานบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มนุษยสังคมสาร (มสส.), 20(2), 179-200.

ธารินี เณรวงค์ และ วรกร แช่มเมืองปัก. (2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระดับการควบคุมภายในระบบสารสนเทศทางการบัญชีภายใต้การบริหารงานการเงินการคลังภาครัฐของหน่วยงานสนับสนุนภารกิจฝ่ายการเมือง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(3), 161-174.

ธัญกานต์ คชฤทธิ์ และ กุสุมา ดำพิทักษ์. (2563). การยอมรับระบบคลาวด์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีภาคธุรกิจ สำหรับผู้ทำบัญชี. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 13-22.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542) การวิเคราะห์อภิมาน. กรุงเทพมหานคร: นิชินแอดเวอร์ไทซิ่งกรุ๊ฟ.

นงลักษณ์ วิรัชชัย (ผู้บรรยาย). (18-21มีนาคม 2557). การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยเทคนิค Meta-Analysis และMeta-Ethnography (1). ใน หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การสังเคราะห์งานวิจัยด้วยเทคนิค Meta-Analysis และ Meta-Ethnography. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เนตรนภา รักษายศ และ วิชิต อู่อ้น. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อคุณภาพของสารสนเทศทางบัญชีและประสิทธิภาพองค์กร: กรณีศึกษาเชิงประจักษ์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ, 6(1), 71-94.

ปุณยทรรศน์ คงแก้ว, พัชรี พระสงฆ์, อรัญญา จินาชาญ, และอารยา แก้วคง. (2565). ประสิทธิภาพระบบสารสนเทศทางการบัญชีและคุณลักษณะองค์กรธุรกิจที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริหารธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เขตภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(4), 124-137.

ปรีย์ธนิสร์ ประจักรจิตร์ และ สุรีย์ โบษกรนัฏ. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 10(2), 646-657.

พลพธู ปียวรรณ และ กัญนิภัทธิ์ นิธิโรจน์ธนัท. (2559). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: บริษัท วิทยพัฒน์ จำกัด.

ไพสรณ์ สูงสมบัติ. (2564). คุณภาพของข้อมูลและความรู้ความเข้าใจสารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจของผู้บริหารในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(3), 86-97.

ภณิตา สุนทรไชย, รทวรรณ อภิโชติธนกุล, ภานุทัต สวัสดิ์ถาวร และสุรศักดิ์ วงษ์เปรียว. (2564). การส่งเสริมประสิทธิภาพการรายงานทางการเงินฟาร์มโคนมด้วยระบบสารสนเทศทางการบัญชี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 8(4), 1-19.

ภาวิณี แสนชนม์ และ น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2561). การสังเคราะห์งานวิจัยด้านการจัดการสารสนเทศ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7(1), 23-42.

เยาวนุช รักสงฆ์. (2562). ผลกระทบของประสิทธิภาพระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(2), 200-213.

รัญชิดา สังขดวง. (2556). ศึกษาการจัดทำบัญชีและการใช้สารสนเทศทางการบัญชีของสถานประกอบการนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัดในจังหวัดปัตตานี. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 57-72.

รุ่งทิวา ทาปาลี และ สุวรรณา เลาหะวิสุทธิ์. (2561). การพัฒนาสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการบริหารของโรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 7(2), 115-128.

รัชนี แสงศิริ และ ดุสิต ศรีสร้อย. (2555). รูปแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชีของธนาคารสัจจะออมทรัพย์บ้านศรีไคออก จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 79-98.

รัตนะ บัวสนธ์. (2550). ทิศทางและอาณาบริเวณการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฤติมา มุ่งหมาย และ วรนุช กุอุทา. (2564). การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการบริหารจัดการและสนับสนุนการตัดสินใจของกลุ่มผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากเนื้อสัตว์จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(1), 43-55.

วิชชา พริ้งพัฒนพงษ์, พุฒิธร จิรายุส และ ฉัตรพล มณีกูล. (2565). การควบคุมภายในด้านระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีผลต่อคุณภาพข้อมูลทางการบัญชี: กรณีศึกษาการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 3 (ภาคกลาง) นครปฐม. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(4), 185-196.

ศรัณย์ ชูเกียรติ. (2557). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส.

สหเทพ ค่ำสุริยา, ปิยะ แก้วบัวดี และ ชุติกร ปรุงเกียรติ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีของหน่วยงานภาคเอกชนในจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 13(3), 76-87.

สายฝน อุไร, ผกามาศ บุตรสาลี และ ทิพย์สุดา ทาสีดำ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างระบบสารสนเทศทางการบัญชีกับประสิทธิภาพในการดำเนินงานของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 10(2), 39-55.

สาวิตรี พรหมรักษา และ ดารณี เอื้อชนะจิต. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชีและประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 14(2), 35-49.

สาวิตรี พรหมรักษา และ ดารณี เอื้อชนะจิต. (2564). อิทธิพลของกระบวนการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อคุณภาพของสารสนเทศทางการบัญชีและประสิทธิภาพในการดำเนินงานขององค์กร. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 27(4), 155-169.

สุกัญญา คลังทอง, สุพิน ฉายศิริไพบูลย์ และอัจฉราพร โชติพฤกษ์. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านคุณภาพข้อมูลทางการบัญชี คุณภาพระบบสารสนเทศทางการบัญชี คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ การรับรู้คุณค่าของบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ และความพึงพอใจของผู้ใช้บัญชีอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้งานบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 100-116.

สุชาย สิริภัทรกุลธร, ศักดิ์ชัย นิรัญทวี, อัจฉรา วัฒนาณรงค์ และชฎาพร ฑีฆาอุตมากร. (2564). การพัฒนารูปแบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการบริหารสถาบันอาชีวศึกษาเอกชน. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(7), 287-305.

โสภาพรรณ ไชยพัฒน์. (2559). การใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีของผู้บริหารธุรกิจโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 2(2), 56-65.

อนุชา พุฒิกูลสาคร และปาลวี พุฒิกูลสาคร. (2564). ผลกระทบของระบบสารสนเทศทางการบัญชีเชิงกลยุทธ์ที่มีต่อผลการดำเนินงานเชิงดุลยภาพ: การตรวจสอบเชิงประจักษ์ธุรกิจโรงแรมระดับสี่และห้าดาวในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(4), 148-164.

อรรถพล ตริตานนท์. (2546). ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด.

อุทุมพร จามรมาน. (2531). การสังเคราะห์งานวิจัย: เชิงปริมาณ. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดฟันนี่พับลิชชิ่ง.

อุเทน เลานำทา และ ฐิฏิกานต์ สุริยะสาร. (2562). ประสิทธิผลการควบคุมของระบบสารสนเทศทางการบัญชีและความได้เปรียบด้านข้อมูลทางการบัญชี: หลักฐานเชิงประจักษ์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 13(1), 105-120.

อภิญญา คงวิริยะกุล, ไพลิน นิลนิยม และศุทธินี ปราชญ์ศรีภูมิ. (2561). ผลกระทบของประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อการปฏิบัติงานที่ดีทางการบัญชีของธุรกิจเคมีภัณฑ์ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(4), 1-11.

อรอนงค์ จำปาแก้ว, อุเทน เลานำทา และ กิตติพล วิแสง. (2563). ผลกระทบของความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการควบคุมภายในของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 87-99.

อุเทน เลานำทา. (2562). ผลกระทบของการเปิดเผยสารสนเทศทางการบัญชีออนไลน์ที่มีต่อภาพลักษณ์องค์กรของธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 8(1), 130-153.

อัจฉราภรณ์ ทวะชารี, ขจิต ณ กาฬสินธุ์, และนงลักษณ์ แสงมหาชัย. (2561). ผลกระทบของสมรรถนะของระบบสารสนเทศทางการบัญชีสมัยใหม่ที่มีต่อความสำเร็จขององค์กรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(2), 267-278.

Cooper, H. & Lindsay, J. J. (1997). Research Synthesis and Meta-analysis: Handbook of Applied Social Research Methods. California: Sage Publication.

Glass, G. V. (1982). Meta-Analysis: an approach to synthesis of research results. Journal of Research in Science Teaching, 19(2), 93-112.

Lohapan, N., Phornlaphatrachakorn, K. & Raksong, S. (2018). Accounting Information System Quality and Business Goal Achievement: An Empirical Evidence from Auto Parts SMEs in Thailand. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 11(4), 538-560.

Noblit, G. W. & Hare, R. D. (1988). Meta-Ethnography: Synthesizing Qualitative Studies. Newbury Park: Sage Publications.

Sarun Chookhiatti. (2014). Accounting Information System (1st ed.). Bangkok: TPN PRESS Limited Partnership.

St. Pirre, G. R. (1982). Follow through: A case Study in Meta Evaluation Research. Educational Evaluation and Policy Analysis, 4(1), 47-55.

Wangcharoendate, S. (2019). Creativity of The Modern Accounting Information System and Business Goal Achievement: An Empirical Evidence from Auto Parts Small and Medium Enterprise in Thailand. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 13(3), 9-19.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##